…ความมีกัลยาณมิตรและเป็นกัลยาณมิตรนี้เป็นคุณสมบัติที่เราต้องการข้อแรกทีเดียว เราต้องตั้งเป้าหมายว่าทำอย่างไรจะให้ชุมชนหรือสังคมของเราเป็นชุมชนแห่งกัลยาณมิตร คือคนที่อยู่ในชุมชนทางวิชาการ เช่น มหาวิทยาลัยนั้น จะต้องเป็นกัลยาณมิตรต่อกัน คือ เป็นปัจจัยหรือสิ่งแวดล้อมแก่กันในทางที่เอื้อต่อกันในการศึกษา หรือในการพัฒนาทุกด้าน ครูก็เป็นปัจจัยเอื้อต่อการพัฒนาชีวิตของลูกศิษย์ ครูอาจารย์เองด้วยกันและลูกศิษย์ต่อลูกศิษย์ด้วยกันก็เป็นปัจจัยเอื้อต่อกัน ผู้บริหารก็เป็นปัจจัยเอื้อต่อการเจริญงอกงามของครูอาจารย์และของทุกคนในชุมชน…
สารบัญ — เพื่อชุมชนแห่งการศึกษา และบรรยากาศแห่งวิชาการ (คุณธรรมของครูอาจารย์และผู้บริหาร)
– ๑ – จิตใจของนักวิชาการ
- วิชาการต้องมีชีวิตชีวา จึงจะมีการแสวงปัญญาอย่างแท้จริง
- ศรัทธาสร้างความมีชีวิตชีวาให้แก่วิชาการ
- ศรัทธาเป็นไฟชนวนในกระบวนการพัฒนาปัญญา
- ความใฝ่รู้คือรุ่งอรุณของการพัฒนาปัญญา
- เมื่อการศึกษาที่แท้เดินหน้า ความสุขก็พัฒนาตามไป
- เมื่อคนใฝ่เสพ งานคือทุกข์ เพราะต้องทำ เมื่อคนใฝ่สร้างสรรค์ งานคือสุข เพราะสมใจที่ได้ทำ
- เอาความจริงของธรรมชาติมาใช้ การพัฒนาคนก็อยู่ไม่ไกล
- เมื่อการศึกษาถูกหลักสิกขา ปัญญาก็พัฒนาคู่มากับคุณธรรม
- เมื่อฉันทะและศรัทธาในใจทำให้คนมีชีวิตชีวา สังคมก็มีบรรยากาศทางวิชาการ และงานทุกอย่างก็มีผลเลิศ
- จะเอาดีแค่ตามฝรั่ง หรือจะรู้จักฝรั่งทั้งส่วนที่ร้ายและที่ดี
- เมื่อขาดฉันทะ นอกจากสร้างสรรค์ไม่ได้ ตัณหาก็จะเข้ามาทำลายและก่อปัญหา
- จากฉันทะต่อทุกสิ่ง สู่เมตตากรุณาต่อทุกคน
- ทุกข์นั้นเพื่อรู้ทัน จะได้จัดการถูกที่ สุขนี้เพื่อให้มีสภาพคล่องในการสร้างสรรค์
– ๒ – ความเป็นอยู่อย่างนักวิชาการ
- สันโดษคือฐานชีวิตของนักวิชาการ สันโดษสร้างโอกาสแก่งานศึกษาและสร้างสรรค์
- คนไม่สันโดษ เวลาที่จะเอาให้แก่ตัวเองก็ยังไม่พอ จะเอาอะไรมาให้แก่ศิษย์ แก่งาน หรือแก่สังคม
- ถ้าสันโดษถูกต้อง ก็จะไม่สันโดษได้เต็มที่ เมื่อสันโดษดีแล้ว ไม่สันโดษก็ยิ่งดีเต็มที่
- เมื่อจัดสรรความเป็นอยู่ลงตัวดีด้วยสันโดษแล้ว ก็พร้อมที่จะก้าวแน่วไปในทางของงานและการสร้างสรรค์
- ถึงจะมีคุณสมบัติที่ดี เมื่อใช้ไม่เป็น ก็ถ่วงพัฒนา แต่ถ้าใช้เป็น ก็ยิ่งมองเห็นทางเจริญก้าวหน้า
- ศึกษาจุดที่พลาดให้ชัดแล้วแก้ไข สังคมไทยก็จะพัฒนาได้อย่างยั่งยืน
– ๓ – ความสัมพันธ์ในชุมชนทางวิชาการ
- เมตตากรุณาแม้จะดีมาก แต่ไม่พอที่จะทำชีวิตและสังคมให้ดีจริง
- ถ้าขาดอุเบกขา แม้แต่พ่อแม่ที่รักลูกมาก ก็อาจจะใช้ความรักนั้นทำลายลูกโดยไม่รู้ตัว
- “รัก” ต้องมี “รู้” มาเข้าคู่ให้สมดุล
- สังคมทุกระดับ ตั้งแต่ครอบครัว มักพัฒนาอย่างเสียดุล เพราะขาดบูรณาการ
- เมื่อคนศึกษาและช่วยกันให้ศึกษาอย่างมีชีวิตชีวา ชุมชนจึงจะมีบรรยากาศแห่งวิชาการ
- ความเป็นกัลยาณมิตรของครูอาจารย์และผู้บริหาร คือสาระของการสร้างชุมชนแห่งการศึกษา
- การปกครองที่แท้ คือเครื่องมือของการศึกษา
- จะตั้งชุมชนแห่งการศึกษา ต้องสถาปนาระบบกัลยาณมิตรให้ได้
- วินัยคือการจัดสรรโอกาส การจัดสรรโอกาสสัมฤทธิ์ผล เมื่อคนมีศีล
- คุณสมบัติสำคัญของผู้ร่วมสร้างชุมชนแห่งการศึกษา และพัฒนาบรรยากาศแห่งวิชาการ
No Comments
Comments are closed.