- จากจิตวิทยา สู่จิตภาวนา
- – ๑ – จุดบรรจบที่แฝงความแตกต่าง
- แนวโน้มใหม่ของความสนใจพระพุทธศาสนาในตะวันตก
- ความแตกต่างระหว่างจิตวิทยาตะวันตก กับพระพุทธศาสนา
- จุดต่างที่สำคัญระหว่างจิตวิทยากับพระพุทธศาสนา
- วิธีการที่ต่างกันเกิดจากการมองที่ต่างกัน
- ความสัมพันธ์เชิงระบบภายในองค์รวม โยงจิตกับปัญญา ตลอดลงมาถึงพฤติกรรม
- – ๒ – ความแตกต่างที่ต้องนำมาบรรจบ
- จุดที่จิตวิทยาสนใจและขยายความหมาย มาบรรจบกับพระพุทธศาสนา
- โทษอาจเกิดขึ้น และแก้ปัญหาไม่ได้ ถ้าเอาพระพุทธศาสนาไปใช้แบบครึ่งๆ กลางๆ
- วิธีการต้องตั้งอยู่บนฐานของทฤษฎี
- – ๓ – จากจิตวิทยา จบที่ปัญญาภาวนา
- สังคมวางแนวความคิดไว้เอียงสุด จิตมนุษย์ก็เกิดความขัดแย้ง เพราะมีความต้องการที่ไม่อาจสนอง
- ตะวันตกเปลี่ยนจากเหงาเมื่ออยู่เดียว ไปเป็นเหงากลางหมู่
- พุทธเปลี่ยนจากอยู่เดียวเปลี่ยวใจ ไปเป็นอยู่เดียวแสนสุข
- แก้ปัญหาจากสังคม หรือแก้ที่ตัวบุคคล
- การแก้ปัญหาอย่างมีกระบวนวิธีและเป็นระบบ
- เพราะว่างจึงเต็ม เพราะไม่ว่างจึงกลวง
- เมื่อเต็มแล้ว จะอยู่เดียวก็เป็นสุข จะอยู่ในสังคมก็เป็นสุข และทำสังคมให้เป็นสุขด้วย
- เชิงอรรถ
- บันทึกนำ
จากจิตวิทยา สู่จิตภาวนา1
เจริญพร ท่านผู้สนใจเจริญภาวนาทุกท่าน
วันนี้ อาตมาจะพูดในหัวข้อเรื่อง “จิตวิทยากับการเจริญภาวนา” หัวข้อนี้จะว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างจิตวิทยากับข้อปฏิบัติที่เกี่ยวกับจิตใจในพระพุทธศาสนา ถ้าจะเรียกให้กระทัดรัดเข้าอีก ก็อาจจะใช้ชื่อหัวข้อว่า จิตวิทยากับจิตภาวนา แต่ในที่นี้จะเรียกชื่อให้มองเห็นเนื้อหาที่จะพูดต่อไปได้ชัดยิ่งขึ้นว่า จากจิตวิทยา สู่จิตภาวนา
เมื่อพูดถึงคำว่า จิตวิทยา ก็คงจะต้องทำความเข้าใจกันหน่อยว่า จิตวิทยาในที่นี้ก็คือวิชาการสมัยใหม่ ที่เราเรียกชื่ออย่างนั้น ซึ่งเกิดขึ้นในประเทศตะวันตก และได้พัฒนามาในประเทศตะวันตก
เมื่อพูดถึงจิตวิทยาตะวันตกโดยเอามาสัมพันธ์กับพระพุทธศาสนา ก็เป็นเรื่องของความสัมพันธ์ในเชิงวิชาการ เพื่อให้ความเข้าใจในเรื่องนี้ชัดเจน อาตมาเห็นว่าควรจะโยงไปหาเรื่องความสัมพันธ์ในเชิงเหตุการณ์ คือความสัมพันธ์ในทางประวัติศาสตร์ด้วย
No Comments
Comments are closed.