- คำนำ
- ปรัชญาการศึกษา ตามหลักพระพุทธศาสนา (มองจากภาคปฏิบัติ)
- — การศึกษาพุทธศาสนา บนพื้นฐานของความรู้แบบตะวันตก
- — หน้าที่ ๒ อย่างของครู
- — ความรู้ประเภทที่ ๑ : สุตศิลปหรือความรู้ที่เป็นอุปกรณ์
- — การศึกษาเริ่มต้นเมื่อคนเริ่มคิด
- — การคิดอย่างเสรี
- — ตัวอย่างจุดเริ่มต้นของความคิด ในด้านความสัมพันธ์กับวัตถุธรรม
- — ตัวอย่างจุดเริ่มต้นของความคิด ในด้านความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางสังคม
- — สรุปจุดเริ่มของความคิด หรือการมองความหมายและการตีค่า ๒ แบบ
- — ความรู้ประเภทที่ ๒ : ปัญญาหรือความรู้ที่เป็นตัวการศึกษา
- — อวิชชา – ตัณหา – อัตตา
- — การสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมฝ่ายวัตถุธรรม โดยวิถีทางของปัญญา
- — การสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางสังคม โดยวิถีทางของปัญญา
- — ปัญญาพ่วงด้วยกรุณาในจิตที่มีอิสรภาพ
- — กัลยาณมิตร จุดชนวนความคิด คือให้การศึกษา
- — การจัดการกับตัณหา
- — การศึกษากับแรงจูงใจ
- — ตัวอย่างต่างๆ ของกามฉันทะกับธรรมฉันทะ
- — ตัวอย่างของกามฉันทะและธรรมฉันทะ กับการปฏิบัติคุณธรรมทางสังคม
- — เสรีภาพที่แท้จริงมีอิสรภาพที่แท้เป็นพื้นฐาน
- — พุทธิศึกษาและจริยศึกษา กับ สุตศึกษาและศิลปศึกษา
- — พลศึกษาต้องหยั่งรากลงถึงจิตใจด้วย
- พระพุทธศาสนา กับการพัฒนาการศึกษา
- — ความผิดพลาดของการศึกษาเท่าที่ผ่านมา
- — ปัญหาเกี่ยวกับความหมายและความมุ่งหมายของการศึกษา
- — ความหมายของคำบัญญัติในทางการศึกษา
- — พระพุทธศาสนากับการพัฒนาการศึกษาในแง่เนื้อหาสาระ
- — ความซื่อตรงต่อกฎธรรมชาติ
- — คุณค่าแท้ คุณค่าเทียม
- — ปัญหาเกี่ยวกับแรงจูงใจ
- — ปัญญากับอิสรภาพ และกรุณา
- — หลักยืนของการศึกษาที่แท้
- — การศึกษากับประชาธิปไตย
- — ศิษย์ในฐานะที่เป็นผลผลิตและที่พิสูจน์สัมฤทธิผลของการศึกษา
หลักยืนของการศึกษาที่แท้
ในเรื่องการศึกษานี้ อาตมาจึงกล่าวว่า เราจะต้องเข้าถึงตัวแก่นแท้นี้ให้ได้ก่อน มิฉะนั้นแล้วระบบการต่างๆ จะหาหลักยืนไม่ได้ ขณะนี้เราให้ความหมายของการศึกษาอย่างกว้างขวาง แต่แล้วเราก็เอาใจใส่และเน้นกันอยู่เพียงแค่ระบบ รูปแบบ แบบแผน วิธีการ หรือองค์ประกอบภายนอก ซึ่งเราสร้างเสริมขึ้นมาเพื่อยังการศึกษาให้เป็นไป ไม่ค่อยเข้าถึงตัวการศึกษาที่แท้จริง
ถ้าขาดปัญญาที่แท้จริงแล้ว เราจะไม่มีทางเข้าถึงตัวการศึกษาที่แท้จริงได้เลย แต่ถ้าเข้าถึงความหมายที่แท้จริงแล้ว ตัววิธีการ ระบบ แบบแผน รูปแบบ ก็จะเริ่มต้นที่จุดอันถูกต้อง ปัญญาหรือการศึกษานั้น คงมิใช่แต่เพียงการรู้ข้อมูลข้อเท็จจริงอย่างกว้างขวางและความฉลาดในการทำมาหากินเท่านั้น เพราะถ้ามีความหมายแค่นั้นแล้วแม้แต่โจรวิทยา หรือวิชาโจรกรรม วิชาของขโมย ก็เป็นการศึกษาได้ เพราะในโจรวิทยาหรือวิชาโจรกรรมนั้น เขาก็ต้องสอนกันเหมือนกันว่า อะไรเป็นสิ่งมีค่า มีราคา อะไรเป็นสิ่งที่ไม่มีค่าไม่มีราคา กำหนดรู้ว่าคนเช่นไร เป็นคนที่มีเงิน คนเช่นไร เป็นคนไม่มีเงิน มีวิธีการอย่างไร จึงจะลักของของเขาให้แนบเนียนและรู้ถึงตลาดว่า ลักของสิ่งนี้มาแล้วจะต้องไปขาย ณ ที่ไหน จะแลกเปลี่ยนได้อย่างไร อย่างนี้เป็นต้น อันนี้จะถือว่าเป็นการศึกษาได้หรือ
เพราะฉะนั้นความรู้ประเภทนี้เป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้น ปัญญาที่แท้จริงจะต้องเป็นสัมมาทิฏฐิ มองเห็นความหมายและมีความคิดถูกต้องมาแต่ต้น แล้วดำเนินความคิดต่อไปในแนวทางที่ถูกต้อง เพราะฉะนั้น การวินิจฉัยว่า การศึกษาที่ทำมาถูกต้องเข้าถึงตัวการศึกษาที่แท้จริงหรือไม่ ก็อยู่ตรงนี้เอง เมื่อมีการศึกษาที่ถูกต้องอย่างนี้ มีปัญญาที่ถูกต้อง มีความกรุณาเกิดขึ้นเป็นรากฐานที่แท้จริงแล้ว
แม้แต่ความเข้าใจในเรื่องคุณค่าต่างๆ ว่า คุณค่าใดเป็นไปเพื่อสนองตัณหา คุณค่าใดเป็นไปเพื่อปัญญา เราก็จะวินิจฉัยได้ และความเป็นอยู่อย่างนี้เท่านั้น จะไม่เป็นปมซ้อนที่จะทำให้มนุษย์เรามาสร้างปัญหาแก่กัน หรืออย่างน้อยก็เป็นเครื่องเตือนสติไม่ให้เราเที่ยวหลงเพลิดเพลินก่อทุกข์แก่ตนเองและแก่ผู้อื่น นี้เป็นรากฐานเบื้องต้นของการศึกษา ซึ่งจะทำให้เราสามารถดำเนินชีวิตที่ดีงามและสามารถสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ อันเป็นไปเพื่อประโยชน์ทั้งแก่ตนและส่วนรวมทำให้เรารู้หลักในการดำเนินชีวิตที่ดี และเข้าไปมีชีวิตเกี่ยวข้องในสังคมอย่างดี อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยดี
No Comments
Comments are closed.