นิติศาสตร์แนวพุทธ

28 มีนาคม 2539

กฎหมายหรือกฎสมมติของมนุษย์เป็นคุณ เมื่อมันเป็นเครื่องมือสนองความต้องการธรรม

แต่เมื่อความต้องการธรรมเลือนลางจางหาย กฎหมายก็อาจกลายเป็นเครื่องมือสนองความปรารถนาส่วนตัวของบุคคล… เช่น เป็นเครื่องมือของการแสวงหาผลประโยชน์ของตน หรือการกลั่นแกล้งทำร้ายผู้อื่น

กฎหมายหรือกฎสมมติของมนุษย์มีกำเนิดขึ้น เพื่อช่วยสนับสนุนธรรมหรือกฎแท้ของธรรมชาติ ให้ปรากฏผลเป็นจริงหนักแน่นในสังคมมนุษย์ แต่เมื่อคนแปลกแยกจากความจริงแท้แห่งธรรม หรือหลงลืมมองข้ามไปเข้าไม่ถึงธรรมแล้ว กฎหมายหรือกฎสมมติของมนุษย์นั้นก็เลื่อนลอยคลาดเคลื่อนจากคุณค่าที่แท้จริง และกลับกลายเป็นเครื่องทำลายสังคมมนุษย์เสียเอง

เมื่อมีการพัฒนาด้านจิตใจและปัญญาภายในตัวตน ทำให้คนมีความสามารถภายในที่จะควบคุมและนำพฤติกรรมของตนไปในทางที่ถูกต้องดีงาม สังคมจะต้องการกฎหมายเพียงเพื่อมาช่วยจัดสรรสภาพแวดล้อม โอกาสและบรรยากาศ ที่จะอุดหนุนความมั่นคงแห่งพฤติกรรมที่ถูกต้องดีงามนั้น

แต่ถ้าจิตใจและปัญญาไม่ได้รับการพัฒนา… ก็จะต้องเพิ่มมาตรการควบคุมจากภายนอกด้วยการบัญญัติกฎหมายมาบังคับควบคุมคนมากขึ้นๆ พร้อมทั้งลงโทษหนักหนารุนแรงขึ้นๆ จนในที่สุดกฎหมายก็จะหมดความหมาย สังคมก็จะเสื่อมสลาย และชีวิตก็จะไม่อาจบรรลุจุดหมายแห่งประโยชน์สุขและอิสรภาพที่แท้จริง…

 

 สารบัญ – นิติศาสตร์แนวพุทธ

(กล่าวนำ)

บทนำ นิติศาสตร์กับ ธรรมศาสตร์
– ๑ – หลักการพื้นฐาน
– ๒ – หลักแห่งปฏิบัติการ
บทส่งท้าย มองอดีตถึงปัจจุบัน เพื่อสร้างสรรค์อนาคต

No Comments

Comments are closed.