- (กล่าวนำ)
- มงคลสองด้านประสานเสริมกัน
- ความสมบูรณ์มีไม่ได้ ถ้าไร้ดุลยภาพ
- ดุลยภาพทางร่างกายทำให้มีสุขภาพดี
- ดุลยภาพทางเศรษฐกิจ ทำให้ชีวิตมีความมั่นคง
- สังคมไม่เสียดุลยภาพ ประชาชนก็ไม่ขาดสันติสุข
- เมื่อมนุษย์ทำลายธรรมชาติ ก็นำความพินาศมาสู่โลก
- ดุลยภาพของจิตใจ ภายในโลกแห่งความเปลี่ยนแปลง
- ดุลยภาพของจิตใจ: ศูนย์พลังยิ่งใหญ่แห่งการสร้างสรรค์
- ถึงจะเสียดุลยภาพกาย ก็ต้องรักษาดุลยภาพใจไว้ให้ได้
- คนโง่ เสียดุลยภาพกายแล้วก็พลอยเสียดุลยภาพใจไปด้วย คนฉลาด เอาดุลยภาพใจมาช่วยดุลยภาพกาย
- แม้แต่ธรรมก็ต้องมีดุลยภาพ
- ถ้าจัดธรรมเข้าดุลได้ ก็ไม่พลาดจากผลที่มุ่งหวัง
- ในที่สุด ธรรมคือดุลยภาพ และดุลยภาพก็คือธรรม
- ทางสายกลาง คือ ทางแห่งดุลยภาพ
- ดุลยภาพ คือสาระขององค์รวม
- ผู้มีดุลยภาพทางใจ แม้แต่ความตายก็ดึงขึ้นมาเข้าดุลได้
- อยู่ในโลก ก็รู้จักมองสิ่งทั้งหลาย ยามเจ็บไข้ ก็ปฏิบัติให้พร้อมดุล
- มาร่วมกันสร้างกุศล ช่วยกันทำวันเวลาให้เป็นมงคล และปฏิบัติตนให้สุขสันต์ทุกเวลา
ในที่สุด ธรรมคือดุลยภาพ และดุลยภาพก็คือธรรม
ต่อไปนี้ จะขอพูดถึงเรื่องดุลยภาพของธรรมเป็นแง่สุดท้าย แต่เป็นแง่ที่คุมทั้งหมด ว่าไปแล้วมันก็คือ การปฏิบัติถูกต้องต่อสิ่งทั้งหลายนั่นเอง ตัวธรรมอยู่ที่นี่ และเมื่อพูดในแง่นี้ ตัวธรรมนั่นเองคือดุลยภาพ หรือดุลยภาพ ก็คือตัวธรรมนั่นเอง
เพราะฉะนั้น จะปฏิบัติถูกต้องต่อร่างกายให้ร่างกายเกิดดุลยภาพก็ตาม ปฏิบัติถูกต้องต่อเศรษฐกิจ ดำเนินการหาเลี้ยงชีพ จัดการเงินให้พอเหมาะพอดีก็ตาม หรือการปฏิบัติในทางสังคมให้พอเหมาะพอดีก็ตาม หรือการปฏิบัติในเรื่องของจิตใจของเราให้พอดีก็ตาม นั่นคือ ดุลยภาพของธรรมหรือตัวธรรมเป็นดุลยภาพ เป็นข้อสุดท้ายซึ่งเป็นตัวที่คุมและคลุมทั้งหมด
เพราะฉะนั้น ในการที่จะปฏิบัติดุลยภาพทั้งหลาย ในที่สุดแล้วก็อาศัยดุลยภาพของธรรมนั่นเอง มาช่วยปรับทำให้เกิดความพอเหมาะพอดี
เราอยู่ในโลกนี้ก็ต้องรู้หลักดุลยภาพ ที่เราต้องรู้หลักดุลยภาพเพราะอะไร? เพราะว่าสิ่งทั้งหลายที่อยู่ในโลกนี้ มีความสัมพันธ์อิงอาศัยกันทั้งนั้น มันไม่ได้อยู่ลำพังตัวของมันเองเท่านั้น และตัวมันเองก็เกิดขึ้นจากส่วนประกอบมากมาย ซึ่งส่วนประกอบเหล่านั้นจะต้องสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ทำอย่างไรจะให้มีความสัมพันธ์ที่พอเหมาะพอดี ซึ่งความพอเหมาะพอดีนี้ถ้ารักษาไว้ได้ มันก็จะทำให้ทุกอย่างดำเนินไปได้ด้วยดี เพราะฉะนั้น หลักในเรื่องดุลยภาพนี้ก็เกิดจากการที่สิ่งทั้งหลายนั้นสัมพันธ์ซึ่งกันและกันนั่นเอง
ดุลยภาพว่าไปแล้วก็คือ ความสัมพันธ์อย่างพอเหมาะพอดี ถ้าความสัมพันธ์ไม่พอเหมาะพอดี เมื่อไรก็จะเสียดุลยภาพเมื่อนั้น ทีนี้ถ้าหากว่าจะปล่อยให้มันมีดุลยภาพของมันเอง ก็ไม่แน่นอน เพราะว่าชีวิตของมนุษย์เรานี้ก็ประสบสิ่งที่เข้ามากระทบกระทั่งมากมายที่จะทำให้ดุลยภาพนั้นสูญเสียไป เพราะฉะนั้น เราจึงต้องรู้หลักในการปฏิบัติเพื่อรักษาดุลยภาพอันนี้
ทางพระพุทธศาสนาจึงสอนวิธีปฏิบัติในการที่จะรักษาดุลยภาพอยู่เสมอ แม้แต่หลักธรรมที่สำคัญสุดยอดที่สุด ที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา ก็คือ หลักแห่งดุลยภาพนี้นั่นเอง
No Comments
Comments are closed.