- คำนำ
- ปรัชญาการศึกษา ตามหลักพระพุทธศาสนา (มองจากภาคปฏิบัติ)
- — การศึกษาพุทธศาสนา บนพื้นฐานของความรู้แบบตะวันตก
- — หน้าที่ ๒ อย่างของครู
- — ความรู้ประเภทที่ ๑ : สุตศิลปหรือความรู้ที่เป็นอุปกรณ์
- — การศึกษาเริ่มต้นเมื่อคนเริ่มคิด
- — การคิดอย่างเสรี
- — ตัวอย่างจุดเริ่มต้นของความคิด ในด้านความสัมพันธ์กับวัตถุธรรม
- — ตัวอย่างจุดเริ่มต้นของความคิด ในด้านความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางสังคม
- — สรุปจุดเริ่มของความคิด หรือการมองความหมายและการตีค่า ๒ แบบ
- — ความรู้ประเภทที่ ๒ : ปัญญาหรือความรู้ที่เป็นตัวการศึกษา
- — อวิชชา – ตัณหา – อัตตา
- — การสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมฝ่ายวัตถุธรรม โดยวิถีทางของปัญญา
- — การสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางสังคม โดยวิถีทางของปัญญา
- — ปัญญาพ่วงด้วยกรุณาในจิตที่มีอิสรภาพ
- — กัลยาณมิตร จุดชนวนความคิด คือให้การศึกษา
- — การจัดการกับตัณหา
- — การศึกษากับแรงจูงใจ
- — ตัวอย่างต่างๆ ของกามฉันทะกับธรรมฉันทะ
- — ตัวอย่างของกามฉันทะและธรรมฉันทะ กับการปฏิบัติคุณธรรมทางสังคม
- — เสรีภาพที่แท้จริงมีอิสรภาพที่แท้เป็นพื้นฐาน
- — พุทธิศึกษาและจริยศึกษา กับ สุตศึกษาและศิลปศึกษา
- — พลศึกษาต้องหยั่งรากลงถึงจิตใจด้วย
- พระพุทธศาสนา กับการพัฒนาการศึกษา
- — ความผิดพลาดของการศึกษาเท่าที่ผ่านมา
- — ปัญหาเกี่ยวกับความหมายและความมุ่งหมายของการศึกษา
- — ความหมายของคำบัญญัติในทางการศึกษา
- — พระพุทธศาสนากับการพัฒนาการศึกษาในแง่เนื้อหาสาระ
- — ความซื่อตรงต่อกฎธรรมชาติ
- — คุณค่าแท้ คุณค่าเทียม
- — ปัญหาเกี่ยวกับแรงจูงใจ
- — ปัญญากับอิสรภาพ และกรุณา
- — หลักยืนของการศึกษาที่แท้
- — การศึกษากับประชาธิปไตย
- — ศิษย์ในฐานะที่เป็นผลผลิตและที่พิสูจน์สัมฤทธิผลของการศึกษา
การสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมฝ่ายวัตถุธรรม
โดยวิถีทางของปัญญา
การมองอีกแบบหนึ่ง คือการมองในวิถีทางของปัญญาเป็นอย่างไร คือการที่เราจะไม่หยุดความคิดแค่รูปลักษณ์เท่านั้น และเราจะไม่เอาความพอใจและไม่พอใจของเราเป็นเครื่องวินิจฉัย ไม่เดินความคิดตามวิถีทางของตัณหา แต่เราวิเคราะห์ความจริงในสิ่งนั้นต่อไปอีก ทำให้เราเข้าใจถึงองค์ประกอบ เหตุปัจจัย และความสัมพันธ์ของสิ่งเหล่านั้น เมื่อเรามองเห็นรูปลักษณ์คือ หน้าตาที่บึ้ง ไม่เบิกบานแล้ว ก็คิดสืบสาวว่านี้เป็นเพราะอะไร เขามีปัญหาอะไรหรือไม่ เป็นการวิเคราะห์ต่อไป ซึ่งจะทำให้เราเข้าถึงตัวปัญหาและนำไปสู่ความจริงได้
การที่เราจะใช้ปัญญานี้ก็คือเมื่อเราไปเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ได้กล่าวแล้วว่า สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับเรามี ๒ ประเภท คือ สิ่งแวดล้อมฝ่ายวัตถุธรรม พวกวัสดุอุปกรณ์เทคโนโลยี และของที่มีในธรรมชาติอะไรต่างๆ พวกนี้ประเภทหนึ่ง กับสิ่งแวดล้อมในทางสังคม จำพวกมนุษย์อีกประเภทหนึ่ง
ทีนี้ ปัญญาจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมทั้ง ๒ อย่างนี้อย่างไร ในแง่สิ่งแวดล้อมฝ่ายวัตถุธรรมนั้น เรามองความสัมพันธ์ในแง่ที่จะเอาประโยชน์จากสิ่งที่เราเข้าไปเกี่ยวข้อง คือมนุษย์เราเข้าไปสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและวัตถุธรรมต่างๆ นี้ เพื่อจะหาประโยชน์จากมัน การที่จะเอาประโยชน์จากมันก็คือ เราจะต้องมองเห็นคุณค่าอย่างใดอย่างหนึ่งของมัน คุณค่าของมันเราก็มองเห็นในรูป ๒ อย่างที่ว่ามาแล้ว คือคุณค่าที่สนองความต้องการของตัวชีวิตอย่างแท้จริง และคุณค่าในแง่สนองต่อความต้องการปรนเปรอ ซึ่งเรียกว่าความต้องการทางตัณหา
คุณค่าอย่างที่หนึ่งซึ่งมีต่อชีวิตของเราแท้ๆ ก็เช่น เรื่องอาหารที่เราเข้าไปเกี่ยวข้อง คือ รับประทานด้วยต้องการที่จะนำมาบำรุงร่างกายของเราให้มีสุขภาพพลานามัยดี มีความแข็งแรงสามารถทำงานและประกอบภารกิจในหน้าที่ได้ด้วยดี คุณค่าอย่างที่ ๒ ที่เราต้องการจากมัน คือ ความเอร็ดอร่อย ตลอดจนเครื่องประกอบ เช่น ความโก้หรูเป็นต้นด้วยแง่ที่ต้องการเพียงความเอร็ดอร่อย ตลอดจนถึงความโก้หรู เป็นแง่ของตัณหาและอวิชชา แง่ที่ต้องการคุณค่าที่มันมีอยู่อย่างแท้จริงต่อชีวิต เป็นแง่ของปัญญา อันนี้จะเป็นเครื่องวินิจฉัยต่อไป ในการที่เราเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมต่างๆ ในทางวัตถุธรรมว่าเกี่ยวข้องอย่างไร
No Comments
Comments are closed.