- คำนำ
- ปรัชญาการศึกษา ตามหลักพระพุทธศาสนา (มองจากภาคปฏิบัติ)
- — การศึกษาพุทธศาสนา บนพื้นฐานของความรู้แบบตะวันตก
- — หน้าที่ ๒ อย่างของครู
- — ความรู้ประเภทที่ ๑ : สุตศิลปหรือความรู้ที่เป็นอุปกรณ์
- — การศึกษาเริ่มต้นเมื่อคนเริ่มคิด
- — การคิดอย่างเสรี
- — ตัวอย่างจุดเริ่มต้นของความคิด ในด้านความสัมพันธ์กับวัตถุธรรม
- — ตัวอย่างจุดเริ่มต้นของความคิด ในด้านความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางสังคม
- — สรุปจุดเริ่มของความคิด หรือการมองความหมายและการตีค่า ๒ แบบ
- — ความรู้ประเภทที่ ๒ : ปัญญาหรือความรู้ที่เป็นตัวการศึกษา
- — อวิชชา – ตัณหา – อัตตา
- — การสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมฝ่ายวัตถุธรรม โดยวิถีทางของปัญญา
- — การสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางสังคม โดยวิถีทางของปัญญา
- — ปัญญาพ่วงด้วยกรุณาในจิตที่มีอิสรภาพ
- — กัลยาณมิตร จุดชนวนความคิด คือให้การศึกษา
- — การจัดการกับตัณหา
- — การศึกษากับแรงจูงใจ
- — ตัวอย่างต่างๆ ของกามฉันทะกับธรรมฉันทะ
- — ตัวอย่างของกามฉันทะและธรรมฉันทะ กับการปฏิบัติคุณธรรมทางสังคม
- — เสรีภาพที่แท้จริงมีอิสรภาพที่แท้เป็นพื้นฐาน
- — พุทธิศึกษาและจริยศึกษา กับ สุตศึกษาและศิลปศึกษา
- — พลศึกษาต้องหยั่งรากลงถึงจิตใจด้วย
- พระพุทธศาสนา กับการพัฒนาการศึกษา
- — ความผิดพลาดของการศึกษาเท่าที่ผ่านมา
- — ปัญหาเกี่ยวกับความหมายและความมุ่งหมายของการศึกษา
- — ความหมายของคำบัญญัติในทางการศึกษา
- — พระพุทธศาสนากับการพัฒนาการศึกษาในแง่เนื้อหาสาระ
- — ความซื่อตรงต่อกฎธรรมชาติ
- — คุณค่าแท้ คุณค่าเทียม
- — ปัญหาเกี่ยวกับแรงจูงใจ
- — ปัญญากับอิสรภาพ และกรุณา
- — หลักยืนของการศึกษาที่แท้
- — การศึกษากับประชาธิปไตย
- — ศิษย์ในฐานะที่เป็นผลผลิตและที่พิสูจน์สัมฤทธิผลของการศึกษา
การศึกษาพุทธศาสนา
บนพื้นฐานของความรู้แบบตะวันตก
ในการพูดนี้ อาตมาคิดว่าจะมีข้อเสียเปรียบเล็กน้อย คือในสมัยปัจจุบันนี้ เรารู้สึกตื่นเต้น เรารู้สึกสนใจในคำศัพท์แสงที่เป็นภาษาตะวันตก และเนื้อหาวิชาแบบตะวันตก ทีนี้วิชาที่อาตมาพูด เป็นเรื่องฝ่ายพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นพื้นบ้านของเราเอง คำศัพท์ต่างๆ ก็รู้สึกเก่าๆ พูดขึ้นมาแล้วก็อาจจะไม่กระตุ้นความสนใจเท่าที่ควร อันเป็นข้อเสียเปรียบประการหนึ่ง แต่ก็ทำใจไว้ก่อนว่าวันนี้เราจะมาศึกษา หันมามองดูในสิ่งที่เราเรียกว่าเก่าๆ สิ่งเก่าๆ จะมีเนื้อหาสาระที่ควรแก่ความสนใจอย่างไรบ้าง หรือนอกจากความเก่าแล้วจะมีแง่คิดที่ยังใหม่อย่างไรหรือไม่ หมายความว่าเรากำลังจะมองกลับมาค้นหาสิ่งที่ดีภายในของเราเอง ที่มีอยู่แล้ว
และเป็นที่น่าสังเกตว่าในยุคนี้ ได้มีความสนใจที่จะหันกลับมาสู่การแสวงหาภายในสิ่งที่เรามีอยู่กันบ้างแล้ว พระพุทธศาสนานี้ก็เป็นจุดสนใจอันหนึ่งที่นักปรัชญาการศึกษาบ้าง นักวิชาการด้านอื่นเช่น สังคมวิทยาบ้าง หันมาสนใจ แต่น่าสังเกตว่าความสนใจเหล่านี้มักจะเริ่มด้วยการจับเนื้อหาไปเปรียบเทียบกับวิชาการฝ่ายตะวันตก หรือพิจารณาโดยยึดเอาความรู้ของฝ่ายตะวันตกเป็นหลัก
ทีนี้พูดเฉพาะในแง่การศึกษา ผู้ที่มองพระพุทธศาสนาและนำหลักการในทางพระพุทธศาสนามาใช้ ก็มักจะเริ่มต้นด้วยการยกเอาปรัชญาของตะวันตกขึ้นมาเป็นหลักเปรียบเทียบ หรือมองพระพุทธศาสนาจากพื้นความรู้ของฝ่ายตะวันตก และก็เริ่มจากหลักการของฝ่ายตะวันตกนั้น นำเอาพระพุทธศาสนามาเปรียบเทียบว่า พระพุทธศาสนามีหลักการในทางปรัชญาอย่างนั้นบ้างหรือไม่ หรือมีส่วนคล้ายคลึงกันหรือไม่ เมื่อเปรียบแล้วเห็นว่าเข้ากันได้ หรือคล้ายคลึงกัน ก็ดีใจ อย่างนี้เป็นต้น
อันนี้เป็นข้อพิจารณาอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า นักวิชาการของเรารู้วิชาการของตะวันตกมากกว่าความรู้พื้นบ้าน หรือความรู้เรื่องของตนเอง และถึงอย่างไรเราก็ยังติดยังนิยมความรู้ของฝ่ายตะวันตกอยู่ อย่างไรก็ตาม การที่เกิดมีความสนใจของเก่า หรือของที่เรามีเองแล้ว และเริ่มศึกษากันขึ้นมาบ้างเช่นนี้ ก็ต้องนับว่าเป็นนิมิตดีอย่างหนึ่ง ทำให้มองเห็นทางที่จะรู้จักตัวเอง มีทางที่จะแก้ปัญหาของตนเองได้ดีขึ้น และสิ่งที่มีค่าในถิ่นของตนเองจะได้รับการขุดค้นขึ้นมาใช้ประโยชน์ ท่านที่ริเริ่มทำเช่นนี้ ถึงจะยังบกพร่องบ้างหรือยังเข้ามุมไม่ถูกก็ควรแก่การอนุโมทนาอยู่ดี
No Comments
Comments are closed.