องค์ประกอบภายในทางจิตใจที่มนุษย์มีเป็นพิเศษ ต่างจากชีวิตแบบอื่นๆ และทำให้มนุษย์มีคุณลักษณะความสามารถเป็นพิเศษเหนือกว่าชีวิตอื่นๆ นั้น ก็คือกุศลธรรม ที่เรียกว่าสติปัญญา ส่วนการเล่าเรียน ฝึกฝน อบรม เพื่อนำสติปัญญาที่มีอยู่มาใช้ให้เป็นประโยชน์ และทำให้แก่กล้ายิ่งขึ้น ก็คือ กระบวนการที่เรียกว่า การศึกษา ถ้ามนุษย์ปราศจากองค์ประกอบที่เรียกว่าสติปัญญา และขาดกระบวนการที่เรียกว่าการศึกษานี้เสียแล้ว ชีวิตมนุษย์ก็จะอยู่ใต้อำนาจครอบงำของปัจจัยแวดล้อมทั้งหลาย และหมุนเวียนอยู่ในวงจรสั้นๆ แคบๆ ซ้ำซากชั่วชีวิตแล้วชีวิตเล่า เช่นเดียวกับชีวิตสัตว์อื่นๆ
สารบัญ – ปรัชญาการศึกษาของไทย ภาคพุทธธรรม: แกนนำการศึกษา (ภาคต้นของหนังสือ ปรัชญาการศึกษาของไทย)
ความหมายและความมุ่งหมายของการศึกษา
- องค์ประกอบของชีวิต เป็นสิ่งที่ต้องรับสืบทอดจากชีวิตด้วยกันต่อๆ มา
- ความเป็นไปของชีวิต ต้องขึ้นต่อปัจจัยภายนอก
- การศึกษามีวัตถุประสงค์ เพื่อทำให้ชีวิตเข้าถึงอิสรภาพ มีความเป็นใหญ่ในตัวเอง
- การเสวยผลของอิสรภาพเช่นนั้น มิใช่สิ่งที่มนุษย์ผู้เดียวจะกระทำ
การให้การศึกษาเพื่อจุดหมายของชีวิต
- อะไรเป็นจุดหมายของชีวิต หรือถามอีกอย่างหนึ่งว่า ชีวิตเกิดมาเพื่ออะไร
- ชีวิตที่มีจุดหมาย ก็คือชีวิตที่มีการศึกษา ควรตั้งคำถามใหม่ว่า ชีวิตควรอยู่เพื่ออะไรและอย่างไร
- จุดหมายของชีวิตก็คือ ความเป็นอยู่อย่างดีที่สุด อีกนัยหนึ่งคือ การมีอิสรภาพ
- การศึกษาเป็นกิจกรรมของชีวิต โดยชีวิต และเพื่อชีวิต ต้องมีความรู้ความเข้าใจ…ความเป็นจริง
- อิสรภาพในด้านที่สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ มีข้อแย้งสำคัญที่ควรพิจารณา
- อิสรภาพในด้านความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางสังคม มีข้อแย้งที่สำคัญ
- ดูเหมือนว่ามนุษย์จะไม่สามารถเข้าถึงอิสรภาพ เป็นปัญหาขั้นอับจนของมนุษย์…ปัญหานี้ มีคำตอบ
ข้อพิจารณาเกี่ยวกับ แนวคิดเรื่องปรัชญาการศึกษาไทย (มองจากแง่ของพุทธธรรม)
- ก. กระบวนการของการศึกษา
- ข. ความหมายและความมุ่งหมายของการศึกษา
- ค. พุทธธรรมที่เป็นสาระสำคัญของการศึกษา
พระพุทธศาสนาและการนำธรรมมาพัฒนาหลักสูตร
- การวิเคราะห์พุทธศาสนา
- แนวทางประยุกต์พุทธธรรมในด้านการศึกษา
- แนวความเข้าใจเกี่ยวกับไตรสิกขา
- องค์ประกอบที่จะช่วยให้เกิดไตรสิกขา
ตัดบางส่วนจากหนังสือ ปรัชญาการศึกษาไทย (พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘) แยกมาพิมพ์ในชื่อใหม่เมื่อ พฤษภาคม ๒๕๕๖
No Comments
Comments are closed.