… จะต้องคำนึงไว้เสมอว่า กฎเกณฑ์กติกาเท่านั้นไม่เพียงพอที่จะสมาน หรือประสานให้มนุษย์อยู่ในสามัคคีที่แท้จริง ในการที่โลกจะอยู่ได้ด้วยดีมีสันติสุขนั้น จะต้องมีความประสานเข้ากันได้ มีความสามัคคีปรองดองกัน คือมีเอกภาพ แต่ขณะนี้ มนุษย์ยังมีปัญหามากในเรื่องที่ว่าทำอย่างไรจึงจะสร้างเอกภาพนี้ให้เกิดขึ้นได้ …
จากธรรมกถาแก่ผู้ร่วมงาน ในโอกาสครบรอบ ๒๐ ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยจัดทำเป็นบทวีดีทัศน์ไปฉายในงานแทน
ในธรรมนิพนธ์เล่มนี้ยังประกอบด้วยเนื้อหาของปาฐกถาที่ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษแล้ว ในชื่อเรื่อง Perspectives on “Human Rights and the Well-Being of the Humanity” และเนื้อหาจากเรื่องนิติศาสตร์แนวพุทธด้วย
สารบัญ
- แง่คิดข้อสังเกตเรื่อง สิทธิมนุษยชนกับประโยชน์สุขของมนุษยชาติ
- สิทธิมนุษยชน บนภูมิหลังแห่งการถูกบีบคั้นให้ดิ้นรนแสวงหา
- สิทธิมนุษยชน บนหนทางแห่งการเผชิญปัญหาใหม่และขยายความหมาย
- สิทธิมนุษยชน เป็นฐานที่จะต้องใช้เพื่อก้าวต่อไปสู่การสร้างสันติสุข
- สิทธิมนุษยชน ยังไม่เพียงพอและอาจเสี่ยงภัยถ้าคนยังไม่พัฒนา
- สิทธิมนุษยชน จะสัมฤทธิ์ผลที่แท้ ต้องประสานสู่จริยธรรมเชิงสร้างสรรค์
No Comments
Comments are closed.