- (กล่าวนำ)
- ขั้นที่ ๑ นึกถึงผลเสียของความเป็นคนมักโกรธ
- ขั้นที่ ๒ พิจารณาโทษของความโกรธ
- ขั้นที่ ๓ นึกถึงความดีของคนที่เราโกรธ
- ขั้นที่ ๔ พิจารณาว่า ความโกรธ คือการสร้างทุกข์ให้ตัวเอง
- ขั้นที่ ๕ พิจารณาความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน
- ขั้นที่ ๖ พิจารณาพระจริยาวัตรในปางก่อนของพระพุทธเจ้า
- ขั้นที่ ๗ พิจารณาความเคยเกี่ยวข้องกันในสังสารวัฏ
- ขั้นที่ ๘ พิจารณาอานิสงส์ของเมตตา
- ขั้นที่ ๙ พิจารณาโดยวิธีแยกธาตุ
- ขั้นที่ ๑๐ ปฏิบัติทาน คือ การให้หรือแบ่งปันสิ่งของ
ขั้นที่ ๒
พิจารณาโทษของความโกรธ
ขั้นที่ ๒ พิจารณาโทษของความโกรธ
ในขั้นนี้มีพุทธพจน์ตรัสสอนไว้มากมาย เช่นว่า
“คนขี้โกรธจะมีผิวพรรณไม่งาม คนขี้โกรธนอนก็เป็นทุกข์ ฯลฯ คนโกรธไม่รู้เท่าทันว่า ความโกรธนั้นแหละ คือภัยที่เกิดขึ้นข้างในตัวเอง
“พอโกรธเข้าแล้วก็ไม่รู้จักว่าอะไรเป็นประโยชน์ โกรธเข้าแล้วมองไม่เห็นธรรม เวลาถูกความโกรธครอบงำ มีแต่ความมืดตื้อ คนโกรธจะผลาญสิ่งใด สิ่งนั้นทำยากก็เหมือนทำง่าย แต่ภายหลังพอหายโกรธแล้ว ต้องเดือดร้อนใจเหมือนถูกไฟเผา”
“แรกจะโกรธนั้น ก็แสดงความหน้าด้านออกมาก่อนเหมือนมีควันก่อนจะเกิดไฟ พอความโกรธแสดงเดชทำให้คนดาลเดือดได้ คราวนี้ละไม่มีกลัวอะไร ยางอายก็ไม่มี ถ้อยคำ ไม่มีคารวะ ฯลฯ”
“คนโกรธฆ่าพ่อฆ่าแม่ของตัวเองก็ได้ ฆ่าพระอรหันต์ ฆ่าคนสามัญก็ได้ทั้งนั้น ลูกที่แม่เลี้ยงไว้จนได้ลืมตามองดูโลกนี้ แต่มีกิเลสหนา พอโกรธขึ้นมาก็ฆ่าได้แม้แต่แม่ผู้ให้ชีวิตนั้น ฯลฯ”1
“กาลีใดไม่มีเท่าโทสะ ฯลฯ เคราะห์อะไรเท่าโทสะไม่มี”2
ความโกรธมีโทษก่อผลร้ายให้มากมาย อย่างพุทธพจน์นี้เป็นตัวอย่าง แม้เรื่องราวในนิทานต่างๆ และชีวิตจริงก็มีมากมาย ล้วนแสดงให้เห็นว่าความโกรธมีแต่ทำให้เกิดความเสียหายและความพินาศ ไม่มีผลดีอะไรเลย จึงควรฆ่ามันทิ้งเสีย อย่าเก็บเอาไว้เลย
ฆ่าอะไรอื่นแล้วอาจจะต้องมานอนเป็นทุกข์ ฆ่าอะไรอื่นแล้วอาจจะต้องโศกเศร้าเสียใจ แต่ “ฆ่าความโกรธแล้วนอนเป็นสุข ฆ่าความโกรธแล้วไม่โศกเศร้าเลย”3
พิจารณาโทษของความโกรธทำนองนี้แล้ว ก็น่าจะบรรเทาความโกรธได้ แต่ถ้ายังไม่สำเร็จก็ลองวิธีต่อไปอีก
No Comments
Comments are closed.