- พระพุทธศาสนากับการศึกษาในอดีต (เกริ่นนำ)
- คณะสงฆ์เป็นสถาบันสังคมตัวอย่าง
- หลักพระพุทธศาสนาส่งเสริมให้มีการจัดการศึกษา
- การศึกษาขยายตัว
- เกิดมหาวิทยาลัยแห่งแรกของโลก
- ข้อสังเกตเกี่ยวกับความเจริญ และความเสื่อมของการศึกษาในอินเดีย
- เปรียบเทียบมหาวิทยาลัยพุทธศาสนา กับมหาวิทยาลัยในยุโรป
- พระพุทธศาสนากับการศึกษาสมัยเดิมของไทย
- ข้อสังเกต และข้อสรุปบางประการ เกี่ยวกับพระพุทธศาสนากับการศึกษาสมัยเดิมของไทย
- อนุโมทนา
อนุโมทนา
พ.ท. ทองขาว พ่วงรอดพันธุ์ นายกสมาคมศิษย์เก่า มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในนามของสมาคมฯ ได้มีกุศลฉันทะ แจ้งความประสงค์ที่จะพิมพ์หนังสือ เรื่อง “พระพุทธศาสนากับการศึกษาในอดีต” เพื่อเผยแพร่ให้เป็นประโยชน์กว้างขวางออกไป อาตมภาพขออนุโมทนา และยินดีอนุญาตด้วยความเต็มใจ
หนังสือเรื่อง “พระพุทธศาสนากับการศึกษาในอดีต” นี้ เดิมเป็นคำบรรยายในการประชุมทางวิชาการ เรื่อง พระพุทธศาสนากับการศึกษาในประเทศไทย ณ ห้องประชุมหอสมุดแห่งชาติ ในวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๑๓ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้พิมพ์เป็นเอกสารเผยแพร่ในวงจำกัดสำหรับผู้ควรสนใจ ครั้งแรกและครั้งที่สอง ใน พ.ศ. ๒๕๑๓ และ พ.ศ. ๒๕๑๙ ตามลำดับ ต่อมา เมื่อสำนักพิมพ์เคล็ดไทย ขออนุญาตรวมบทความของอาตมภาพ พิมพ์ในชื่อว่า “ปรัชญาการศึกษาไทย” ใน พ.ศ. ๒๕๑๘ ก็ได้นำคำบรรยายเรื่องนี้ไปรวมไว้ด้วย โดยจัดเป็นภาคผนวกของหนังสือดังกล่าว การจัดพิมพ์ของสมาคมศิษย์เก่า มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ครั้งนี้ เป็นครั้งแรกที่คำบรรยายเรื่อง “พระพุทธศาสนากับการศึกษาในอดีต” จะได้รับการเผยแพร่เฉพาะเรื่องอย่างกว้างขวาง
ขออนุโมทนากุศลฉันทะของสมาคมศิษย์เก่ามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในการจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ขึ้นเผยแพร่ อันเป็นที่หวังว่า จักอำนวยประโยชน์ทางการศึกษา และช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ในฐานะสถาบันการศึกษาและสถาบันสังคมของไทย สมตามวัตถุประสงค์ ในการสร้างงานทางวิชาการ และการเผยแพร่พระพุทธศาสนา เพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชนให้กว้างขวางยิ่งขึ้นสืบไป
พระเทพเวที
๑ มิถุนายน ๒๕๓๓
No Comments
Comments are closed.