- คำปรารภ
- ถาม ๒ ข้อ – ตอบยาวแยกหลายข้อ สีลัพพตปรามาส วินัย ดูใจ ฯลฯ
- ความหมายของสีลัพพตปรามาส
- พอใจจึงควรทำ ก็มี ไม่ต้องพอใจ แต่ใจเข้มแข็ง ควรจะทำ ก็มี สำคัญที่ฝึกตน โดยรู้จักใช้ปัญญา
- เมื่อปฏิบัติถูกชัดแน่แล้ว ก็เข้มแข็งจริงจังแน่วไปเลย
- วินัยมาช่วยให้ปฏิบัติธรรมได้จริง ย้ำให้ยิ่งต้องเข้มแข็งในการฝึก
- ดูใจ ขึ้นไปให้ถึงปัญญา ไม่ใช่ปล่อยใจให้จมอยู่ใต้สิ่งที่ดู
- พูดตักเตือนว่ากล่าว ไม่จำเป็นอะไรที่จะทำด้วยความโกรธ หวังดีก็เตือนได้
ถาม ๒ ข้อ – ตอบยาวแยกหลายข้อ
สีลัพพตปรามาส วินัย ดูใจ
ฯลฯ
พระเก่าถามพระพรหมคุณาภรณ์ที่กุฏิ
หลังอุโบสถ วันศุกร์ที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๗
ถาม
ระยะปีสองปีมานี้ ได้ยินพระบ้าง โยมบ้าง คุยกันเรื่องแนวการปฏิบัติที่มุ่งเน้นในเรื่องการดูจิตรักษาใจตัวเอง โดยไม่ต้องสนใจปฏิกิริยาของบุคคลที่มาเกี่ยวข้องสัมพันธ์ด้วย คำอธิบายของพระโยมเหล่านั้น ฟังแล้วเห็นว่าไม่น่าจะถูกต้อง ซึ่งหลักที่ได้ยินมา คือ
– การที่บุคคลตั้งใจทำกิจวัตรให้ตรงต่อเวลาอยู่เป็นประจำสม่ำเสมอนั้น จัดอยู่ในจำพวกสีลัพพตปรามาส อันเป็นกิเลส จึงไม่ควรกระทำ ที่ถูกคือ บุคคลควรจะทำกิจต่างๆ นั้นตามความพอใจ ไม่ใช่เพราะถูกกะเกณฑ์ หรือต้องทำเพราะเป็นระเบียบกติกาที่ตกลงร่วมกัน?
– เมื่อพบเห็นคนทำผิดกฎระเบียบ เราไม่ควรแสดงความโกรธ หรือพูดจาตักเตือนว่ากล่าว แต่เราควรรักษาใจตัวเองโดยการนิ่งเฉยเสีย เพราะถ้าเราโกรธ แล้วแสดงออกมาทางกายวาจา เท่ากับว่าเรากำลังประพฤติผิดศีล ขณะที่อีกฝ่ายแค่ประพฤติผิดวินัยเท่านั้น ใครจะทำผิดก็ชั่งเขา ให้รักษาจิตเราเอาไว้ก่อน?
(โดยนัยกลับกัน หากเราทำผิดกฎระเบียบ ก็ไม่ต้องใส่ใจว่าจะมีคนไม่พอใจหรือไม่ เขาจะดุด่าว่ากล่าวก็ชั่งเขา เพราะถือว่าเป็นเรื่องที่บุคคลอื่นจะต้องดูแลจิตของตัวเองไม่ให้เศร้าหมองขุ่นมัวเป็นอกุศล หน้าที่เราคือทำในสิ่งที่พอใจเท่านั้น)
หลักคิดข้างต้น ดูเหมือนว่าน่าจะถูกต้อง แต่ที่จริงยังครึ่งๆ กลางๆ ข้างๆ คูๆ และแฝงนัยของการพยายามหาแง่มุมที่คิดว่าชอบธรรมมากลบเกลื่อนความผิดตามสมมติ ฉะนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปฏิบัติตามการตีความธรรมวินัยที่ผิดเพี้ยนนี้ จึงใคร่กราบขอความเมตตาจากท่านเจ้าคุณอาจารย์ ได้ให้แนวทางที่ถูกต้องด้วย
No Comments
Comments are closed.