- ๑. เรื่องของชาวพุทธ — เทศกาลท้ายฝน
- — ๑. ปวารณา
- — ๒. ตักบาตรเทโว
- — ๓. กฐิน
- กฐิน: บทฝึกวิถีชีวิตประชาธิปไตย บนฐานแห่งการให้และการร่วมมือ
- — ความเป็นมาและเจตนารมณ์ของกฐิน
- — กฐินขยายผล กลายเป็นกิจกรรมของประชาชน
- — รักษาสาระและเจตนารมณ์ไว้ แล้วพัฒนาประเพณีให้มีประโยชน์ยิ่งขึ้นไป
- ความรู้เรื่องวัด – วัดคืออะไร?
- — วัดมีหน้าที่อย่างไร?
- — วัดเกิดขึ้นเมื่อไร?
- — วัดที่มีลักษณะเหมาะสมเป็นอย่างไร?
- — วัดเป็นสมบัติของใคร?
- — วัดมีบทบาทในสังคมไทยอย่างไร?
- — วัดมีฐานะและภาวะแตกต่างกันอย่างไร?
- ๒. หลักของชาวพุทธ
วัดที่มีลักษณะเหมาะสมเป็นอย่างไร?
พระราชดำริของพระเจ้าพิมพิสาร ซึ่งทรงหาสถานที่เหมาะสมให้เป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้านั้น แสดงลักษณะของวัดที่ดี ดังนี้
“พระผู้มีพระภาค จะพึงประทับอยู่ ณ ที่ไหนดีหนอ ซึ่งจะเป็นที่ไม่ไกลเกินไป และไม่ใกล้เกินไป จากชุมชนชาวบ้าน สะดวกแก่การคมนาคม เป็นที่ซึ่งประชาชนผู้ต้องประสงค์จะเข้าไปเฝ้าได้ กลางวันไม่พลุกพล่าน กลางคืนเงียบสงัด ปราศจากเสียงอึกทึก ไม่เซ็งแซ่จอแจ ควรเป็นที่ประกอบกิจของผู้ต้องการที่สงัด เหมาะสมแก่การแสวงวิเวก”1
สถานที่ซึ่งมีลักษณะเหมาะสมครบถ้วนตามพระราชดำรินี้ ก็คือ เวฬุวนอุทยาน จึงได้ตกลงพระทัยถวาย ดังได้กล่าวมา
ลักษณะสถานที่อันเหมาะสมที่จะเป็นวัด ตามพระราชดำริของพระเจ้าพิมพิสาร ซึ่งมีวัดเวฬุวันเป็นตัวอย่างนี้ ได้เป็นที่นิยมถือเป็นหลักเกณฑ์สำหรับกำหนดคุณสมบัติของวัดที่ดีสืบมา
มีข้อที่น่าสังเกตว่า วัดสำคัญๆ ทั้งหลายในสมัยพุทธกาล ล้วนเป็นอาราม คือ เป็นสวนประเภท วนะ หรือ วนอุทยานทั้งนั้น
อย่างไรก็ดี เวฬุวันที่เป็นวัดแรกนี้ เป็นแต่เพียงอาราม ไม่ปรากฏว่ามีวิหาร คืออาคารที่อยู่อาศัย ซึ่งสร้างถวายโดยเฉพาะดังนั้น พุทธานุญาตในเรื่องการสร้างวัดจึงยังไม่จบเพียงแค่นี้
ผู้ที่เป็นต้นคิดทำให้มีพุทธานุญาตในการสร้างอาคารวัดเป็นที่อยู่อาศัยของพระสงฆ์ ก็คือ เศรษฐีใหญ่ประจำเมืองราชคฤห์ นครหลวงของพระเจ้าพิมพิสารนั่นเอง
No Comments
Comments are closed.