- (กล่าวนำ)
- มงคลสองด้านประสานเสริมกัน
- ความสมบูรณ์มีไม่ได้ ถ้าไร้ดุลยภาพ
- ดุลยภาพทางร่างกายทำให้มีสุขภาพดี
- ดุลยภาพทางเศรษฐกิจ ทำให้ชีวิตมีความมั่นคง
- สังคมไม่เสียดุลยภาพ ประชาชนก็ไม่ขาดสันติสุข
- เมื่อมนุษย์ทำลายธรรมชาติ ก็นำความพินาศมาสู่โลก
- ดุลยภาพของจิตใจ ภายในโลกแห่งความเปลี่ยนแปลง
- ดุลยภาพของจิตใจ: ศูนย์พลังยิ่งใหญ่แห่งการสร้างสรรค์
- ถึงจะเสียดุลยภาพกาย ก็ต้องรักษาดุลยภาพใจไว้ให้ได้
- คนโง่ เสียดุลยภาพกายแล้วก็พลอยเสียดุลยภาพใจไปด้วย คนฉลาด เอาดุลยภาพใจมาช่วยดุลยภาพกาย
- แม้แต่ธรรมก็ต้องมีดุลยภาพ
- ถ้าจัดธรรมเข้าดุลได้ ก็ไม่พลาดจากผลที่มุ่งหวัง
- ในที่สุด ธรรมคือดุลยภาพ และดุลยภาพก็คือธรรม
- ทางสายกลาง คือ ทางแห่งดุลยภาพ
- ดุลยภาพ คือสาระขององค์รวม
- ผู้มีดุลยภาพทางใจ แม้แต่ความตายก็ดึงขึ้นมาเข้าดุลได้
- อยู่ในโลก ก็รู้จักมองสิ่งทั้งหลาย ยามเจ็บไข้ ก็ปฏิบัติให้พร้อมดุล
- มาร่วมกันสร้างกุศล ช่วยกันทำวันเวลาให้เป็นมงคล และปฏิบัติตนให้สุขสันต์ทุกเวลา
ถึงจะเสียดุลยภาพกาย ก็ต้องรักษาดุลยภาพใจไว้ให้ได้
ในกรณีที่เสื่อมสุขภาพนี่ก็เหมือนกัน เราก็ต้องมองในแง่ดี อย่าไปมองในแง่ว่า โอ้ย เราแย่แล้วไม่ได้ความเลย ร่างกายของเราเสื่อมเสียแล้วทำอะไรก็ไม่ได้ ถ้ามองอย่างนี้ ก็ยิ่งทรุด แล้วก็จะเอียงหรือล้มไปเลย ในทางที่ถูกจะต้องมองให้เป็นคือมองว่าเราเกิดมาทีหนึ่ง ก็ได้มีประสบการณ์ที่เป็นกำไรชีวิต คนอื่นเขาอาจจะไม่เจอการเจ็บป่วยอย่างเรา เราเจอมันเข้าแล้วจะได้รู้จักทุกข์ที่เกิดจากโรคนี้ว่ามันเป็นอย่างไร
๑. เราได้ประสบการณ์ที่เป็นกำไรชีวิต หรือที่แปลกพิเศษ ซึ่งหลายคนไม่มีโอกาสได้พบ
๒. เราได้ทดสอบตัวเอง ดูความเข้มแข็งว่า เรามีความเข้มแข็งแค่ไหน จิตใจของเราเจออุปสรรคอันตรายขนาดนี้สู้ได้ไหม
๓. ถ้าหากว่าเจอขนาดนี้แล้ว เรายังไม่หวั่นไหว ยังเข้มแข็งสู้ได้ เราจะมีความภูมิใจเกิดปีติขึ้นมา จิตใจกลับสบายผ่องใสว่า เราสามารถทนต่อทุกข์ทรมานขนาดนี้ เอาชนะได้ สามาถทำจิตใจให้ดีได้
๔. การเป็นโรค เป็นโอกาสที่เราจะตัดกังวลหรือภาระอะไรบางอย่างลงไปได้ และสามารถใช้เวลาในขณะที่เป็นโรคนี้ ไปทำในสิ่งเป็นประโยชน์ เช่น บำเพ็ญเพียรทางจิตใจหรือจะมาพัฒนาทางจิตใจของเรา ให้จิตใจมีความสุขได้อีกด้านหนึ่งก็ได้
๕. ตัวโรคและความทุกข์อย่างที่ท่านเรียกว่าทุกขเวทนาที่เกิดจากโรคนั่นเอง เป็นของจริง เป็นประสบการณ์ตรง ซึ่งผู้ที่ได้ศึกษาธรรมแล้ว สามารถยกเอาขึ้นมาพิจารณา หรือมองลงไปตรงๆ ในเวลาที่มันกำลังเป็นอยู่นั้น แล้วทำให้มองเห็นสัจจธรรมของชีวิต จนกระทั่งเกิดปัญญารู้แจ้ง บรรลุโลกุตตรธรรม ยกจิตใจขึ้นเป็นอิสระ เรียกว่าบรรลุมรรค ผล นิพพานได้
ตกลงว่าคนที่รู้จักปฏิบัติต่อสิ่งต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าได้หรือเสียก็กลายเป็นได้ทั้งนั้น
ถึงอย่างไรก็ตาม เราต้องตั้งใจไว้ก่อนว่า เราจะต้องทำให้กลายเป็นการได้ในทุกกรณี ทางพระท่านถือหลักอย่างนี้ ท่านเรียกว่า โยนิโสมนสิการ
คนใดเกิดมาในโลกมีโยนิโสมนสิการแล้ว เรียกว่าโอกาสที่จะสูญเสียมีน้อยอย่างยิ่ง ได้เสมอไป ไม่ว่าอะไรได้หมด เจออะไรที่ไม่ดี ใครว่าไม่ดี ฉันต้องได้ประโยชน์สักอย่าง ได้คติจากชีวิต ได้อะไรต่างๆ ได้สิ่งที่เป็นประโยชน์ อย่างน้อยก็ได้ประสบการณ์ หรือถ้าดีกว่านั้น ก็อาจจะถึงขั้นรู้แจ้งเห็นความจริงของโลก แม้แต่ปลงอนิจจังเห็นความไม่เที่ยงแท้ของสิ่งทั้งหลาย แล้วทำใจให้เป็นอิสระได้
No Comments
Comments are closed.