- – ๑ – จากอุบาสก-อุบาสิกา มาถึงปัญหาภิกษุณี
- ถ้าชาวพุทธมีคุณสมบัติของอุบาสกอุบาสิกา สังคมไทยจะพ้นปัญหาแน่นอน
- เรื่องภิกษุณี พูดกันดีๆ ไม่ต้องมีปัญหา — ตั้งจิตเมตตาก่อนว่า จะหาทางทำให้ดีที่สุด
- ตั้งหลักไว้: ให้ผู้หญิงก็ได้ และธรรมวินัยก็ไม่เสีย
- ผู้หญิงมีสิทธิบวชเป็นภิกษุณี แต่คนที่มีสิทธิบวชให้ไม่มี
- ถึงจะมีสถานะที่ดี แต่ถ้าไม่รู้จักรักษา ในไม่ช้าก็จะเสื่อมจากสถานะนั้นเอง
- พิสูจน์ตัวเองว่า สิ่งที่มีอยู่ สามารถจัดการให้ดี ไม่ใช่ชอบแต่ของใหม่ แต่ใช้และบำรุงรักษาไม่เป็น
- การแสดงความคิดเห็น ต้องคู่มากับการแสวงหาความรู้
- สังคมจะดี ประชาธิปไตยจะมีคุณค่า หนีไม่พ้นว่า ทุกคนต้องถือธรรมเป็นใหญ่
- สุดท้ายก็มาลงที่หลักพื้นฐาน คืออามิสทานจากชาวบ้าน เพื่อให้พระสงฆ์มีกำลัง ที่จะอำนวยธรรมทานแก่ประชาชน
- – ๒ – ทัศนะของพระพุทธศาสนา ต่อสตรีและการบวชเป็นภิกษุณี
- ทำไมในคัมภีร์ มีคำว่าผู้หญิงไม่ดีมากมาย
- ทำไมในวินัย จึงให้ฐานะภิกษุณีไม่เต็มที่ในสังคม
- ทำไมเมื่อให้บวชภิกษุณี จึงต้องมีข้อจำกัดมากมาย
- ทำไมจะเป็นพระศาสดา ต้องเปลี่ยนมาเป็นผู้ชาย
- เมืองไทยเป็นอย่างนี้ จะมีภิกษุณีเถรวาทได้ไหม
- ผู้หญิงมาบวชไม่ได้ ก็ไม่น่าต้องไปเป็นโสเภณีที่ไหน
- แม่ชีที่เรามีอยู่แล้ว ช่วยกันส่งเสริมขึ้นมาจะดีไหม
- ให้พุทธบริษัทมีส่วนร่วมครบ ๔ จึงจะเป็นระบบพุทธที่ดีใช่ไหม
- อยากเกิดเป็นหญิงหรือชาย จะทำให้เป็นได้อย่างไร
- เปลี่ยนจากนับถือเทพสูงสุดมาถือธรรมเป็นใหญ่ ชาวพุทธจะยืนหยัดไหวไหม
- ไม่รู้จักพระไตรปิฎก-อรรถกถา จะพูดเรื่องพุทธศาสนาให้ชัดได้อย่างไร
- พระเป็นผู้ไปแจกจ่ายธรรมนำสังคม ให้เป็นผู้รับสงเคราะห์จะเหมาะสมได้อย่างไร
- อนุโมทนา
อยากเกิดเป็นหญิงหรือชาย จะทำให้เป็นได้อย่างไร
ถาม: มักจะพูดกันต่อๆ มาว่า เกิดมาเป็นผู้หญิงนี่เป็นผู้มีกรรม หรือมีกรรมมาก และทำอย่างไรจะได้เกิดเป็นผู้ชายคะ
ตอบ: ทุกคนมีกรรมทั้งนั้น ไม่ว่าหญิงหรือชาย มันอยู่ที่ว่ากรรมดีหรือไม่ดี ถ้ามีกรรมมาก เป็นกรรมดี ก็ดีน่ะสิ โดยมากภาษาไทยจะมีปัญหาอยู่ในตัว คำว่ามีกรรมนี่กลายเป็นว่ากรรมที่ไม่ดีไป
ในเรื่องนี้อรรถกถาก็จะพูดถึงว่าทำไมไปเกิดเป็นหญิง แล้วก็ว่าเพราะทำกรรมไม่ดีอย่างนี้ๆ นี่เป็นคำอธิบายของพระอรรถกถาจารย์ แต่ในพระไตรปิฎกไม่มี ในพระไตรปิฎกจะเน้นไปในแง่ของจิตที่ยึดถือผูกพันโน้มไป ก็หมายความว่า การตั้งจิตนี้ละเป็นสาระสำคัญ จิตที่โน้มเอียงยึดถือพอใจในภาวะเพศนี้แหละ ถ้าผู้หญิงพอใจโน้มใจผูกพันยึดถือในเพศที่เป็นหญิง ก็จะโน้มไปในการที่จะเกิดเป็นหญิง แต่ถ้าไปพอใจในความเป็นชาย ก็มีความโน้มไปในการที่จะเกิดเป็นชายเช่นเดียวกัน อยู่ที่จิตผูกยึดโน้มพอใจ
ทีนี้ถ้าเรามาโยงกับอรรถกถา ก็อาจจะมองได้ว่า อรรถกถาอธิบายในเชิงคล้ายๆ ว่า สมัยนั้นสังคมยึดถือผู้ชายเป็นหลัก เมื่อผู้ชายไปล่วงละเมิดคู่ครองของคนอื่น จิตก็จะครุ่นคิดหมกมุ่นในเรื่องผู้หญิงมาก ก็จะไปเกิดเป็นหญิง แต่ผู้หญิงที่ภักดีต่อสามี เอาใจใส่ ปฏิบัติสามี ปฏิบัติดีอะไรต่างๆ จิตก็ผูกอยู่กับผู้ชายมาก ก็โน้มไปในทางที่จะเกิดเป็นชาย ถ้าอธิบายอย่างนี้ก็พอจะเข้ากับหลักในพระไตรปิฎก ที่ว่าไว้เป็นกลางๆ คือหมายถึงสภาวะจิต หรือความโน้มเอียงของจิตเป็นสำคัญ
ถาม: แต่เดี๋ยวนี้มันไม่เป็นหญิง เป็นชาย
ตอบ: ไม่ใช่พูดแค่ตัวภาวะเพศเท่านั้นนะ แต่หมายถึงการพัฒนาคุณสมบัติ คือไม่ใช่พอใจในเรื่องเพศ เรื่องความสัมพันธ์ทางเพศ แต่หมายถึงพอใจในคุณสมบัติที่แสดงถึงความเป็นชาย เช่นคุณสมบัติในความเข้มแข็ง ความเด็ดเดี่ยวอะไรต่างๆ
ถาม: ปัจจุบันนี้ ผู้ชายมีแนวโน้มเป็นผู้หญิงมาก มีอิตถีภาวะมาก มีเยอะเหลือเกิน
ตอบ: นั่นสิ แสดงว่าสังคมมันวิปริต แสดงว่าจิตใจของคนมีความโน้มเอียงเปลี่ยนไป ก็เห็นแล้วว่าแนวโน้มจะเป็นผู้หญิง
No Comments
Comments are closed.