- กระบวนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคนสู่ประชาธิปไตย
- – ๑ – ประเทศจะเป็นประชาธิปไตย ประชาชนต้องมีการศึกษา
- คุณภาพของประชาธิปไตย ขึ้นต่อคุณภาพของประชาชน
- ประชาชนปกครอง คือประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจตัดสินใจ ประชาชนจะตัดสินใจถูกดี ประชาชนต้องมีการศึกษา
- หนึ่งบัณฑิต ดีกว่าพันพาล แต่ประชาธิปไตยต้องการให้ทั้งพันเป็นบัณฑิต
- การศึกษาจะพัฒนาคนได้ผล ต้องช่วยให้คนพัฒนาความต้องการ
- ประชาธิปไตยจะเป็นจริงได้ ต้องให้ประชาชนรู้จักปกครองตนเอง
- ประชาธิปไตย จัดสรรสังคมให้มีโอกาสสูงสุด
- — ก) หลักการของประชาธิปไตย เพื่อให้มีประสิทธิผลในการใช้โอกาส
- — ข) หลักการของประชาธิปไตย ที่มีอยู่โดดเด่นในสังคมไทย
- — ค) หลักการของประชาธิปไตย ภายใต้อิทธิพลเศรษฐกิจทุนนิยม
- — ง) โอกาส ต้องมากับความไม่ประมาท
- — จ) ต้องมีปัญญา โอกาสจึงจะเกิดเป็นประโยชน์
- ประชาธิปไตย ช่วยให้ประโยชน์ของบุคคลและสังคมมาประสานเสริมกัน
- ประชาธิปไตย ทำให้คนมีโอกาสศึกษา การศึกษา ทำให้คนเข้าถึงโอกาสในสังคมประชาธิปไตย
- – ๒ – กระบวนการเรียนรู้ เพื่อขับเคลื่อนสังคมประชาธิปไตย — เรียน ศึกษา ฝึก หัด พัฒนา
- เลี้ยง – เลียน – เรียน
- เรียนรู้ตลอดชีวิต เพราะมนุษย์เป็นสัตว์แห่งการเรียนรู้
- ระบบแห่งกระบวนการเรียนรู้
- ๑. กระบวนการเรียนรู้ในระบบสัมพันธ์ของชีวิต ๓ ด้าน
- ๒. กระบวนการเรียนรู้ในระบบสื่อสัมพันธ์กับโลกทางอินทรีย์ ๖
- ๓. กระบวนการเรียนรู้ในระบบสัมพันธ์ปัจจัยภายใน-ภายนอก
- — ก) การเรียนอย่างมีความสุข ก็ต้องแยกแยะเข้าใจให้ถูก
- — ข) เรียนด้วยความสุข และสนุกในการเรียน
หนึ่งบัณฑิต ดีกว่าพันพาล
แต่ประชาธิปไตยต้องการให้ทั้งพันเป็นบัณฑิต
มีคาถาเป็นพุทธศาสนสุภาษิตอยู่บทหนึ่งใจความว่า คนเขลาอ่อนปัญญา มาประชุมกันมากมายเกินพัน พวกเขาได้แต่คร่ำครวญรำพันตัดพ้อต่อว่ากัน ปัญหาก็ไม่ได้แก้ แต่บัณฑิตเพียงผู้เดียวเข้ามา เขารู้จักใช้ปัญญา พาคนทั้งพันผ่านพ้นปัญหาไปได้ (ดู ขุ.ชา.๒๗/๙๙)
ที่ว่านี้ไม่ได้หมายความว่า จะให้มานิยมการปกครองแบบบุคคลผู้เดียว เพราะถ้าเปลี่ยนบัณฑิตผู้เดียว มาเป็นคนพาลผู้เดียวล่ะ ก็จะกลายเป็นว่า คนพาลผู้เดียวมาตัดสินใจ ก็จะยิ่งยุ่งกันใหญ่
ตัวปัญหาอยู่ที่ว่า เมื่อคนตั้งพันที่อ่อนปัญญา ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เราจะทำอย่างไร
เรายอมรับว่า บัณฑิตคนเดียวดีกว่าคนพาลตั้งพัน แต่ใครๆ ก็ต้องยอมรับว่า มีบัณฑิตพันคน ดีกว่ามีบัณฑิตคนเดียว ประชาธิปไตยต้องการให้คนทั้งพันเป็นบัณฑิต
๑. จะได้ไม่ต้องเสี่ยงต่อการที่จะได้คนเดียวที่เป็นพาล แทนที่จะได้คนเดียวที่เป็นบัณฑิต
๒. มีบัณฑิตพันคน จะตัดสินใจได้ผลดีกว่ามีบัณฑิตคนเดียว
ดังนั้น เมื่อเราปกครองด้วยระบบประชาธิปไตย เราก็เลยมีภาระที่จะต้องทำให้คนทั้งพันหรือส่วนใหญ่ของพันนั้น เป็นบัณฑิตผู้มีสติปัญญา อันนี้เป็นสาระของการศึกษาที่จะมาช่วยประชาธิปไตย คือ ทำอย่างไรจะให้คนทั้งพันที่มาประชุมกันไม่ได้เรื่องนั้น ให้กลายเป็นบัณฑิตขึ้นมา
โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันนี้ มีข่าวสารมากมาย และรวดเร็ว จนกระทั่งเราบอกว่า มันล้น เราตามไม่ทัน ในเมื่อข้อมูลข่าวสารมีมากมาย และมีเทคโนโลยีที่ทำให้เผยแพร่ได้ง่ายดายรวดเร็ว คนก็มีความโน้มเอียงที่จะตกอยู่ใต้อิทธิพลของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจมีความเชี่ยวชาญ อย่างน้อยเริ่มต้น ผู้ที่เชี่ยวชาญด้านการข่าว คือสื่อมวลชน อาจจะชักนำผู้คนให้หันเหไปตามต้องการ และอย่างร้าย สื่อชวนเชื่อทั้งหลายก็จะได้โอกาสทำลายสังคม
ถ้าคนไม่มีวิจารณญาณ ไม่มีความสามารถในการคิด แทนที่จะวินิจฉัย ตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ได้ด้วยสติปัญญา ก็กลายเป็นว่า จะถูกอิทธิพลของสื่อครอบงำ ไม่เฉพาะสื่อชวนเชื่อทั้งหลาย ที่ร้ายอย่างยิ่ง แม้แต่สื่อมวลชนซึ่งทำหน้าที่นำเสนอ ทั้งข่าว ทั้งความคิด แต่ละคนก็จะต้องศึกษาพินิจพิจารณา
แม้แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ก็กำลังมีปัญหาว่า เมื่อสังคมมีความซับซ้อนมากขึ้น สิ่งที่ต้องเรียนรู้มากขึ้น ตามไม่ไหว ก็เริ่มมีการพึ่งผู้เชี่ยวชาญ ทีนี้ก็กลายเป็นว่า เรื่องอะไรต่อมิอะไร ก็ต้องพึ่งพาอาศัยผู้เชี่ยวชาญให้เป็นผู้ตัดสินใจ
ดีไม่ดี เราอาจจะมีคนบางพวกบางประเภทมาครองอำนาจแทนผู้ปกครองโดยไม่รู้ตัว แล้วเรื่องก็จะกลายเป็นว่า เราอุตส่าห์เพียรพยายามเปลี่ยนผู้ปกครองจากผู้มีอำนาจคนเดียว มาเป็นผู้ปกครองคือประชาชนทั้งหมด แต่เสร็จแล้ว โดยไม่รู้ตัว ไม่ตั้งใจ ประชาชนนั้นกลับไปตกอยู่ใต้อิทธิพลของบุคคลบางพวก
ดังนั้น จึงจะต้องทำให้ประชาชนไม่สูญเสียอำนาจการตัดสินใจ และไม่สูญเสียศักยภาพในการที่จะตัดสินใจได้อย่างถูกต้องด้วย
No Comments
Comments are closed.