ตรวจทานเนื้อหา

17 ธันวาคม 2558

วัตถุประสงค์

เพื่อจัดเตรียมเนื้อหาที่ถูกต้อง เป็นเนื้อหาปรับปรุงล่าสุด จัดเก็บแบบ text file ธรรมดาที่ยังไม่มีการจัดรูปแบบหรือปรับขนาดวรรค/ช่องไฟ เพื่อให้มีเนื้อหาอย่างพื้่นฐานที่สุด พร้อมจะนำไปป้อนเข้าสู่เว็บไซต์ หรือนำไปจัดรูปเล่มทำต้นฉบับหนังสือต่อไป

ขั้นตอนการทำงาน

  1. พิมพ์เนื้อหาจากไฟล์เอกสาร .doc, .docx, .odt, .txt ลงสู่กระดาษ A4 โดยจัดขนาดอักษร รูปหน้า ตามความสะดวกในการทำงาน หากไฟล์เอกสารที่ได้รับมา มีการจัดหน้ากระดาษ/รูปแบบอักษรเรียบร้อยแล้ว ก็ใช้งานตามนั้นได้
  2. เลือกต้นฉบับสำหรับตรวจเทียบ โดยใช้หนังสือจริงฉบับพิมพ์ครั้งล่าสุด (ขอยืมได้ที่หอสมุดฯ) หรือใช้ไฟล์ PDF ที่โหลดได้จากเว็บวัดฯ
    – บางเรื่องอาจพบว่า ไฟล์ PDF ไม่ทันสมัยเท่ากับหนังสือที่พิมพ์ออกมาแล้ว หากตรวจทานได้ก่อนจ่ายงานก็จะดีมาก และควรบันทึกไว้ในใบงานหรือใบจ่ายงานด้วย
    – บางเรื่องอาจพบว่า เนื้อหาฉบับที่พิมพ์รวมกับเล่มอื่นมีความทันสมัยกว่าฉบับที่พิมพ์เดี่ยว ผู้จ่ายงานจึงควรตรวจทานและเลือกต้นฉบับสำหรับตรวจเทียบที่ทันสมัยที่สุด (ค้นหาการพิมพ์รวมเล่มได้จากฐานข้อมูล PA-Tree)
  3. บันทึกวันที่/เดือน/ปี ของไฟล์ และของต้นฉบับที่เลือกมาเทียบ ลงในใบงาน
  4. ตรวจเทียบคำสะกด การเว้นวรรค เครื่องหมาย/สัญลักษณ์ต่างๆ ถ้าพบที่ไม่ตรงกัน ให้ทำสัญลักษณ์ตามมาตรฐานการพิสูจน์อักษร (ดังรูปตัวอย่างด้านล่างนี้) ด้วยหมึกสีแดงไว้ แล้วใช้ดินสอเขียนรายละเอียดลงในกระดาษที่พิมพ์ออกมาได้เลย จากนั้นแก้ไขลงในไฟล์แล้วบันทึกเป็นชื่อไฟล์ใหม่ .txt
    – เน้นการตรวจคำสะกด เครื่องหมายวรรคตอน (ที่มีอยู่/เกินมา/ขาดหายไป) ไม่ต้องตรวจรูปแบบอักษร แต่ให้ตรวจการแบ่งย่อหน้า และวรรคด้วย
    – วรรคที่เว้นห่างมาก (เดิมน่าจะใช้จัดระยะในการพิมพ์ลงหนังสือ) ให้แก้เหลือเพียง 1 อักษรเท่านั้น (ใช้ฟังก์ชั่น Search/Replace ในโปรแกรมทั่วไปก็ได้)
    – ตรวจเชิงอรรถด้วย
    – หากพบคำผิดทั่วไป แก้ลงในกระดาษได้เลย โดยไม่ต้องบันทึกใบงาน แต่หากพิจารณาแล้ว เห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ (เช่น คำนั้นสะกดผิดในต้นฉบับจริง หรือผิดทั้ง ๒ แหล่ง) ซึ่งควรแจ้งแก่ผู้ประสานงาน ให้เขียนอธิบายสิ่งที่พบไว้ในใบงานด้วย (โดยย่อก็ได้)
    – หากพบว่ามีเนื้อหาแตกต่างกันหลายแห่ง และมีความยาวมาก แสดงว่าไฟล์ที่ได้รับไปนั้น ไม่ทันสมัยมาก ให้หยุดการตรวจทาน แล้วแจ้งแก่ผู้ประสานงานต่อไป
  5. สัญลักษณ์ยัติภังค์ (hyphen หรือ “—” ) ท้ายบรรทัดที่ใช้เพื่อบอกว่าเป็นคำเดียวกันอยู่ในบรรทัดถัดไป ให้ลบออกจากไฟล์ด้วย
  6. คำที่เชื่อว่าสะกดผิด ให้วงและเขียนอธิบายไว้ด้วยดินสอ ลงบันทึกไว้ในใบงาน แต่ยังไม่ต้องแก้ไขลงไฟล์
สัญลักษณ์สำหรับการพิสูจน์อักษร

สัญลักษณ์สำหรับการพิสูจน์อักษร

No Comments