การกำหนด Style พื้นฐานจากกล่อง Paragraph
- โดยพื้นฐาน ตัวอักษรทุกตัวที่คีย์ลงในกล่องเนื้อหา จะจัดไว้ใน block แบบ Paragraph โดยอัตโนมัติ ให้คีย์ข้อมูลลงไปโดยไม่ต้องกำหนดขึ้นบรรทัดใหม่ จนกว่าจะครบย่อหน้าเนื้อหา จึงเคาะ Enter เพื่อขึ้นย่อหน้าใหม่
- การขึ้นบรรทัดใหม่ มี 2 กรณี คือ การขึ้นบรรทัดใหม่เพื่อขึ้นย่อหน้าใหม่ กับการขึ้นบรรทัดใหม่ในย่อหน้าเดิม โดยจะเห็นได้จากระยะระหว่างย่อหน้าจะห่างกว่าระหว่างบรรทัดในย่อหน้าเดียวกัน
วิธีการกด Enter เพื่อขึ้นบรรทัดใหม่ แบ่งตามวิธีป้อนข้อมูลเข้าระบบที่มีให้ 2 แบบคือ- แบบ Visual ให้กด Enter เพื่อขึ้นย่อหน้าใหม่ หรือกด Shift + Enter เพื่อขึ้นบรรทัดใหม่ในย่อหน้าเดิม
- แบบ Text ให้กด Enter เพื่อขึ้นบรรทัดใหม่ในย่อหน้าเดิม หรือกด Enter 2 ครั้ง (เกิดบรรทัดว่าง 1 บรรทัด) เพื่อขึ้นย่อหน้าใหม่
- สำหรับข้อความที่เป็นหัวข้อ ให้กำหนดรูปแบบเป็น Heading 1 – 3 ตามความเหมาะสม
การเลือกใช้ Style ที่กำหนดมาให้
เนื้อหาในหนังสือส่วนใหญ่จะมีการจัดรูปแบบอักษร (ตัวหนา, เอียง, ขีดเส้นใต้, เปลี่ยนฟอนต์) เพื่อเน้นคำ ความหมาย หรือความสำคัญของคำ/ข้อความนั้นๆ ด้วย ซึ่งมักจะมีลักษณะคำคล้ายๆ กัน แต่จะเลือกใช้รูปแบบแตกต่างกันไปในแต่ละเล่ม
เพื่อความสะดวกในการจัดรูปแบบเนื้อหาในเว็บไซต์นี้ ให้ได้ลักษณะและประโยชน์การใช้งานใกล้เคียงต้นฉบับเดิมมากที่สุด โดยมีข้อจำกัดที่ไม่อาจจัดให้เหมือนต้นฉบับแต่ละเล่ม (ซึ่งมีคำที่เน้นในลักษณะเดียวกัน แต่ใช้รูปแบบต่างๆ กันมากมาย) ทุกประการได้ จึงได้กำหนดรูปแบบกลางขึ้นมาเพื่อใช้ในการจัดรูปแบบอักษรสำหรับเนื้อหาธรรมนิพนธ์ในเว็บไซต์แห่งนี้ ไว้ดังนี้
- คำเน้นเป็นคำไทยทั่วไปที่มักพบในชีวิตประจำวัน (ไม่ใช่คำศัพท์เฉพาะ) และต้นฉบับได้จัดรูปแบบพิเศษไว้ด้วยเพื่อเน้นความ
- ข้อความเน้น, เน้นมากข้อความภาษาไทย (มักจะมีคำกริยาอยู่ด้วย) ที่ต้นฉบับได้จัดรูปแบบพิเศษไว้ด้วยเพื่อเน้นความ
- ศัพท์เน้นเป็นคำศัพท์พิเศษหรือชื่อเฉพาะ และต้นฉบับได้จัดรูปแบบพิเศษให้ด้วยเพื่อเน้นความ
- ศัพท์ธรรมะเน้นเป็นคำศัพท์ธรรมะในภาษาไทยก็ได้ ที่ต้นฉบับได้จัดรูปแบบพิเศษไว้ด้วยเพื่อเน้นความ
- ศัพท์ธรรมะ, ศัพท์บาลีคำศัพท์ภาษาบาลี (ศัพท์ธรรมะหรือไม่ ก็ได้) ที่ต้นฉบับได้จัดรูปแบบพิเศษไว้ด้วย แต่ไม่เน้นมาก อาจเพียงเพื่อแสดงให้เด่นขึ้นมาจากเนื้อความโดยรอบ แต่ไม่เน้นความหมายอะไรเป็นพิเศษ
- ศัพท์บาลีเน้นเป็นคำศัพท์ในภาษาบาลี ที่ต้นฉบับได้จัดรูปแบบพิเศษไว้ด้วยเพื่อเน้นความ
- ประโยคบาลีข้อความภาษาบาลีขนาดยาวเกินกว่าคำศัพท์ มักจะมีคำกริยาอยู่ด้วย
- หัวข้อข้อความที่ใช้เป็นหัวข้อหลัก
- หัวข้อย่อยข้อความที่ใช้เป็นหัวข้อย่อย
- บรรทัดพุทธภาษิตบาลีพุทธภาษิต/ร้อยกรองในภาษาบาลี 1 บรรทัด
- บรรทัดพุทธภาษิตแปลไทยพุทธภาษิต/ร้อยกรองในภาษาไทยที่แปลมาจากภาษาบาลี 1 บรรทัด
- ย่อหน้าบาลียกมาข้อความภาษาบาลีที่ยกมาทั้งหนึ่งหรือหลายย่อหน้า
- ย่อหน้าแปลไทยยกมาข้อความภาษาไทยที่แปลมาจากหนึ่งหรือหลายย่อหน้าภาษาบาลี
- ผู้ถามชื่อหรือสรรพนามแทนตัวผู้ตั้งคำถาม
- ผู้ตอบชื่อหรือสรรพนามแทนตัวผู้ตอบคำถาม
- อ้างอิง-ภายนอกข้อความแสดงการอ้างอิงแหล่งข้อมูลอื่นๆ
- อ้างอิง-พระไตรปิฎกข้อความแสดงการอ้างอิงพระไตรปิฎก
การยกเลิก Style ที่กำหนดแล้ว
- ให้คลิกเมาส์ที่ตำแหน่งใดก็ได้ ในคำ (กรณี inline) หรือย่อหน้า (กรณี block) ที่ต้องการยกเลิก style
- แล้วไปคลิกที่ style ที่ได้กำหนดไว้แล้ว ก็จะเป็นการปลด style นั้นออกไปจากเนื้อหาส่วนนั้น (ระบบจะค้นหาขอบเขตของคำหรือ block ที่จะยกเลิกให้เองโดยอัตโนมัติ)
การป้อนข้อความที่เป็นเชิงอรรถ (Footnote)
- ให้ป้อนข้อความเชิงอรรถต่อท้ายตำแหน่งที่จะแทรกไปเลย โดยใช้รูปแบบดังนี้ [ note ]xxxxxxxxxxxxx[ /note ]
- ในเนื้อหาเชิงอรรถ สามารถใส่ลิงค์และรูปแบบตัวอักษรง่ายๆ ได้ด้วย (ทั้งนี้ ได้กำหนด style ให้กับเนื้อหาในเชิงอรรถไว้แล้ว หากไม่ต้องการรูปแบบเฉพาะ ไม่ควรกำหนดรูปแบบอักษรในส่วนนี้ ควรใช้เมื่อจำเป็นจริงๆ)
No Comments