กฐิน: บทฝึกวิถีชีวิตประชาธิปไตย บนฐานแห่งการให้และการร่วมมือ

6 พฤศจิกายน 2535
เป็นตอนที่ 5 จาก 16 ตอนของ

กฐิน: บทฝึกวิถีชีวิตประชาธิปไตย
บนฐานแห่งการให้และการร่วมมือ1

ขอเจริญพร ท่านรองเลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ พร้อมทั้งผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน

อาตมภาพขออนุโมทนา ในกุศลเจตนาของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ที่ได้ร่วมกับศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี และพุทธสมาคมจังหวัดสุพรรณบุรี ในการจัดสัมมนาครั้งนี้ ซึ่งแสดงถึงความมีจิตใจห่วงกังวล และมีความสนใจในการรักษาและสืบทอดประเพณีการทอดกฐิน ให้ประเพณีนี้เป็นไปอย่างถูกต้องตามความมุ่งหมายเดิมที่เป็นหลักการของพระพุทธศาสนา ซึ่งมีความหมายรวมไปถึงการปรับปรุงแก้ไขประเพณีในส่วนที่อาจจะเคลื่อนคลาดไปแล้วด้วย

ในเรื่องของประเพณีที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนานั้น การที่จะรักษาสืบทอด หรือปรับปรุงแก้ไข ข้อสำคัญจะต้องเข้าใจความมุ่งหมายและเจตนารมณ์ของตัวประเพณีนั้นเป็นข้อแรกก่อน นอกจากตัวความหมายที่เป็นสาระสำคัญแล้ว ก็จะต้องรู้จักรูปแบบของประเพณีนั้นด้วย

รูปแบบนี้แยกได้เป็น ๒ ส่วน คือ รูปแบบที่เป็นส่วนของเดิมอันเป็นพื้นฐาน และรูปแบบที่เป็นส่วนขยายเพิ่ม ตลอดจนพอกเข้ามาภายหลัง

ตอนก่อนหน้า/ตอนต่อไป<< — ๓. กฐิน— ความเป็นมาและเจตนารมณ์ของกฐิน >>

เชิงอรรถ

  1. สัมโมทนียกถา และคำกล่าวปิดการสัมมนา เรื่อง “กฐิน : ประเพณีที่เบี่ยงเบนไป” พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) แสดงในโอกาสที่สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ อัญเชิญกฐินพระราชทานไปทอด ณ วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร จ.สุพรรณบุรี เมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๓๕

No Comments

Comments are closed.