- คำนำ
- ปรัชญาการศึกษา ตามหลักพระพุทธศาสนา (มองจากภาคปฏิบัติ)
- — การศึกษาพุทธศาสนา บนพื้นฐานของความรู้แบบตะวันตก
- — หน้าที่ ๒ อย่างของครู
- — ความรู้ประเภทที่ ๑ : สุตศิลปหรือความรู้ที่เป็นอุปกรณ์
- — การศึกษาเริ่มต้นเมื่อคนเริ่มคิด
- — การคิดอย่างเสรี
- — ตัวอย่างจุดเริ่มต้นของความคิด ในด้านความสัมพันธ์กับวัตถุธรรม
- — ตัวอย่างจุดเริ่มต้นของความคิด ในด้านความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางสังคม
- — สรุปจุดเริ่มของความคิด หรือการมองความหมายและการตีค่า ๒ แบบ
- — ความรู้ประเภทที่ ๒ : ปัญญาหรือความรู้ที่เป็นตัวการศึกษา
- — อวิชชา – ตัณหา – อัตตา
- — การสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมฝ่ายวัตถุธรรม โดยวิถีทางของปัญญา
- — การสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางสังคม โดยวิถีทางของปัญญา
- — ปัญญาพ่วงด้วยกรุณาในจิตที่มีอิสรภาพ
- — กัลยาณมิตร จุดชนวนความคิด คือให้การศึกษา
- — การจัดการกับตัณหา
- — การศึกษากับแรงจูงใจ
- — ตัวอย่างต่างๆ ของกามฉันทะกับธรรมฉันทะ
- — ตัวอย่างของกามฉันทะและธรรมฉันทะ กับการปฏิบัติคุณธรรมทางสังคม
- — เสรีภาพที่แท้จริงมีอิสรภาพที่แท้เป็นพื้นฐาน
- — พุทธิศึกษาและจริยศึกษา กับ สุตศึกษาและศิลปศึกษา
- — พลศึกษาต้องหยั่งรากลงถึงจิตใจด้วย
- พระพุทธศาสนา กับการพัฒนาการศึกษา
- — ความผิดพลาดของการศึกษาเท่าที่ผ่านมา
- — ปัญหาเกี่ยวกับความหมายและความมุ่งหมายของการศึกษา
- — ความหมายของคำบัญญัติในทางการศึกษา
- — พระพุทธศาสนากับการพัฒนาการศึกษาในแง่เนื้อหาสาระ
- — ความซื่อตรงต่อกฎธรรมชาติ
- — คุณค่าแท้ คุณค่าเทียม
- — ปัญหาเกี่ยวกับแรงจูงใจ
- — ปัญญากับอิสรภาพ และกรุณา
- — หลักยืนของการศึกษาที่แท้
- — การศึกษากับประชาธิปไตย
- — ศิษย์ในฐานะที่เป็นผลผลิตและที่พิสูจน์สัมฤทธิผลของการศึกษา
เสรีภาพที่แท้จริงมีอิสรภาพที่แท้เป็นพื้นฐาน
เท่าที่พูดมาแล้วก็ถือว่าเป็นจุดใหญ่ๆ หรือจุดสำคัญของการพูดในวันนี้แล้ว และในเรื่องเหล่านั้นก็ได้พูดถึงอิสรภาพและเสรีภาพที่แท้จริงด้วย อยากจะเน้นนิดหน่อยว่า อิสรภาพในความหมายที่แท้จริงของพระพุทธศาสนา ก็เริ่มต้นจากการศึกษาเช่นเดียวกัน คือจากภาวะความคิดในทางจิตใจ ซึ่งสัมพันธ์กับปัญญาที่เป็นคุณธรรมแกน เมื่อมีอิสรภาพที่แท้จริงแล้ว การแสดงออกมาก็เป็นเสรีภาพ เสรีภาพที่จะเป็นไปเพื่อแก้ปัญหาของมนุษย์อย่างแท้จริง เพราะมีปัญญาเป็นพื้นฐาน และจิตใจเรามีอิสรภาพก่อน เราไม่ถูกบีบคั้นเราไม่เป็นทาสของกิเลส เป็นต้น เราไม่เป็นทาสของความทุกข์ที่เป็นปมซ้อนอยู่ในตัวของเราเองแล้ว เราก็สามารถแสดงเสรีภาพออกมา และเสรีภาพของเรานั้นก็เป็นไปในทางที่จะเสริมสร้างคุณค่าแห่งชีวิตของมนุษย์ได้ เป็นไปในทางที่จะนำเอาความกรุณา ซึ่งเป็นคุณธรรม ออกเผื่อแผ่แก่ผู้อื่นในการแก้ปัญหา ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ต่อไป ฉะนั้นเสรีภาพในภาวะเช่นนี้ ที่มีอิสรภาพในใจเป็นพื้นฐาน จึงจะถือว่าเป็นเสรีภาพที่ถูกต้อง
แต่ถ้าหากจิตใจของเราเองไม่มีอิสรภาพ ไม่ได้ดำเนินมาในวิถีของปัญญา ก็จะกลายเป็นว่าเราตกเป็นทาสเองเสียก่อนแล้ว เราจะเป็นทาสของอะไร ๑. เราก็เป็นทาสของอวิชชา ๒. เราเป็นทาสของตัณหา และต่อไป ๓. เราก็เป็นทาสของปัญหาที่เป็นปมซ้อนในใจของเราเอง คือความทุกข์ ความทุกข์ของเราเองนั้นแหละจะเป็นปมซ้อน ทำให้เราแสดงออกในทางแก้ปมซ้อนปม หรือว่ากลบปมของตนเองในจิตใจ เสรีภาพแบบนี้มิใช่เป็นเสรีภาพที่แท้จริง มันเป็นเสรีภาพจากการที่มีปัญหาภายใน และแสดงออกมาเพื่อกลบเกลื่อนหรือระบายทุกข์ของตนเองเท่านั้น จะเป็นไปเพื่อการแก้ปัญหาของมนุษย์อย่างแท้จริงได้อย่างไร มันจะกลายเป็นเพียงการแสดงว่ามีเสรีภาพ ไม่ใช่มีเสรีภาพที่จะแสดง คือเป็นการแสดงออกถึงความเป็นทาส หรือการที่ว่าเราตกเป็นทาสของทุกข์ ตกเป็นทาสของอวิชชา ตกเป็นทาสของตัณหาแล้ว เราอยู่ในบงการของสิ่งเหล่านั้น ถูกบงการให้ทำการต่างๆ อย่างที่เรียกกันเองตามอาการข้างนอกว่าเสรีภาพ ซึ่งที่จริง ก็คือการแสดงออกของทาสที่สามารถทำตามบงการของนายได้อย่างเต็มที่ เราเรียกบุคคลเช่นนี้ว่า เสรีทาส และเรียกภาวะเช่นนี้ว่า การเป็นทาสอย่างเสรี หรือเสรีภาพในการเป็นทาสนั้นเอง นี้ก็เป็นข้อพิจารณาอย่างหนึ่ง ในเรื่องความหมายของอิสรภาพและเสรีภาพ จะขอรีบผ่านเรื่องนี้ไปก่อน
No Comments
Comments are closed.