- (กล่าวนำ)
- มงคลสองด้านประสานเสริมกัน
- ความสมบูรณ์มีไม่ได้ ถ้าไร้ดุลยภาพ
- ดุลยภาพทางร่างกายทำให้มีสุขภาพดี
- ดุลยภาพทางเศรษฐกิจ ทำให้ชีวิตมีความมั่นคง
- สังคมไม่เสียดุลยภาพ ประชาชนก็ไม่ขาดสันติสุข
- เมื่อมนุษย์ทำลายธรรมชาติ ก็นำความพินาศมาสู่โลก
- ดุลยภาพของจิตใจ ภายในโลกแห่งความเปลี่ยนแปลง
- ดุลยภาพของจิตใจ: ศูนย์พลังยิ่งใหญ่แห่งการสร้างสรรค์
- ถึงจะเสียดุลยภาพกาย ก็ต้องรักษาดุลยภาพใจไว้ให้ได้
- คนโง่ เสียดุลยภาพกายแล้วก็พลอยเสียดุลยภาพใจไปด้วย คนฉลาด เอาดุลยภาพใจมาช่วยดุลยภาพกาย
- แม้แต่ธรรมก็ต้องมีดุลยภาพ
- ถ้าจัดธรรมเข้าดุลได้ ก็ไม่พลาดจากผลที่มุ่งหวัง
- ในที่สุด ธรรมคือดุลยภาพ และดุลยภาพก็คือธรรม
- ทางสายกลาง คือ ทางแห่งดุลยภาพ
- ดุลยภาพ คือสาระขององค์รวม
- ผู้มีดุลยภาพทางใจ แม้แต่ความตายก็ดึงขึ้นมาเข้าดุลได้
- อยู่ในโลก ก็รู้จักมองสิ่งทั้งหลาย ยามเจ็บไข้ ก็ปฏิบัติให้พร้อมดุล
- มาร่วมกันสร้างกุศล ช่วยกันทำวันเวลาให้เป็นมงคล และปฏิบัติตนให้สุขสันต์ทุกเวลา
คนโง่ เสียดุลยภาพกายแล้วก็พลอยเสียดุลยภาพใจไปด้วย
คนฉลาด เอาดุลยภาพใจมาช่วยดุลยภาพกาย
บางคนเจอเหตุร้ายในชีวิต แต่รู้จักมองก็ได้ประโยชน์ แม้แต่ถึงขั้นสูงสุด อย่างเช่นบางท่านในสมัยพุทธกาล มีประวัติพระสาวกบางองค์ไปเจอเหตุร้ายในชีวิตแล้วได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ ก็เพราะได้ประสบภัยพิบัติ นี้เรียกว่ารู้จักถือเอาประโยชน์จากสิ่งทั้งหลาย อันนี้ก็คือหลักของดุลยภาพในชีวิต เรียกว่า เราต้องรู้จักถือเอาประโยชน์จากสิ่งทั้งหลาย และรักษาดุลยภาพของชีวิตเอาไว้ให้ได้
ที่ว่ามานี้ก็เป็นเรื่องของดุลยภาพด้านจิตใจ สภาพทางด้านจิตใจนี้ก็จะมาสมดุลกับทางร่างกาย จิตใจเองก็มีภาวะที่เรียกว่ามีดุลยภาพ หรือสมดุล อย่างที่อาตมภาพกล่าวแล้ว และยังจะมาสมดุลหรือดุลยภาพกับร่างกายด้วย เราไม่ใช่มีแต่ร่างกายเท่านั้น อย่างที่อาตมภาพพูดเมื่อกี้นี้ จะได้โยงให้เห็นว่า ร่างกายกับจิตใจนี่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
ถ้าร่างกายของเรากระทบกระเทือน เราเหี่ยวเฉาทางร่างกาย ก็อาจจะมีผลกระทบให้จิตใจเสื่อมโทรมตามร่างกายไปด้วย ในทำนองเดียวกันถ้าเรารักษาร่างกายดี ทำให้จิตใจของเราสบายได้ง่าย เช่น คนที่ร่างกายแข็งแรง ก็ไม่ค่อยมีปัญหาทางร่างกายที่จะทำให้หงุดหงิดกังวลใจ แต่ถ้าร่างกายของเราเกิดความบกพร่อง ป่วยเจ็บขึ้นมา ก็มีโอกาสที่จะทำให้จิตใจถูกกระทบกระเทือน หงุดหงิดได้ง่าย ฉุนเฉี่ยวง่าย
นี่แหละเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับดุลยภาพระหว่างร่างกายกับจิตใจ ร่างกายเสียดุลก็พลอยทำให้ใจเสียดุลไปด้วย ใจเสียดุลก็ทำให้กายเสียดุลไปด้วย
ทีนี้ คนที่รู้จักปฏิบัติให้ถูกต้อง ก็คือว่าเวลากายเสียดุล ก็เอาใจมาช่วยกาย หมายความว่าคนที่ทำเป็นนั้นจะทำให้ผลย้อนกลับตรงข้าม คนที่ทำไม่เป็นพอร่างกายเสียดุล ใจก็เสียดุลด้วย เสียดุลไปทั้งชีวิต แต่คนที่ทำเป็นพอกายเสียดุล เขาก็ไปเสริมทางจิตใจ เอาจิตใจมาช่วยถ่วงดุลไว้ ทำให้กายได้ดุลสูงขึ้นไป และกลับมาช่วยร่างกายให้ดีขึ้น
ดังนั้นหลักเรื่องดุลยภาพนี้จึงสำคัญมาก และดุลยภาพระหว่างกายกับใจก็เป็นเรื่องใหญ่อันหนึ่ง คือดุลยภาพของกายก็ส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องที่คุณหมอได้พูดเป็นพิเศษ กับดุลยภาพของใจที่พระพูดเป็นพิเศษ แล้วก็ยังมีดุลยภาพระหว่างกายกับใจที่สัมพันธ์กันนี้อีก ซึ่งก็จะต้องเอามาช่วยเสริมกันให้ได้อีก อย่างที่ว่าแล้ว ถ้ากายเสียหลักก็ต้องเอาใจมาช่วย ถ้าใช้เป็นแล้วใจก็มาช่วยกายได้ นี่เป็นหลักในเรื่องดุลยภาพ อาตมภาพก็ได้พูดมาแล้วหลายแง่หลายอย่าง
No Comments
Comments are closed.