- การศึกษาเพื่อสร้างบัณฑิต หรือ การศึกษาเพื่อเพิ่มผลผลิต
- พัฒนาคน หรือพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
- พัฒนาคนให้เป็นบัณฑิต หรือให้เพิ่มผลผลิต
- เอาปราชญ์มาสอนให้นำสังคมได้เอาผู้เชี่ยวชาญมาสอนให้ตามสนองสังคมทัน
- อาการฟูยุบในวงวิชาการ
- ตัววิชาก็มีปัญหา ต้องรู้เท่าทัน
- การปรับตัวปรับความคิดใหม่ในวงวิชาการ
- จะพัฒนาคน แต่ความคิดก็ยังพร่าสับสน
- พัฒนาอย่างไรจะได้คนเต็มคน
- รู้อย่างไรว่าพัฒนาแล้วเป็นคนเต็มคน
- กระแสโลกาภิวัตน์ที่ไทยต้องปรับตัวให้ทัน
- จะปรับตัวอย่างไร ไทยจึงจะฟื้นตัวทัน
- พัฒนาทั้งให้เป็นคนไทยและให้เป็นคนที่สร้างสรรค์อารยธรรม
- ศิลปศาสตร์ในฐานะเป็นวิชาพื้นฐาน
- แง่ที่ ๑ ศิลปศาสตร์มองโดยความสัมพันธ์กับวิชาชีพ และวิชาเฉพาะต่างๆ
- แง่ที่ ๒ ศิลปศาสตร์ มองโดยความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับ สิ่งที่มนุษย์เกี่ยวข้องเพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ด้วยดี
- แง่ที่ ๓ ศิลปศาสตร์ มองโดยสัมพันธ์กับกาลเวลา ยุคสมัย และความเปลี่ยนแปลง
- แง่ที่ ๔ ศิลปศาสตร์ มองในแง่เทศะ
- แง่ที่ ๕ ศิลปศาสตร์ มองในแง่การพัฒนาศักยภาพของมนุษย์
- แง่ที่ ๖ ศิลปศาสตร์มองในแง่การพัฒนาปัญญาที่เป็นแกน ของการพัฒนาศักยภาพและการเข้าถึงอิสรภาพ
ศิลปศาสตร์ในฐานะเป็นวิชาพื้นฐาน1
ตอนแรกได้เริ่มบรรยายเกี่ยวกับถ้อยคำเพื่อให้เห็นความเป็นมาของคำว่า “ศิลปศาสตร์” แล้วต่อมาก็ได้ยุติที่คำว่าศิลปศาสตร์อย่างที่ใช้ในความหมายปัจจุบัน คือ ที่ใช้สำหรับเรียกวิชาการอย่างที่กำหนดให้เรียนในมหาวิทยาลัยต่างๆ โดยเฉพาะที่คณะศิลปศาสตร์ คือ เป็นวิชาจำพวก Liberal Arts เป็นอันว่าเราก็หวนกลับมาหาความหมายในปัจจุบันตามแนวคิดที่รับมาจากตะวันตก ซึ่งหมายถึง การศึกษาเล่าเรียนวิชาการที่เป็นพื้นฐาน ก่อนที่จะเล่าเรียนวิชาชีพหรือวิชาเฉพาะ
อย่างไรก็ตาม การที่พูดว่าเป็นวิชาพื้นฐานนั้น คำว่า วิชาพื้นฐาน ก็เป็นคำที่น่าสงสัยว่าจะมีความหมายอย่างไร ที่ว่าเป็นพื้นฐานของการศึกษาวิชาชีพและวิชาเฉพาะนั้น เป็นพื้นฐานอย่างไร
มีหลายคนทีเดียวเข้าใจคำว่าพื้นฐานในแง่ที่เป็นวิชาเบื้องต้น ก่อนที่จะก้าวขึ้นไปเรียนวิชาชั้นสูง คือ วิชาชีพ และวิชาเฉพาะต่างๆ ซึ่งเหมือนกับเป็นวิชาที่สูงขึ้นไป การเข้าใจเช่นนี้ เป็นการมองอย่างง่ายเกินไป
ที่จริง คำว่า วิชาพื้นฐาน มีความหมายอย่างหนึ่งที่สำคัญ คือ เป็นวิชาที่เป็นพื้นฐานรองรับวิชาการอื่นๆ ซึ่งจะทำให้การเล่าเรียนวิชาอื่นๆ มั่นคงเป็นไปได้ถูกทิศถูกทาง โดยมีผลจริงและมีผลดีตามความมุ่งหมาย หมายความว่า ถ้าไม่มีวิชาการเหล่านี้เป็นพื้นฐานแล้ว วิชาการอื่นๆ ที่ศึกษาจะไม่มีความมั่นคง จะไม่ได้ผลดี ไม่ได้ผลจริงตามความมุ่งหมาย ตลอดจนอาจจะพูดว่า วิชาพื้นฐานนั้น เป็นวิชาการซึ่งให้ความหมายที่แท้จริงแก่การเรียนวิชาการอื่นๆ ทีเดียว
ถ้ามองในความหมายแง่ที่ ๒ นี้ การเป็นวิชาพื้นฐานนั้นก็มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพราะถ้าขาดพื้นฐานเสียแล้ว การศึกษาวิชาอื่นๆ ที่เป็นวิชาชีพ และวิชาเฉพาะ ก็เท่ากับขาดรากฐาน ง่อนแง่น คลอนแคลน เลื่อนลอย ไม่มีเครื่องรองรับ แล้วก็จะไม่สัมฤทธิผลตามความมุ่งหมายของมัน
ที่ว่าศิลปศาสตร์เป็นวิชาพื้นฐาน โดยมีความหมายต่างๆ อย่างน้อย ๒ ประการนี้ ก็ต้องเน้นในความหมายที่ ๒ ซึ่งที่จริงแล้วเรียกได้ว่าเป็น ความหมายที่แท้จริงของมัน และเป็นความหมายที่ทำให้การเป็นพื้นฐานนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ความสำคัญของการเป็นวิชาพื้นฐานนี้มีอย่างไรบ้าง ขอให้มองดูในแง่ต่างๆ ดังต่อไปนี้
No Comments
Comments are closed.