…บางทีถ้าให้การศึกษาผิดพลาด อย่าว่าแต่จะสร้างสรรค์ต่อไปเลย แม้แต่อารยธรรมที่มีอยู่แล้วมนุษย์ก็ไม่สามารถได้รับประโยชน์ที่ควร จะได้จากอารยธรรมนั้น ซึ่งเป็นผลงานสร้างสรรค์ของบรรพบุรุษ และถ้าหนักกว่านั้นอาจจะถึงกับทำลายอารยธรรมนั้นเสียก็ได้…
…การศึกษาที่ยั่งยืน คือการศึกษาที่ถูกต้องสอดคล้องกับความเป็นจริงของธรรมชาติ แล้วทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน แล้วก็นำมาซึ่งอารยธรรมที่ยั่งยืนด้วย ก็คิดว่าจะต้องหันกลับมาสู่แนวความคิดที่ว่านี้ กล่าวคือ การพัฒนาความสามารถพิเศษของมนุษย์ ที่จะมาช่วยปรับระบบความสัมพันธ์ในการอยู่ร่วมกันในโลกทั้งหมดนี้ ให้เป็นไปในทางประสานเกื้อกูลแก่กันและกัน เป็นสุข ไร้การเบียดเบียน หรืออย่างน้อยเบียดเบียนกันน้อยลง…
สารบัญ
- เกริ่นนำ
- การศึกษา กับ อารยธรรม
- เมื่ออารยธรรมถึงยุคไอที บทบาทที่แท้ของครูจะต้องเด่นขึ้นมา
- การศึกษาต้องทำให้คนสามารถเรียนรู้ เพื่อทำข้อรู้ให้เป็นความรู้
- ปฏิรูปการศึกษา คือกลับไปหาธรรมชาติ ที่มนุษย์เป็นสัตว์แห่งการเรียนรู้
- “สังฆะ” คือชุมชนแห่งการศึกษา เพื่อพัฒนาให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้
- การศึกษาทำให้คนพัฒนาความสุขได้
- ก้าวสำคัญของการศึกษา คือการเกิดความสุขจากการสนองความใฝ่รู้
- ความสุขยิ่งเพิ่ม และการศึกษายิ่งก้าว เมื่อเด็กมีความใฝ่สร้างสรรค์
- เมื่อจิตสำนึกในการศึกษาเกิดขึ้น แม้แต่ความยากก็กลายเป็นความสุข
- “มองเชิงจุดหมาย” หรือ “มองเชิงปัจจัย” จุดตัดสินเทคโนโลยีเพื่อหายนะหรือเพื่อพัฒนา
- เมื่อใฝ่เสพ คนก็อ่อนแอลง ทุกข์ง่ายแต่สุขได้ยาก เมื่อใฝ่สร้างสรรค์ คนก็เข้มแข็งขึ้น สุขได้ง่ายและทุกข์ได้ยาก
- คนใฝ่เสพ มองเศรษฐกิจเป็นจุดหมาย คนใฝ่สร้างสรรค์ มองเศรษฐกิจและเทคโนโลยีเป็นปัจจัย
- เพราะมัวรอผลจากการดลบันดาล คนจึงอ่อนแอแพ้การแข่งขัน
- การศึกษาไม่เดินหน้า ทั้งชีวิตและสังคมไม่พัฒนา เพราะมัวหาความสุขจากสิ่งกล่อม
- การศึกษาที่ถูกต้องทำให้เกิดดุลยภาพในการพัฒนา ระหว่างความสามารถหาสิ่งบำเรอสุข กับความสามารถที่จะมีความสุข
- การศึกษาที่ดีช่วยให้คนมีวิธีที่จะรักษาอิสรภาพทางด้านความสุข
- การมีข้อมูลความรู้มาก ไม่เป็นเครื่องวัดความสำเร็จของการศึกษา
- จุดเริ่มและจุดปลายแห่งสัมฤทธิผลของการศึกษา
- ปฏิรูปการศึกษาที่แท้ต้องถึงขั้นปฏิรูปอารยธรรม
No Comments
Comments are closed.