“ชวนคิด – พินิจธรรม” นี้ ประกอบด้วยคำบรรยาย ธรรมกถา และคำให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ รวม ๕ เรื่อง จัดเป็น ๓ ภาค กล่าวคือ
- ภาคที่ ๑ “ชวนคิด” ประกอบด้วยคำบรรยาย เรื่อง เทวดาพราหมณ์ เทวดาพุทธ และ บทเรียนของชาวพุทธ
- ภาคที่ ๒ “พินิจธรรม” ประกอบด้วยธรรมกถา เรื่อง แสงเงินแสงทองของชีวิต และ โพชฌงค์: พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
- ภาคผนวก เป็นคำให้สัมภาษณ์แก่หนังสือพิมพ์ “มติชน” ฉบับส่งปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ซึ่งได้ตั้งชื่อหัวข้อใหม่ในที่นี้ว่า พุทธศาสน์เมืองไทย สู่ปีใหม่ ๒๕๓๔ พร้อมด้วย พรปีใหม่ สำหรับชาวไทยทุกคน
สองเรื่องแรก ยกคัดตัดมาจากหนังสือ “ตามทางพุทธกิจ” ของผู้เรียบเรียง ที่พิมพ์นานแล้ว ใน พ.ศ. ๒๕๓๑ ในการพิมพ์ครั้งนี้ได้ปรับปรุงแต่งเสริมเพิ่มความ พร้อมทั้งตั้งหัวข้อย่อย และจัดวรรคตอนให้อ่านง่ายขึ้น โดยเฉพาะเรื่องแรก เดิมชื่อ อินเดีย แดนเทวดา ในที่นี้ได้เปลี่ยนชื่อใหม่ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
เรื่องที่ ๓ ได้พิมพ์ครั้งแรก ในเดือนตุลาคม ๒๕๓๓ ในการพิมพ์ครั้งใหม่นี้ ได้ตั้งหัวข้อย่อยให้อ่านง่ายขึ้น และแทรกเพิ่มข้อความเข้าบ้างเล็กน้อย ส่วนเรื่องที่ ๔ เป็นธรรมกถาที่แสดงไว้นานแล้ว (ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๘) มูลนิธิพุทธธรรมได้ขออนุญาตจัดพิมพ์แล้ว แต่ยังอยู่ในขั้นดำเนินการ ประจวบโอกาสนี้มาถึง เห็นเหมาะจึงนำมาพิมพ์ก่อน นับเป็นการพิมพ์ครั้งแรก
สารบัญ – ชวนคิด-พินิจธรรม
ชวนคิด
- เสียงพูดถึงอินเดีย
- สังเวชไม่ใช่หดหู่ใจ
- เห็นอินเดียแล้วหวนคิดถึงเมืองไทย
- อินเดียปัจจุบันกับวันเก่าในอดีต
- อินเดียที่เหมือนเดิม
- พุทธศาสนาในตู้โชว์ของอดีต
- เทวดาเต็มฟ้า ปวงประชาหน้าแห้ง
- อินเดียคู่เทวดา เมืองไทยจะแถมสุราและการพนัน
- ท่าทีพุทธกับท่าทีพราหมณ์ ในการนับถือเทวดา
- พระพุทธเจ้าประกาศอิสรภาพให้แก่มนุษย์
- เป็นคนต้องรู้จักพึ่งตน เพียรพยายามใช้ปัญญาแก้ปัญหา
- มนุษย์เพียรจริง เทวดาก็กีดกันไม่ได้
- มนุษย์กับเทวดา ชนะกันที่ธรรม
- แด่เทวดา ด้วยท่าทีแบบพุทธ
- เทวดาที่พึงปรารถนาในสังคมไทย
- ปฏิบัติผิดต่อเทวดา คือไล่พุทธศาสนาจากแผ่นดินไทย
- ปฏิบัติถูกต่อเทวดา พระพุทธศาสนาจะอยู่คู่ชาติไทย
- เมืองสำคัญเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
- ศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
- บุคคลสำคัญที่ชาวพุทธคุ้นใจในพุทธกาล
- ภิกษุณีไม่มีกิเลส มีลูกเป็นพระอรหันต์
- จะชำระความแบบพระเทวทัต หรือจะตัดสินความแบบพระพุทธเจ้า
- เมื่อลูกโปรดแม่
- ช่วยกันให้พึ่งตนได้
- เมืองพุทธ เมืองพราหมณ์
- พุทธศาสน์ยิ่งรุ่ง หลังพุทธกาล
- จากหัตถ์ที่ปกป้องเชิดชู สู่กำมือของผู้พิฆาต
- มหาราชไม่แล้งชมพูทวีป
- ผ่านยุครุ่งเรือง สู่ระยะทำลาย
- อินเดียยังไม่สิ้นคนดี
- อาณาจักรก็อวสาน พุทธศาสน์ก็อันตรธาน
- อินเดียแห่งความหลัง
- แดนพุทธที่ล่มร้าง
- เหตุให้พุทธศาสนาสูญสิ้นจากอินเดีย
- ใจกว้างจนลืมหลัก เสียหลักจนถูกกลืน
- คลาดหลักกรรม ไปคลำหาฤทธิ์
- เทวดาแสนเก่ง ก็ต้องเกรงมนุษย์ที่มีธรรม
- เฉยมิใช่ไร้กิเลส แต่เป็นเหตุให้พระศาสนาสิ้น
- ยิ่งกิเลสสิ้นไป ยิ่งได้งานเต็มที่ หมดกิเลสอยู่ป่า ทำงานพระศาสนาไม่หยุด
- โจรเข้ามาปล้นศาสน์ เลยยกวัดให้แก่โจร
- พุทธแต่ในนาม ไม่ต้องทำอะไรก็เป็นพุทธ
- ความเป็นพุทธ กับความเป็นชาวอินเดีย หนึ่งเดียวหรือแยกเป็นสอง
- กลืนกับฮินดู แต่ไกลกับมวลชน
- ศาสนสถานโอฬารหรู เครื่องเชิดชูหรือศัตรูของพระศาสนา
- ปลงได้ ใจใสสงบ ไม่ต้องหลบไปไหน ยิ่งขวนขวายแก้ปัญหา และพัฒนาสร้างสรรค์
- ถ้าวัดเมืองถอยล่า วัดในป่าต้องยังคง
- บทเรียนและภูมิหลัง ช่วยให้เข้าใจพระศาสนา
- แต่ตัวแกน คือความหมายตามหลักการ
- สาระแท้จริงที่จะรักษาพระศาสนาไว้ได้
พินิจธรรม
No Comments
Comments are closed.