- คำนำ
- ปรัชญาการศึกษา ตามหลักพระพุทธศาสนา (มองจากภาคปฏิบัติ)
- — การศึกษาพุทธศาสนา บนพื้นฐานของความรู้แบบตะวันตก
- — หน้าที่ ๒ อย่างของครู
- — ความรู้ประเภทที่ ๑ : สุตศิลปหรือความรู้ที่เป็นอุปกรณ์
- — การศึกษาเริ่มต้นเมื่อคนเริ่มคิด
- — การคิดอย่างเสรี
- — ตัวอย่างจุดเริ่มต้นของความคิด ในด้านความสัมพันธ์กับวัตถุธรรม
- — ตัวอย่างจุดเริ่มต้นของความคิด ในด้านความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางสังคม
- — สรุปจุดเริ่มของความคิด หรือการมองความหมายและการตีค่า ๒ แบบ
- — ความรู้ประเภทที่ ๒ : ปัญญาหรือความรู้ที่เป็นตัวการศึกษา
- — อวิชชา – ตัณหา – อัตตา
- — การสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมฝ่ายวัตถุธรรม โดยวิถีทางของปัญญา
- — การสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางสังคม โดยวิถีทางของปัญญา
- — ปัญญาพ่วงด้วยกรุณาในจิตที่มีอิสรภาพ
- — กัลยาณมิตร จุดชนวนความคิด คือให้การศึกษา
- — การจัดการกับตัณหา
- — การศึกษากับแรงจูงใจ
- — ตัวอย่างต่างๆ ของกามฉันทะกับธรรมฉันทะ
- — ตัวอย่างของกามฉันทะและธรรมฉันทะ กับการปฏิบัติคุณธรรมทางสังคม
- — เสรีภาพที่แท้จริงมีอิสรภาพที่แท้เป็นพื้นฐาน
- — พุทธิศึกษาและจริยศึกษา กับ สุตศึกษาและศิลปศึกษา
- — พลศึกษาต้องหยั่งรากลงถึงจิตใจด้วย
- พระพุทธศาสนา กับการพัฒนาการศึกษา
- — ความผิดพลาดของการศึกษาเท่าที่ผ่านมา
- — ปัญหาเกี่ยวกับความหมายและความมุ่งหมายของการศึกษา
- — ความหมายของคำบัญญัติในทางการศึกษา
- — พระพุทธศาสนากับการพัฒนาการศึกษาในแง่เนื้อหาสาระ
- — ความซื่อตรงต่อกฎธรรมชาติ
- — คุณค่าแท้ คุณค่าเทียม
- — ปัญหาเกี่ยวกับแรงจูงใจ
- — ปัญญากับอิสรภาพ และกรุณา
- — หลักยืนของการศึกษาที่แท้
- — การศึกษากับประชาธิปไตย
- — ศิษย์ในฐานะที่เป็นผลผลิตและที่พิสูจน์สัมฤทธิผลของการศึกษา
สรุปจุดเริ่มของความคิด
หรือการมองความหมายและการตีค่า ๒ แบบ
เท่าที่กล่าวมานี้ ก็เป็นตัวอย่างต่างๆ ทีนี้เราลองมาวิเคราะห์กันว่า ในการเริ่มเดินสายความคิด หรือการมองความหมายและตีค่าเหล่านี้ เราแบ่งประเภทใหญ่ๆ ได้อย่างไรในแง่ของพระพุทธศาสนา ตอบได้ว่ามี ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ
ประเภทที่ ๑ ได้แก่การมองความหมาย และตีค่าของสิ่งต่างๆ โดยวิถีของอวิชชาและตัณหา
ประเภทที่ ๒ ได้แก่การมองความหมาย และตีค่าของสิ่งต่างๆ โดยวิถีของปัญญา
สองอย่างนี้แหละเป็นจุดเริ่มต้น และเป็นทางแยกของการศึกษากับไม่ใช่การศึกษา หรือจะเรียกว่าการศึกษาที่ถูกต้องกับการศึกษาที่ผิดก็ได้
อนึ่ง คำว่าตีค่าในที่นี้ ใช้ในความหมายที่ครอบคลุมทั้งการมองเห็น การคิดหา และการคิดให้ถึงคุณค่า การตีค่าก็ดี ตัวคุณค่าก็ดี ย่อมสัมพันธ์กับความต้องการ คุณค่าบางอย่างเป็นคุณค่าที่ชีวิตต้องการอย่างแท้จริง เป็นไปเพื่อการแก้ปัญหาของชีวิต แต่บางคราวและบางคนมองไม่เห็นหรือไม่มองเลย คุณค่าของบางสิ่งมีหลายด้าน บางคนมองหาหรือคิดหาเฉพาะในด้านหรือในแง่ที่สนองความต้องการในรูปหนึ่งของตน คุณค่าบางอย่างของบางสิ่งไม่ปรากฏอยู่เลย แต่บางคนคิดให้แก่สิ่งนั้นๆ ได้ ในเมื่อมีความต้องการบางอย่างเกิดขึ้น
ดังนั้น จึงมีคุณค่าบางอย่างที่มีอยู่โดยไม่ขึ้นต่อความต้องการบางอย่าง คุณค่าบางอย่างมีหรือไม่มี และเป็นไปในรูปใดเท่าใด โดยขึ้นต่อความต้องการบางอย่าง ความต้องการเองก็มีทั้งที่เป็นความต้องการของชีวิตแท้ๆ และความต้องการอันดับรองที่พอกเสริมขึ้นมา เรื่องทั้งหมดนี้สัมพันธ์กับ อวิชชา ตัณหา และ ปัญญา ทั้งสิ้น
No Comments
Comments are closed.