- พระพุทธศาสนา กับประชาธิปไตย
- พระพุทธศาสนากับสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลง
- เอกลักษณ์กับไตรลักษณ์
- เกณฑ์วินิจฉัย ความหมายและคุณค่าของพุทธธรรม
- ทำอย่างไรจึงจะให้เชื่อเรื่องกรรม
- สันโดษ
- วรรณะ
- การศึกษาพระพุทธศาสนา โดยวิธีการเปรียบเทียบกับศาสนาพราหมณ์
- ตบะ
- โยคะ
- ภาคผนวก ความคิดเกี่ยวกับการพระศาสนาที่ได้ไปเห็นมา
- บทสัมภาษณ์ พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
- ที่มา
- อนุโมทนา
- คำนำ
คำนำ
ในปีพ.ศ. ๒๕๒๕ มูลนิธิโกมลคีมทองได้จัดพิมพ์หนังสือ “ปรัชญาการศึกษาไทย” (เรียกให้ตรงแท้ว่า “ปรัชญาการศึกษาสำหรับไทย”) ขึ้นใหม่เป็นครั้งที่ ๒
“ปรัชญาการศึกษาไทย” ที่พิมพ์ใหม่ครั้งที่ ๒ นั้น มีเนื้อหาหลายส่วนต่างจากสำนักพิมพ์เคล็ดไทยได้จัดพิมพ์เป็นครั้งแรก ใน พ.ศ. ๒๕๑๘ เพราะได้นำคำบรรยายอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษาเฉพาะในด้านศาสนธรรมเพิ่มเข้า ทำให้เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เพิ่มใหม่ และเข้ากับชื่อหนังสือว่า “ปรัชญาการศึกษาไทย” มากยิ่งขึ้น
เหตุผลอีกอย่างหนึ่งที่ให้เป็นเช่นนั้นก็คือ ทางมูลนิธิโกมลคีมทอง ประสงค์จะขยายการพิมพ์งานของผู้เรียบเรียงออกไปให้ครบถ้วนยิ่งขึ้น โดยรวบรวมบทความและคำบรรยายต่างๆ มาให้ได้จำนวนมาก แล้วแยกประเภทจัดพิมพ์เป็นชุด ตั้งใจไว้ว่าให้มี ๓ เล่ม คือปรัชญาการศึกษาไทย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑ แต่ก็มีเนื้อหาส่วนมากมาจากบทความและคำบรรยายที่รวบรวมเข้ามาใหม่ อันเกี่ยวด้วยพุทธศาสนากับสังคม
หนังสือเล่มนี้ ก็เช่นเดียวกับปรัชญาการศึกษาไทยที่ได้พิมพ์มาแล้ว คือประมวลคำบรรยายและบทความต่างๆ ซึ่งได้แสดงเขียนไว้ในต่างแหล่งต่างที่ มิใช่เป็นผลงานวิชาการ ที่มุ่งเขียนขึ้นให้ครอบคลุมเรื่องพุทธศาสนากับสังคมอย่างแท้จริง เพียงแต่เป็นการประมวลความรู้ความคิดเห็นบางส่วนของผู้เรียบเรียงที่จัดเข้าประเภทนี้ และผู้รวบรวมได้ตั้งชื่อใกล้เคียงกับหนังสือ “พุทธศาสนากับสังคม” ซึ่งผู้เรียบเรียงได้ตกลงรับปากกับผู้อาราธนาไว้นานแล้ว แต่ยังไม่ได้มีโอกาสที่จะลงมือเขียน
ขออนุโมทนาต่อคุณดุษฎี อังสุเมธางกูร ที่ได้ขวนขวาย รวบรวมบทความและคำบรรยายของผู้เรียบเรียงมาประมวลและจัดแยกประเภท ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นให้หนังสือปรัชญาการศึกษาไทยขยายออกมาเป็นหนังสือชุดที่มีสามเล่ม ขออนุโมทนาต่อคุณมนัส แต้ ซึ่งเป็นผู้จัดดำเนินการในด้านพิมพ์ให้หนังสือสำเร็จออกมาเป็นรูปเล่ม และขออนุโมทนาต่อคุณชลธีร์ ธรรมวรางกูร ซึ่งได้ช่วยพิมพ์ดีดต้นฉบับแต่ครั้งเดิมของเรื่องส่วนมากที่ได้รวบรวมพิมพ์อยู่ในหนังสือนี้
งานของผู้เรียบเรียงที่ออกมาเป็นหนังสือนี้ ก็เช่นเดียวกับหนังสืออื่นทั้งหมดเท่าที่เคยได้พิมพ์มา ขอยกให้เป็นธรรมทานโดยสิ้นเชิง แก่ผู้ขอนำไปจัดพิมพ์ในครั้งนั้นๆ สุดแต่จะดำเนินการเผยแพร่อย่างไร ให้ได้ผลตามกุศลเจตนาที่จะบังเกิดประโยชน์ในทางที่จะก่อกุศลธรรมและส่งเสริมวิชาการ สำหรับการพิมพ์ครั้งนี้ ขออนุโมทนาต่อมูลนิธิโกมลคีมทองที่ได้มีกุศลฉันทะดำเนินการพิมพ์หนังสือนี้ขึ้นเผยแพร่ อันสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของมูลนิธิในการบำเพ็ญประโยชน์ ขอกุศลกรรมร่วมกันนี้ จงอำนวยผลเพื่อประโยชน์สุขแก่สังคมและชีวิตของสรรพสัตว์สืบไป
พระราชวรมุนี
๒๒ กรกฎาคม ๒๕๒๖
No Comments
Comments are closed.