- สังคมไทยกำลังใช้พระพุทธศาสนาเป็นที่ถ่ายทุกข์
- ชาวพุทธจะสอบผ่านหรือไม่ หรือไม่ได้แม้เพียงเป็นบทเรียน
- รู้หลักแล้ว ศาสนาอยู่ที่ตัวเรา ไม่ต้องเอาศาสนาไปแขวนไว้กับใคร
- เห็นกับตา ไม่ต้องถามว่าเชื่อไหม
- พึ่งศรัทธา เพื่อได้ปัญญาที่พาสู่อิสรภาพ
- สงฆ์และหลักการเป็นฐานของบุคคล บุคคลทำสงฆ์ให้งาม เพราะทำตามหลักการ
- สงฆ์และหลักการเป็นมาตรฐาน เพื่อรักษาประโยชน์สุขของแต่ละคน
- ส่วนตัวหมดกิเลสไร้ทุกข์ ส่วนรวมขวนขวายประโยชน์สงฆ์ พระอรหันต์คือแบบอย่าง ทั้งด้านชีวิตและสังคม
- ไม่ให้ความวิเศษหรือความดีพิเศษของบุคคล มารอนประโยชน์สงฆ์และขวางการพัฒนาประชาชน
- แยกให้ชัดระหว่าง พระอริยะ กับผู้วิเศษ
- ฤทธิ์ทำคนให้เป็นพระอรหันต์ไม่ได้
- เร่งคิด และทำให้สัมฤทธิ์ อย่ามัวนอนคอยฤทธิ์ จะผิดหลักชาวพุทธ
- นับถือพระโพธิสัตว์อย่างไร จึงจะไม่ผิดเพี้ยน
- แทนที่จะเสียสละทำความดีอย่างพระโพธิสัตว์ พอเห็นพระโพธิสัตว์เสียสละ ก็เลยไปขอความช่วยเหลือ
- พระโพธิสัตว์ทำความดี ด้วยมุ่งในปณิธาน พระอรหันต์ทำความดี เพราะเป็นธรรมดาที่ท่านจะทำ
- พระโพธิสัตว์เป็นยอดสุดของผู้ทำดีด้วยการยึดในความดี เหนือกว่านี้ คือพระอรหันต์ผู้ทำความดีเพราะได้เข้าถึงธรรม
- พระ ถ้ามองอย่างพราหมณ์ กลายเป็นเจ้าพิธี แต่จะให้ดี มองอย่างพุทธ คือเป็นผู้ให้ธรรม
- วาสนาดีไม่ยาก มิใช่จะต้องรอจากฟากฟ้าที่ไหน ก็แค่หมั่นฝึกทำอะไรที่ดีๆ ให้ชินไปจนเป็นธรรมดา
- จะก้าวหน้าดีในการปฏิบัติ เมื่อเอาพรตเอาวัตรมาเสริมศีล
- จะพัฒนาได้ผลดี ต้องเป็นคนมีปณิธาน
- บทพิเศษ ๑
- บทพิเศษ ๒
- ภาคผนวก
- บันทึกประกอบ ในการพิมพ์ครั้งที่ ๒๐
บันทึกประกอบ
ในการพิมพ์ครั้งที่ ๒๐
เมืองไทยจะวิกฤต ถ้าคนไทยมีศรัทธาวิปริต นี้ เป็นหนังสือเก่าค่อนข้างมาก เมื่อจะพิมพ์ครั้งที่ ๒๐ นี้ เจ้าของเรื่องนี้เองไม่มีต้นฉบับเก่าที่พร้อมจะส่งเข้าโรงพิมพ์ มีเหลืออยู่แต่ต้นฉบับงานขั้นต้นเมื่อ ๒๐ ปีก่อนโน้น อาศัยว่าผู้ทำงานหนังสือที่วัด มีน้ำใจหาต้นฉบับส่งพิมพ์เก่ามารักษาไว้บนเว็บไซต์ของวัด เป็น pdf file สำหรับการพิมพ์ครั้งที่ ๑๔ – ก.ย. ๒๕๕๖ แต่ก็ไม่มีข้อมูลบอกไว้ว่าต้นกำเนิดของหนังสือนี้ เป็นการพูดหรือการเขียนที่ไหนเมื่อใด จึงค้นหาจากต้นฉบับงานขั้นต้นที่เก่ามากจนได้ความว่าเกิดจากการพูดในวันที่ ๒๓ ม.ค. ๒๕๓๗ เป็นอันได้ข้อมูลพร้อม
ได้ตกลงคัดลอกข้อมูลทั้งหมดจากต้นฉบับส่งพิมพ์เก่า ที่เป็น pdf file ก.ย. ๒๕๕๖ นั้น นำมาตรวจชำระจัดทำเป็นต้นฉบับใหม่ สำหรับการพิมพ์ครั้งที่ ๒๐ – ส.ค. ๒๕๖๕ นี้ นอกจากตรวจจัดปรับแก้วางรูปทำความเรียบร้อยโดยตลอดแล้ว ได้เขียนเพิ่มเติมความอีก ๑ หัวข้อ (หน้า ๔๓ – ๔๕) คือ “พระ ถ้ามองอย่างพราหมณ์ กลายเป็นเจ้าพิธี แต่จะให้ดี มองอย่างพุทธ คือเป็นผู้ให้ธรรม”
ต้นฉบับสำหรับการพิมพ์ครั้งใหม่ที่ ๒๐ ซึ่งนอกจากมีข้อมูลเนื้อความเดิมของฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑๔ – ก.ย. ๒๕๕๖ ครบบริบูรณ์แล้ว ยังมีส่วนเพิ่มเติมอีกด้วยนี้ เมื่อเสร็จเป็นเล่มหนังสือ กลับมีจำนวนหน้าลดลง นับเฉพาะส่วนในเนื้อเล่ม ของเดิมปี ๒๕๕๖ มี ๙๐ หน้า (มีเนื้อความน้อยกว่า) ส่วนฉบับใหม่ปี ๒๕๖๕ นี้ มี ๗๒ หน้า (มีเนื้อความมากกว่า)
จึงบันทึกเรื่องราวไว้เพื่อรู้เข้าใจความเป็นไปเป็นมาได้ชัดเจน
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ปยุตฺโต)
๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๕
No Comments
Comments are closed.