- กระบวนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคนสู่ประชาธิปไตย
- – ๑ – ประเทศจะเป็นประชาธิปไตย ประชาชนต้องมีการศึกษา
- คุณภาพของประชาธิปไตย ขึ้นต่อคุณภาพของประชาชน
- ประชาชนปกครอง คือประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจตัดสินใจ ประชาชนจะตัดสินใจถูกดี ประชาชนต้องมีการศึกษา
- หนึ่งบัณฑิต ดีกว่าพันพาล แต่ประชาธิปไตยต้องการให้ทั้งพันเป็นบัณฑิต
- การศึกษาจะพัฒนาคนได้ผล ต้องช่วยให้คนพัฒนาความต้องการ
- ประชาธิปไตยจะเป็นจริงได้ ต้องให้ประชาชนรู้จักปกครองตนเอง
- ประชาธิปไตย จัดสรรสังคมให้มีโอกาสสูงสุด
- — ก) หลักการของประชาธิปไตย เพื่อให้มีประสิทธิผลในการใช้โอกาส
- — ข) หลักการของประชาธิปไตย ที่มีอยู่โดดเด่นในสังคมไทย
- — ค) หลักการของประชาธิปไตย ภายใต้อิทธิพลเศรษฐกิจทุนนิยม
- — ง) โอกาส ต้องมากับความไม่ประมาท
- — จ) ต้องมีปัญญา โอกาสจึงจะเกิดเป็นประโยชน์
- ประชาธิปไตย ช่วยให้ประโยชน์ของบุคคลและสังคมมาประสานเสริมกัน
- ประชาธิปไตย ทำให้คนมีโอกาสศึกษา การศึกษา ทำให้คนเข้าถึงโอกาสในสังคมประชาธิปไตย
- – ๒ – กระบวนการเรียนรู้ เพื่อขับเคลื่อนสังคมประชาธิปไตย — เรียน ศึกษา ฝึก หัด พัฒนา
- เลี้ยง – เลียน – เรียน
- เรียนรู้ตลอดชีวิต เพราะมนุษย์เป็นสัตว์แห่งการเรียนรู้
- ระบบแห่งกระบวนการเรียนรู้
- ๑. กระบวนการเรียนรู้ในระบบสัมพันธ์ของชีวิต ๓ ด้าน
- ๒. กระบวนการเรียนรู้ในระบบสื่อสัมพันธ์กับโลกทางอินทรีย์ ๖
- ๓. กระบวนการเรียนรู้ในระบบสัมพันธ์ปัจจัยภายใน-ภายนอก
- — ก) การเรียนอย่างมีความสุข ก็ต้องแยกแยะเข้าใจให้ถูก
- — ข) เรียนด้วยความสุข และสนุกในการเรียน
ประชาธิปไตย จัดสรรสังคมให้มีโอกาสสูงสุด
ต่อไปอีกแง่หนึ่งคือ การปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น เป็นระบบการจัดสรรสังคมเพื่อให้เกิดโอกาสดีที่สุดในการสร้างสรรค์ ที่จะทำให้ชีวิตและสังคมบรรลุประโยชน์สุขสูงสุด สิ่งสำคัญที่ประชาธิปไตยช่วยให้เกิดขึ้น ก็คือ โอกาส
การปกครองหลายแบบมีปัญหา เพราะกลายเป็นการตัดโอกาส หรือทำให้เสียโอกาส หรือทำให้ไม่เกิดโอกาส
โอกาสนั้นมองได้หลายอย่าง แต่โอกาสสำคัญซึ่งประชาธิปไตยที่ดีจะต้องอำนวยให้มี ๒ อย่าง คือ
๑. โอกาสพัฒนาตน หรือโอกาสที่จะพัฒนาศักยภาพของบุคคล คือประชาชนทุกคนจะมีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตน ให้ชีวิตเจริญงอกงาม บรรลุประโยชน์สุขสูงสุด
ในขณะที่ศักยภาพไม่สามารถพัฒนาได้เพราะถูกปิดกั้น บั่นรอน หรือจำกัดด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ประชาธิปไตยก็มาเอื้อโอกาสนี้ ทำให้เราได้โอกาสที่จะพัฒนาตัวเอง พัฒนาชีวิต และพัฒนาศักยภาพของตน (เช่นด้วยบริการทางการศึกษา)
๒. โอกาสร่วมสร้างสรรค์สังคม คือ การที่ประชาชนเหล่านั้นแต่ละคน มีโอกาสที่จะนำเอาศักยภาพของตนออกไปร่วมสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าและประโยชน์สุขให้แก่สังคม (เช่น ด้วยการมีสิทธิเสรีภาพในการเลือกตั้ง และสมัครรับเลือกตั้ง)
การปกครองหลายแบบมีปัญหาที่เป็นข้อบกพร่องอย่างสำคัญ คือ จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ได้กลายเป็นการปิดกั้นโอกาส ทำให้ความรู้ ความสามารถ ความถนัดจัดเจน สติปัญญา ที่มีอยู่ในประชาชนมากมาย แต่ละคนๆ ไม่มีโอกาสนำออกมาใช้เป็นส่วนร่วมสร้างสรรค์พัฒนาสังคม เป็นความสูญเสียโอกาสของบุคคล และเป็นการสูญเปล่าของทรัพยากรสังคม ประชาธิปไตยมาแก้ไขจุดอ่อนข้อนี้ ทำให้ศักยภาพที่มีอยู่ของบุคคลทุกคนมีโอกาสนำออกมาใช้ในการร่วมสร้างสรรค์พัฒนาสังคม
แต่ถ้าที่ใดปกครองแบบประชาธิปไตยแล้วไม่เกิดโอกาสและไม่ได้ประโยชน์จากโอกาสทั้งสองนี้ ก็เป็นเครื่องฟ้องว่าประชาธิปไตยนั้นไม่สัมฤทธิ์ผล
No Comments
Comments are closed.