ปรัชญาการศึกษาไทย

1 มีนาคม 2518

ถ้ามีใครถามว่า จะศึกษาไปเพื่ออะไร ก็เห็นจะตอบได้ง่ายๆ ว่า ศึกษาเพื่อประโยชน์แก่ชีวิต คำตอบนี้แม้จะกว้างสักหน่อยแต่เป็นคำตอบที่ไม่ผิด และช่วยเน้นสาระสำคัญให้เห็นว่าการศึกษาเป็นเรื่องของชีวิต และทำเพื่อประโยชน์แก่ชีวิตนั่นเอง ชีวิตมีจุดมุ่งหมายอย่างไร การศึกษาก็เพื่อให้ถึงจุดหมายอย่างนั้น หมายความว่า จุดหมายของการศึกษาเป็นสิ่งเดียวกับจุดหมายของชีวิต

ข้อมูลพัฒนาการหนังสือ

  • พิมพ์ครั้งแรก (๒๕๑๘) จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์เคล็ดไทย ได้นำเอาคำบรรยายในการประชุมทางวิชาการเรื่อง “พระพุทธศาสนากับการศึกษาในประเทศไทย” ณ ห้องประชุมหอสมุดแห่งชาติ วันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๑๓ รวมอยู่ในเล่มโดยจัดอยู่ในภาคผนวกในเล่มด้วย
  • พิมพ์ครั้งที่ ๒ (๒๕๒๕) จัดพิมพ์โดย มูลนิธิโกมลคีมทอง ในชื่อ “ปรัชญาการศึกษาไทย” (เรียกให้ตรงแท้ว่า “ปรัชญาการศึกษาสำหรับไทย”) มีเนื้อหาหลายส่วน ต่างจากที่จัดพิมพ์ครั้งแรก (๒๕๑๘) เพราะได้ตัดเอาคำบรรยาย และบทความที่ไม่เกี่ยวกับปรัชญาการศึกษาออกทั้งมหด และได้นำคำบรรยายอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษาเฉพาะในด้านศาสนธรรมมาเพิ่มเข้า และเข้ากับชื่อหนังสือว่า “ปรัชญาการศึกษาไทย” มากยิ่งขึ้น
  • พิมพ์ครั้งที่ ๓ (กรกฎาคม ๒๕๒๘) จัดพิมพ์โดย กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ
  • ปัจจุบัน
    – บทที่ ๑, ๒, ๓ และ ๖ ได้รับการจัดพิมพ์รวมเป็นเรื่องใหม่ชื่อว่า “ปรัชญาการศึกษาของไทย ภาค พุทธธรรม: แกนนำการศึกษา” และสารบัญด้านล่างนี้จะนำไปยังเนื้อหาของเรื่องนี้
    – บทที่ ๗ “ความคิด: แหล่งสำคัญของการศึกษา” มีการแยกพิมพ์เป็นเรื่องเดี่ยวอยู่ก่อนแล้ว และเนื้อหาส่วนใหญ่สรุปมาจากบทที่ ๑๘ ในหนังสือ “พุทธธรรม” หัวข้อเรื่อง “โยนิโสมนสิการ”
    – ภาคผนวก “พระพุทธศาสนากับการศึกษาในอดีต” มีการแยกพิมพ์เป็นเรื่องเดี่ยวอยู่ก่อนแล้ว

สารบัญ – ปรัชญาการศึกษาไทย

No Comments

Comments are closed.