- กระบวนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคนสู่ประชาธิปไตย
- – ๑ – ประเทศจะเป็นประชาธิปไตย ประชาชนต้องมีการศึกษา
- คุณภาพของประชาธิปไตย ขึ้นต่อคุณภาพของประชาชน
- ประชาชนปกครอง คือประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจตัดสินใจ ประชาชนจะตัดสินใจถูกดี ประชาชนต้องมีการศึกษา
- หนึ่งบัณฑิต ดีกว่าพันพาล แต่ประชาธิปไตยต้องการให้ทั้งพันเป็นบัณฑิต
- การศึกษาจะพัฒนาคนได้ผล ต้องช่วยให้คนพัฒนาความต้องการ
- ประชาธิปไตยจะเป็นจริงได้ ต้องให้ประชาชนรู้จักปกครองตนเอง
- ประชาธิปไตย จัดสรรสังคมให้มีโอกาสสูงสุด
- — ก) หลักการของประชาธิปไตย เพื่อให้มีประสิทธิผลในการใช้โอกาส
- — ข) หลักการของประชาธิปไตย ที่มีอยู่โดดเด่นในสังคมไทย
- — ค) หลักการของประชาธิปไตย ภายใต้อิทธิพลเศรษฐกิจทุนนิยม
- — ง) โอกาส ต้องมากับความไม่ประมาท
- — จ) ต้องมีปัญญา โอกาสจึงจะเกิดเป็นประโยชน์
- ประชาธิปไตย ช่วยให้ประโยชน์ของบุคคลและสังคมมาประสานเสริมกัน
- ประชาธิปไตย ทำให้คนมีโอกาสศึกษา การศึกษา ทำให้คนเข้าถึงโอกาสในสังคมประชาธิปไตย
- – ๒ – กระบวนการเรียนรู้ เพื่อขับเคลื่อนสังคมประชาธิปไตย — เรียน ศึกษา ฝึก หัด พัฒนา
- เลี้ยง – เลียน – เรียน
- เรียนรู้ตลอดชีวิต เพราะมนุษย์เป็นสัตว์แห่งการเรียนรู้
- ระบบแห่งกระบวนการเรียนรู้
- ๑. กระบวนการเรียนรู้ในระบบสัมพันธ์ของชีวิต ๓ ด้าน
- ๒. กระบวนการเรียนรู้ในระบบสื่อสัมพันธ์กับโลกทางอินทรีย์ ๖
- ๓. กระบวนการเรียนรู้ในระบบสัมพันธ์ปัจจัยภายใน-ภายนอก
- — ก) การเรียนอย่างมีความสุข ก็ต้องแยกแยะเข้าใจให้ถูก
- — ข) เรียนด้วยความสุข และสนุกในการเรียน
๓. กระบวนการเรียนรู้ในระบบสัมพันธ์ปัจจัยภายใน-ภายนอก
ปัจจัยที่ช่วยในการเรียนรู้มีหลายอย่าง แต่เมื่อจัดประเภทก็มี ๒ พวก คือ ปัจจัยภายนอก กับปัจจัยภายใน และในบรรดาปัจจัยภายนอก-ภายในที่มีมากนั้น ปัจจัยที่เป็นแกน คือ
๑. ปัจจัยภายนอก ได้แก่ ปรโตโฆสะ (เสียงจากผู้อื่น/สื่อข้างนอก) ที่ดี ที่เอื้อหรือเกื้อหนุน โดยเฉพาะกัลยาณมิตร คือ บุคคลหรือประสบการณ์ของบุคคลที่ดีมีปัญญา
๒. ปัจจัยภายใน ได้แก่ โยนิโสมนสิการ (การรู้จักมอง รู้จักคิด รู้จักพิจารณา คิดเป็น หรือคิดถูกทางถูกวิธี)
คนจะมีการศึกษาจริง ต่อเมื่อเขามีโยนิโสมนสิการ ซึ่งจะทำให้เขารู้จักเรียนรู้ ดำเนินชีวิตได้ดี ปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายอย่างได้ผล และพึ่งตนเองได้
สำหรับคนทั่วไป การเรียนรู้ การที่จะรู้จักดำเนินชีวิตให้ดี การที่จะปฏิบัติต่อสิ่งและสถานการณ์ทั้งหลายอย่างได้ผล ต้องอาศัยการช่วยเหลือแนะนำของผู้อื่น ที่หวังดีและมีประสบการณ์มากกว่า ซึ่งเรียกว่ากัลยาณมิตร
การช่วยเหลือที่ดีที่สุดของกัลยาณมิตร (ปัจจัยภายนอก) คือการชักนำกระตุ้นเร้าให้ผู้เรียนเกิดมีโยนิโสมนสิการ (ปัจจัยภายใน)
เรื่องปัจจัยภายนอก และปัจจัยภายใน หรือเรื่องกัลยาณมิตร และโยนิโสมนสิการนี้ เป็นเรื่องใหญ่มาก และโยงเอากระบวนการเรียนรู้ ๒ ระบบแรก (ทั้งระบบสัมพันธ์ของชีวิต ๓ ด้าน และระบบสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางอินทรีย์ ๖) เข้ามาใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด จึงมิใช่โอกาสที่จะนำมาบรรยายในที่ซึ่งมีเวลาจำกัดอย่างนี้ นอกจากพูดพอเป็นการตั้งเค้าให้เห็นแนวเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อกี้นี้ได้พูดถึงกระบวนการเรียนรู้ในระบบที่ ๒ ซึ่งใช้อินทรีย์สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม และได้พูดมาถึงตอนที่เกี่ยวข้องกับความสุข-ความทุกข์ จึงจะขอพูดถึงการเรียนรู้ในระบบที่ ๓ นี้ เฉพาะแง่ที่โยงกับเรื่องความสุขในกระบวนการเรียนรู้ อีกสักหน่อย
ในหัวข้อที่ผ่านมา ได้พูดให้เห็นว่า กระบวนการเรียนรู้ เป็นกระบวนการพัฒนาความสุขด้วย เช่น จากภาวะพื้นฐานที่บุคคลหาความสุขด้วยการเสพ/บริโภค ซึ่งจะสุขเมื่อไม่ต้องทำ และเมื่อทำก็เป็นทุกข์ คนที่เรียนรู้จะพัฒนาขึ้นมาสู่ภาวะที่มีความสุขจากการศึกษา ซึ่งจะทำให้เขาหาความสุขจากการเรียนรู้ และจากการสนองความต้องการที่จะทำ (ให้ดี) แล้วความสุขจากการศึกษานี้ก็จะยิ่งมาหนุนการเรียนรู้ให้ก้าวหน้า และผู้เรียนรู้ก็จะยิ่งพัฒนา
ในการพัฒนา “ความสุขจากการศึกษา” นี้ โยนิโสมนสิการมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง ตั้งแต่เป็นตัวเริ่มต้นกระบวนการ และช่วยได้ทุกสถานการณ์ไปจนตลอด แม้กระทั่งพลิกสถานการณ์ให้กลับจากเสียเป็นได้ และกลับจากร้ายเป็นดี
ด้วยโยนิโสมนสิการในแง่ความสุข-ความทุกข์นี้ แม้เพียงแค่รู้จักมองทุกข์เป็นบททดสอบจิตปัญญา และมองปัญหาเป็นแบบฝึกหัด คนก็จะนำชีวิตเข้าสู่มิติใหม่แห่งความสุข และเปิดขยายโอกาสแห่งการพัฒนาตนเองออกไปอย่างมากมาย
ในเวลาที่เกินเลยไปบ้างนี้ ขอพูดถึงกระบวนการเรียนรู้ระบบที่ ๓ ในแง่ที่สัมพันธ์กับการพัฒนาความสุขไว้สักหน่อย เป็นการสืบต่อจากหัวข้อก่อนในกระบวนการเรียนรู้ระบบที่ ๒ ดังนี้
No Comments
Comments are closed.