- (กล่าวนำ)
- ขั้นที่ ๑ นึกถึงผลเสียของความเป็นคนมักโกรธ
- ขั้นที่ ๒ พิจารณาโทษของความโกรธ
- ขั้นที่ ๓ นึกถึงความดีของคนที่เราโกรธ
- ขั้นที่ ๔ พิจารณาว่า ความโกรธ คือการสร้างทุกข์ให้ตัวเอง
- ขั้นที่ ๕ พิจารณาความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน
- ขั้นที่ ๖ พิจารณาพระจริยาวัตรในปางก่อนของพระพุทธเจ้า
- ขั้นที่ ๗ พิจารณาความเคยเกี่ยวข้องกันในสังสารวัฏ
- ขั้นที่ ๘ พิจารณาอานิสงส์ของเมตตา
- ขั้นที่ ๙ พิจารณาโดยวิธีแยกธาตุ
- ขั้นที่ ๑๐ ปฏิบัติทาน คือ การให้หรือแบ่งปันสิ่งของ
ขั้นที่ ๑
นึกถึงผลเสียของความเป็นคนมักโกรธ
ขั้นที่ ๑ นึกถึงผลเสียของความเป็นคนมักโกรธ เช่น
ก. สอนตนเองให้นึกว่า พระพุทธเจ้าของเราทรงมีพระมหากรุณาธิคุณและทรงสอนชาวพุทธให้เป็นคนมีเมตตา เรามัวมาโกรธอยู่ ไม่ระงับความโกรธเสีย เป็นการไม่ปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ ไม่ทำตามอย่างพระศาสดา ไม่สมกับเป็นศิษย์ของพระพุทธเจ้า
จงรีบทำตัวให้สมกับที่เป็นศิษย์ของพระองค์ และจงเป็นชาวพุทธที่ดี
ข. พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า คนที่โกรธเขาก่อนก็นับว่าเลวอยู่แล้ว คนที่ไม่มีสติรู้เท่าทัน หลงโกรธตอบเขาไปอีก ก็เท่ากับสร้างความเลวให้ยืดยาวเพิ่มมากขึ้น นับว่าเลวหนักลงไปกว่าคนที่โกรธก่อนนั้นอีก
เราอย่าเป็นทั้งคนเลว ทั้งคนเลวกว่านั้นเลย
ค. พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนต่อไปอีกว่า เขาโกรธมา เราไม่โกรธตอบไป อย่างนี้เรียกว่า ชนะสงครามที่ชนะได้ยาก เมื่อรู้ทันว่าคนอื่นหรืออีกฝ่ายหนึ่งเขาขุ่นเคืองขึ้นมาแล้ว เรามีสติระงับใจไว้เสีย ไม่เคืองตอบ จะชื่อว่าเป็นผู้ทำประโยชน์ให้แก่ทั้งสองฝ่าย คือ ช่วยไว้ทั้งเขาและทั้งตัวเราเอง1
เพราะฉะนั้น เราอย่าทำตัวเป็นผู้แพ้สงครามเลย จงเป็นผู้ชนะสงคราม และเป็นผู้สร้างประโยชน์เถิด อย่าเป็นผู้สร้างความพินาศวอดวายเลย
ถ้าคิดนึกระลึกอย่างนี้แล้วก็ยังไม่หายโกรธ ให้พิจารณาขั้นที่สองต่อไปอีก
No Comments
Comments are closed.