- เป็นมงคลแท้ เมื่อครบทั้งสอง
- แต่งงาน คือเริ่มชีวิตใหม่ เป็นผู้ใหญ่รับผิดชอบครอบครัว
- รักแท้ดูที่ไหน และเป็นอย่างไร
- เมื่อเริ่มชีวิตคู่ ก็ได้กำลังเพิ่ม มาช่วยกันสร้างสรรค์
- ถ้าอยู่แค่สิทธิ ก็แห้งแล้ง จะสุขสดใส เมื่อรักแท้ด้วยน้ำใจ
- สิทธิมนุษยชนเป็นหลักประกันเบื้องต้น แต่ไม่พอที่จะให้บรรลุจุดหมายของมนุษย์
- ชีวิตสมรสเริ่มด้วยรัก แล้วเดินหน้ากว้างออกไป ไม่ใช่ถอยหลังลงมาทวงสิทธิกัน
- ถ้าก้าวหน้าไปในความรัก ชีวิตสมรสก็จะเป็นชีวิตแห่งการสร้างสรรค์
- ชีวิตคู่จะมั่นคง ต้องมีสัจจะเป็นฐาน
- ชีวิตจะก้าวไปในโลกได้ดี ต้องมีความสามารถปรับตัว และทำแบบฝึกหัดเป็น
- เข้มแข็งทนทาน จึงจะฝ่าฟันถึงความสำเร็จ
- เสียสละได้ มีน้ำใจต่อกัน ครอบครัวจึงจะสุขสันต์ยั่งยืน
- ครอบครัว คือชะตาของสังคม พ่อแม่ คือผู้สร้างอนาคตของโลก
- ชีวิตคือ การศึกษา มนุษย์ฝึกฝนพัฒนาจึงประเสริฐ
- ยิ่งฝึกตน คนก็ยิ่งประเสริฐ คนยิ่งประเสริฐ ก็ยิ่งสร้างสรรค์สิ่งดีเลิศ
- ช่วยกันปลูกและบำรุงรักษาต้นไม้วิวาหมงคลให้เติบโตมั่นคง มีใบ ดอก และผลบริบูรณ์
ชีวิตคู่จะมั่นคง ต้องมีสัจจะเป็นฐาน
เพราะฉะนั้น วันนี้ก็จะขอพูดถึงธรรมที่เป็นหลักในการมีชีวิตครองเรือนสักชุดหนึ่ง เอาชุดที่เป็นหลักธรรมง่ายๆ เรียกว่า “ฆราวาสธรรม” แปลว่าธรรมะสำหรับการครองเรือน หรือการอยู่เป็นชาวบ้านนั่นเอง ซึ่งมี ๔ ข้อด้วยกัน
ข้อที่ ๑. เป็นหลักง่ายๆ เรียกว่า “สัจจะ” สัจจะ ก็คือความจริงนั่นเอง ความจริงนี่เป็นรากฐานของชีวิตที่อยู่ร่วมกัน คนเราอยู่ร่วมกันต้องมีสัจจะต่อกัน
สัจจะเริ่มที่ไหน ก็เริ่มที่ความจริงใจ คือมีความจริงใจต่อกัน แล้วก็ซื่อสัตย์ต่อกัน มีความรักที่แท้ต่อกัน
ตอนนี้เริ่มจากในใจ พอมีความจริงใจต่อกันแล้ว ก็ออกมาทางวาจา ก็พูดจริง แล้วก็ออกมาทางการกระทำ คือ ทำจริงตามที่พูด
สัจจะนี้จะทำให้ไม่ต้องหวาดระแวงกัน พอเริ่มต้น ถ้าเสียข้อนี้แล้ว ทุกอย่างก็เรรวนง่อนแง่นหมด เพราะฉะนั้นท่านจึงเปรียบสัจจะว่าเป็นเหมือนรากแก้วของชีวิตสมรส เพราะถ้าไม่มีสัจจะเมื่อไร หรือเริ่มระแวงในสัจจะความจริงใจต่อกันเมื่อไร ชีวิตคู่ก็เริ่มง่อนแง่นทันที เสียความมั่นคง
เพราะฉะนั้น สัจจะจึงเป็นตัวรักษาฐาน ทำให้เกิดความมั่นคง ต้องมีไว้เป็นอันดับที่หนึ่ง คือ สัจจะ ความจริง
No Comments
Comments are closed.