จากจิตวิทยา สู่จิตภาวนา

24 สิงหาคม 2534

…สภาพชีวิตจิตใจของคนในสังคมอเมริกันปัจจุบัน มีสถานภาพที่เป็นปัญหาสำคัญ เนื่องจากบุคคลไม่ได้รับการสนองความต้องการพื้นฐานทั้ง ๓ อย่าง คือ ความต้องการความหมาย (Need for community, structure and meaning) โดยมีอาการแห่งความทุกข์แบบต่างๆ ปรากฎออกมา…

…ประการที่ ๑ คือ มีความรู้สึกว้าเหว่โดดเดี่ยว…
..วิธีแก้ปัญหาสำหรับคนที่อ้างว้างว้าเหว่โดดเดี่ยว ที่ได้พูดออกมาเป็นตัวอย่างนั้น ว่าโดยสรุปแบบง่ายๆ สามารถใช้วิธีปฏิบัติที่แยกเป็น ๓ ขั้นตอน คือ

คนอื่นในสังคมที่เป็นคนเต็มภายในแล้ว มาช่วยเป็นกัลยาณมิตรแก่เขา หรือสังคมเป็นกัลยาณมิตร ในขั้นนี้เขายังมีความพึ่งพาผู้อื่นอยู่มาก

ตัวเขาเองรู้จักเลือกหากัลยาณมิตร คือรู้จักคบคน หรือแหล่งที่เป็นกัลยาณมิตร ในขั้นนี้เขาเริ่มรู้จักพึ่งตนเอง และมีทิศทางที่แน่นอน

บุคคลนั้นรู้จักคิดรู้จักพิจารณาด้วยตนเอง เป็นอยู่อย่างรู้เข้าใจเท่าทันโลกและชีวิต ในขั้นนี้เขาเป็นอิสระพึ่งตนเองได้แล้ว

 

สารบัญ – จากจิตวิทยา สู่จิตภาวนา

จากจิตวิทยาสู่จิตภาวนา
– ๑ – จุดบรรจบที่แฝงความแตกต่าง
– ๒ – ความแตกต่างที่ต้องนำมาบรรจบ
– ๓ – จากจิตวิทยา จบที่ปัญญาภาวนา
เชิงอรรถ
บันทึกนำ

No Comments

Comments are closed.