- – ๑ – จากอุบาสก-อุบาสิกา มาถึงปัญหาภิกษุณี
- ถ้าชาวพุทธมีคุณสมบัติของอุบาสกอุบาสิกา สังคมไทยจะพ้นปัญหาแน่นอน
- เรื่องภิกษุณี พูดกันดีๆ ไม่ต้องมีปัญหา — ตั้งจิตเมตตาก่อนว่า จะหาทางทำให้ดีที่สุด
- ตั้งหลักไว้: ให้ผู้หญิงก็ได้ และธรรมวินัยก็ไม่เสีย
- ผู้หญิงมีสิทธิบวชเป็นภิกษุณี แต่คนที่มีสิทธิบวชให้ไม่มี
- ถึงจะมีสถานะที่ดี แต่ถ้าไม่รู้จักรักษา ในไม่ช้าก็จะเสื่อมจากสถานะนั้นเอง
- พิสูจน์ตัวเองว่า สิ่งที่มีอยู่ สามารถจัดการให้ดี ไม่ใช่ชอบแต่ของใหม่ แต่ใช้และบำรุงรักษาไม่เป็น
- การแสดงความคิดเห็น ต้องคู่มากับการแสวงหาความรู้
- สังคมจะดี ประชาธิปไตยจะมีคุณค่า หนีไม่พ้นว่า ทุกคนต้องถือธรรมเป็นใหญ่
- สุดท้ายก็มาลงที่หลักพื้นฐาน คืออามิสทานจากชาวบ้าน เพื่อให้พระสงฆ์มีกำลัง ที่จะอำนวยธรรมทานแก่ประชาชน
- – ๒ – ทัศนะของพระพุทธศาสนา ต่อสตรีและการบวชเป็นภิกษุณี
- ทำไมในคัมภีร์ มีคำว่าผู้หญิงไม่ดีมากมาย
- ทำไมในวินัย จึงให้ฐานะภิกษุณีไม่เต็มที่ในสังคม
- ทำไมเมื่อให้บวชภิกษุณี จึงต้องมีข้อจำกัดมากมาย
- ทำไมจะเป็นพระศาสดา ต้องเปลี่ยนมาเป็นผู้ชาย
- เมืองไทยเป็นอย่างนี้ จะมีภิกษุณีเถรวาทได้ไหม
- ผู้หญิงมาบวชไม่ได้ ก็ไม่น่าต้องไปเป็นโสเภณีที่ไหน
- แม่ชีที่เรามีอยู่แล้ว ช่วยกันส่งเสริมขึ้นมาจะดีไหม
- ให้พุทธบริษัทมีส่วนร่วมครบ ๔ จึงจะเป็นระบบพุทธที่ดีใช่ไหม
- อยากเกิดเป็นหญิงหรือชาย จะทำให้เป็นได้อย่างไร
- เปลี่ยนจากนับถือเทพสูงสุดมาถือธรรมเป็นใหญ่ ชาวพุทธจะยืนหยัดไหวไหม
- ไม่รู้จักพระไตรปิฎก-อรรถกถา จะพูดเรื่องพุทธศาสนาให้ชัดได้อย่างไร
- พระเป็นผู้ไปแจกจ่ายธรรมนำสังคม ให้เป็นผู้รับสงเคราะห์จะเหมาะสมได้อย่างไร
- อนุโมทนา
อนุโมทนา
สำนักพิมพ์สุขภาพใจ ได้แจ้งกุศลฉันทะขออนุญาตพิมพ์หนังสือเรื่อง ปัญหาภิกษุณี: บททดสอบสังคมไทย เพื่อเผยแพร่ให้กว้างขวางออกไป จักได้เป็นประโยชน์แก่ประชาชนจำนวนมาก อาตมภาพขออนุโมทนา
หนังสือ ปัญหาภิกษุณี: บททดสอบสังคมไทย เล่มนี้ เดิมชื่อ ทัศนะของพระพุทธศาสนา ต่อสตรีและการบวชเป็นภิกษุณี ซึ่งเคยพิมพ์มาก่อนแล้วหลายครั้ง แต่ในการพิมพ์ครั้งนี้ ได้นำเรื่องที่พูดใหม่เมื่อเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๔ มารวมเข้าด้วย เพิ่มขึ้นเป็นตอนที่ ๑ และเลื่อนเรื่องเดิมที่ตอบคำถามใน พ.ศ. ๒๕๔๑ ไปเป็นตอนที่ ๒ แล้วตั้งชื่อหนังสือใหม่ให้เหมาะกับเนื้อหาโดยรวม
ในการนี้ สิทธิเพื่อการพิมพ์เฉพาะครั้ง ได้มอบให้เปล่าแก่ผู้จัดพิมพ์ เช่นเดียวกับหนังสืออื่นทุกเล่มของผู้เขียนเท่าที่ได้พิมพ์แล้วในทุกกรณี ทั้งนี้ เพื่อความเจริญแพร่หลายแห่งธรรม และความงอกงามแห่งสัมมาปัญญา ที่เป็นผลอันเลิศแห่งธรรมทาน
ขออนุโมทนาฉันทะและวิริยะของสำนักพิมพ์สุขภาพใจในการช่วยกันเผยแพร่สัมมาทัศนะ ที่เป็นรากฐานแห่งสัมมาปฏิบัติ เพื่อชักนำส่งเสริมให้ประชาชนเจริญธรรมเจริญปัญญา อันจะนำมาซึ่งประโยชน์สุขที่แท้และยั่งยืน สมดังบุญเจตนาที่ตั้งไว้นั้นสืบไป
พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)
๕ ตุลาคม ๒๕๔๔
No Comments
Comments are closed.