- คำชี้แจง (ตัดตอน)
- กรณีเงื่อนงำ: พระพุทธเจ้าปรินิพพานด้วยโรคอะไร? (ฉบับตัดสั้น)
- ในแง่เป็นนักวิชาการ
- ถ้าข้อมูลผิด ก็ตีความ วิจารณ์ สันนิษฐานพลาดไปหมด
- ฝรั่งแม้จะเน้นข้อมูลที่แม่นยำ ก็ยังพลาดเยอะ
- การปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ท่านเล่าไว้ในพระไตรปิฎกมากมายหลายแห่ง
- ปรินิพพานด้วยโรคอะไร หลักฐานลงกันยันกลับ ให้ต้องสันนิษฐานใหม่
- มหาปรินิพพานสูตรมีลักษณะพิเศษแท้อยู่ที่ไหน
- รู้แล้วยิ่งมั่นใจและยิ่งเลื่อมใสว่า ท่านรักษาพระธรรมวินัย ไว้กับพระไตรปิฎกได้อย่างอัศจรรย์
- ๑. เรื่องว่าพระพุทธเจ้าปรินิพพานในเมือง ไม่ใช่ในสวนป่า
- ๒. เรื่องว่าในกุสินาราฤดูหนาว ต้นสาละใบร่วงหมดแล้ว
- ๓. เรื่องว่าพระพุทธเจ้าลุกนั่งไม่ไหว ต้องถูกหามขึ้นแคร่ไป
- ๔. เรื่องว่าพระพุทธเจ้าอวดว่าทรงอยู่ได้ถึงสิ้นโลก
- จริยธรรมของนักวิชาการไทย อยู่ที่ไหน
- ใฝ่รู้จริง รักความจริง ชื่อตรงต่อความจริง นักวิชาการไทยจะสร้างปัญญาให้แก่สังคมได้
ในแง่เป็นนักวิชาการ
ในแง่เป็นนักวิชาการนั้น เราถือว่านักวิชาการเป็นผู้ทำหน้าที่ให้ปัญญาแก่ผู้อื่น และแก่สังคม อย่างน้อยก็แสวงหาความรู้ความเข้าใจให้เจริญปัญญาแก่ตนเอง จึงจะต้องมีความรับผิดชอบ ยิ่งเป็นบุคคลในวงการพุทธศาสนาเอง ก็ต้องมีความรับผิดชอบอย่างมาก เช่น ในเรื่องของความถูกต้องและความจริง เพราะถ้าทำให้เกิดความหลงผิดเข้าใจผิด ก็กลายเป็นโทษเป็นบาป มีผลเป็นการทำลาย แต่ในแง่นี้จะยังไม่แจกแจงละ เอาเป็นว่าโยมรู้กันว่าต้องมีความรับผิดชอบก็แล้วกัน ทีนี้ลงไปถึงความเป็นนักวิชาการเลย
No Comments
Comments are closed.