- สังคมไทยกำลังใช้พระพุทธศาสนาเป็นที่ถ่ายทุกข์
- ชาวพุทธจะสอบผ่านหรือไม่ หรือไม่ได้แม้เพียงเป็นบทเรียน
- รู้หลักแล้ว ศาสนาอยู่ที่ตัวเรา ไม่ต้องเอาศาสนาไปแขวนไว้กับใคร
- เห็นกับตา ไม่ต้องถามว่าเชื่อไหม
- พึ่งศรัทธา เพื่อได้ปัญญาที่พาสู่อิสรภาพ
- สงฆ์และหลักการเป็นฐานของบุคคล บุคคลทำสงฆ์ให้งาม เพราะทำตามหลักการ
- สงฆ์และหลักการเป็นมาตรฐาน เพื่อรักษาประโยชน์สุขของแต่ละคน
- ส่วนตัวหมดกิเลสไร้ทุกข์ ส่วนรวมขวนขวายประโยชน์สงฆ์ พระอรหันต์คือแบบอย่าง ทั้งด้านชีวิตและสังคม
- ไม่ให้ความวิเศษหรือความดีพิเศษของบุคคล มารอนประโยชน์สงฆ์และขวางการพัฒนาประชาชน
- แยกให้ชัดระหว่าง พระอริยะ กับผู้วิเศษ
- ฤทธิ์ทำคนให้เป็นพระอรหันต์ไม่ได้
- เร่งคิด และทำให้สัมฤทธิ์ อย่ามัวนอนคอยฤทธิ์ จะผิดหลักชาวพุทธ
- นับถือพระโพธิสัตว์อย่างไร จึงจะไม่ผิดเพี้ยน
- แทนที่จะเสียสละทำความดีอย่างพระโพธิสัตว์ พอเห็นพระโพธิสัตว์เสียสละ ก็เลยไปขอความช่วยเหลือ
- พระโพธิสัตว์ทำความดี ด้วยมุ่งในปณิธาน พระอรหันต์ทำความดี เพราะเป็นธรรมดาที่ท่านจะทำ
- พระโพธิสัตว์เป็นยอดสุดของผู้ทำดีด้วยการยึดในความดี เหนือกว่านี้ คือพระอรหันต์ผู้ทำความดีเพราะได้เข้าถึงธรรม
- พระ ถ้ามองอย่างพราหมณ์ กลายเป็นเจ้าพิธี แต่จะให้ดี มองอย่างพุทธ คือเป็นผู้ให้ธรรม
- วาสนาดีไม่ยาก มิใช่จะต้องรอจากฟากฟ้าที่ไหน ก็แค่หมั่นฝึกทำอะไรที่ดีๆ ให้ชินไปจนเป็นธรรมดา
- จะก้าวหน้าดีในการปฏิบัติ เมื่อเอาพรตเอาวัตรมาเสริมศีล
- จะพัฒนาได้ผลดี ต้องเป็นคนมีปณิธาน
- บทพิเศษ ๑
- บทพิเศษ ๒
- ภาคผนวก
- บันทึกประกอบ ในการพิมพ์ครั้งที่ ๒๐
พระโพธิสัตว์ทำความดี ด้วยมุ่งในปณิธาน
พระอรหันต์ทำความดี เพราะเป็นธรรมดาที่ท่านจะทำ
ตกลงว่า พระโพธิสัตว์เป็นแบบอย่างแก่เรา เราจะต้องเอาอย่างพระโพธิสัตว์ ตั้งปณิธานในการทำความดีให้เป็นไปตามคติพระโพธิสัตว์ที่ถูกต้อง
แต่อย่างไรก็ตาม พระโพธิสัตว์ก็มีจุดอ่อนหรือข้อบกพร่อง เป็นข้อหย่อนข้อขาดไป ๒ อย่าง
อ้าว! เรารู้กันว่าพระโพธิสัตว์นี่ดีมาก ต่อไปจะเป็นพระพุทธเจ้า ท่านบำเพ็ญเพียรเต็มที่ ช่วยเหลือคนอื่นอย่างเดียว พระโพธิสัตว์ดีขนาดนี้ ทำไมเราจึงไม่นับถือสูงสุดอย่างพระพุทธเจ้า ทำไมจึงว่าพระโพธิสัตว์มีจุดอ่อนสำคัญ ๒ ประการ
จุดอ่อนหรือข้อหย่อนอะไร ๒ ประการ (ในแง่ที่เกี่ยวกับการทำความดี)
๑. พระโพธิสัตว์ ที่ทำความดีนั้น ท่านทำด้วยปณิธาน ทำดีด้วยตั้งใจบำเพ็ญบารมี โดยตั้งเป้าหมายจะบรรลุธรรมสูงสุด
พระโพธิสัตว์ต้องการบรรลุนิพพาน ต้องการเป็นพระพุทธเจ้า ต้องการจะหลุดพ้น จึงต้องบำเพ็ญคุณความดีเหล่านั้น โดยตั้งปณิธานคือตั้งใจมั่นคงว่าจะเพียรบำเพ็ญคุณความดีเหล่านั้น แล้วก็อยู่ด้วยปณิธาน
ปณิธานของพระโพธิสัตว์นั้นเข้มแข็งยิ่งนัก ขนาดสละชีวิตเพื่อผู้อื่นได้ แต่รวมแล้วก็คือทำด้วยปณิธาน ต่างจากพระอรหันต์เช่นพระพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าก็เป็นพระอรหันต์) พระอรหันต์ทั้งหลายนั้นทำความดีโดยไม่ต้องอาศัยปณิธาน แต่ท่านทำความดีโดยเป็นธรรมชาติของท่านอย่างนั้นเอง จุดต่างกันอยู่ตรงนี้
พระโพธิสัตว์ต้องอาศัยปณิธาน ตั้งแต่เริ่มต้นเลย มุ่งหมายจะเป็นพระพุทธเจ้า ก็ตั้งปณิธาน จากนั้นก็ทำความดีและอยู่ด้วยปณิธานเรื่อยไป พระโพธิสัตว์มุ่งมั่นแน่วแน่ในเป้าหมาย มีความเข้มแข็ง จิตมีพลังแรงมากในการที่จะทำให้สำเร็จตามปณิธานนั้น
แต่พระอรหันต์เป็นผู้บรรลุประโยชน์ตนแล้ว ไม่มีอะไรจะต้องทำเพื่อตนเองอีก เพราะฉะนั้นการกระทำเพื่อผู้อื่นจึงเป็นธรรมชาติของท่าน ท่านทำความดีอย่างเป็นไปเอง
พระพุทธเจ้าทรงพ้นจากภาวะที่ถือปณิธานแล้ว เพราะฉะนั้นพระองค์จึงทำความดีคือการไปโปรดไปช่วยสรรพสัตว์อย่างเต็มที่ เพราะพระองค์ไม่ต้องทำอะไรให้พระองค์เอง ไม่มีอะไรที่จะต้องทำให้ตัวเองแล้ว ท่านจึงเรียกว่าเป็นผู้บรรลุประโยชน์ตนแล้ว ไม่มีอะไรที่ต้องทำเพื่อตนเองอีกต่อไป แม้กระทั่งเพื่อจะเป็นพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น ชีวิตที่มีอยู่นี่จะทำอะไร ก็ทำสิ่งที่ควรทำที่เป็นประโยชน์ คือบำเพ็ญประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น แก่สังคม แก่ประชาชาวโลก และท่านก็ทำของท่านเรื่อยไปโดยไม่มีเรื่องอะไรอื่นที่จะต้องทำ นี่คือลักษณะของพระอรหันต์
พระอรหันต์ต่างกับพระโพธิสัตว์ตรงนี้ ตรงที่ว่าทำความดี บำเพ็ญประโยชน์โดยธรรมชาติของท่านเอง ไม่ต้องอาศัยปณิธาน แต่พระโพธิสัตว์ต้องใช้ปณิธาน
No Comments
Comments are closed.