๑. การผูกสีมา ตามพระวินัย

11 มกราคม 2543
เป็นตอนที่ 5 จาก 8 ตอนของ

๑. การผูกสีมา ตามพระวินัย

ผูกสีมา ให้เป็นพัทธสีมา

ที่เราเรียกกันว่า “งานฝังลูกนิมิตผูกพัทธสีมา” นั้น เป็นการเรียกตามๆ กันไปเท่านั้น ที่จริง “พัทธสีมา” แปลว่า สีมาที่ผูกแล้ว (“พัทธ” แปลว่า ผูกแล้ว) เมื่อสีมายังไม่ได้ผูก เราจึงมาจัดการผูกสีมาให้เป็นพัทธสีมา เพราะฉะนั้นจึงควรพูดให้ถูกว่า “งานฝังลูกนิมิต-ผูกสีมา”

ทีนี้พูดตามวินัยก่อน เรื่องวินัยก็คือ เมื่อเราสร้างวัดขึ้นมา หรือพระอยู่ในบริเวณที่เรียกว่าวัด ก็จะต้องมีเขตที่จะกำหนดว่าพระอยู่ในเขตแค่ไหนจะต้องมาประชุมกันเวลามีงานส่วนรวมที่เรียกว่า สังฆกรรม

หมายความว่า เรื่องสีมาเกิดขึ้นเพราะว่าชีวิตของพระตามพุทธบัญญัตินั้นอยู่กันเป็นสังฆะ หรือสงฆ์ คือเป็นหมู่หรือชุมชน และพระที่อยู่ในชุมชนเดียวกัน ที่เราเรียกว่าวัดนั้น เมื่อมีเรื่องส่วนรวมที่จะต้องทำ ก็มาประชุมตกลงกัน เรียกว่าทำสังฆกรรม

ปัญหาเกิดขึ้นว่า พระรูปใดบ้างอยู่ในหมู่นั้น หรือหมู่นั้นกำหนดแค่ไหน ที่จะต้องมาร่วมประชุม นี่แหละก็เลยต้องกำหนดเขตกันขึ้น เขตนั้นภาษาบาลีเรียกว่า “สีมา”

การตกลงกันกำหนดเขตนั้นไว้นั่นแหละเรียกว่า “ผูกสีมา”

ตอนก่อนหน้า/ตอนต่อไป<< ฝังลูกนิมิต-ผูกสีมา วัดญาณเวศกวัน๒. งานผูกสีมา ตามวัฒนธรรมไทย >>

หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 8

No Comments

Comments are closed.