- (กล่าวนำ)
- เป้าหมายของเศรษฐศาสตร์
- หากยังมีความขัดแย้งก็ยากที่จะถึงเป้าหมาย
- อะไรคือความอยู่เย็นเป็นสุขของมนุษยชาติ?
- ความสุข ๒ แบบในพระพุทธศาสนา
- โลกแห่งการบริโภค คนมีสุขยาก ทุกข์ง่าย
- มนุษย์มีความแตกต่างกันหลายระดับ
- ศีล ๕ : หลักการพื้นฐานของสังคม – ศีล ๘ : ศีลเพื่อการพัฒนาสู่อิสรภาพ
- บุคคล ๓ กลุ่ม
- ประเทศผู้ผลิตกับประเทศผู้บริโภค
- การศึกษาควรสอนให้มนุษย์ พัฒนาความสามารถในการมีความสุข
- ดุลยภาพของอิสรภาพทั้ง ๔
- ต้องพัฒนา Intellectual Freedom ให้เกิดมีขึ้นในผู้บริโภค
- ผู้บริโภคมีอำนาจต่อรองกับผู้ผลิต
- ธุรกิจอยู่ไม่ได้ ถ้าผู้บริโภคไม่ซื้อสินค้า หรือไม่ใช้บริการ
- ความสำเร็จที่แท้จริงของนักธุรกิจ
- ลัทธิบริโภคนิยมมาจากตัณหาของมนุษย์
- Meditation in Form/Meditation in Substance
- ค่านิยมกำหนดสังคม
- การแข่งขันในทางที่ถูก
- การแข่งขันกระตุ้นให้เกิดความไม่ประมาท
- กิจกรรม ๓ ประการ ที่เศรษฐศาสตร์ควรให้ความสนใจ
- Freedom Through Wisdom ความสำเร็จสูงสุดของมนุษย์
- พัฒนาฉันทะ ลดละตัณหา
- ความปรารถนาที่ดีงามคือฉันทะ
- แหล่งข้อมูลคำสอนในพระพุทธศาสนา
- ทำไมเถรวาทมีคำสอนเรื่องการครองเรือน มากกว่าสายอื่น
- เหตุ และ ปัจจัย ในพระพุทธศาสนา
- ปัจจัยหนึ่งอาจนำไปสู่ผลหลายอย่าง
- การแยกแยะปัจจัยหรือยักย้ายเงื่อนไข
- กัลยาณมิตรเป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์
- ศรัทธาและปัญญาไม่ใช่คู่แข่งขัน
- ปฏิจจสมุปบาทแบบง่าย
- กุศลและอกุศลจากผัสสะ
- กระบวนการปฏิจจสมุปบาทเกิดตลอดเวลา
- พระพุทธเจ้าทรงอธิบายปฏิจจสมุปบาท ตามสติปัญญาของผู้ฟัง
- แนะนำหนังสืออ่านประกอบ
- ภาคผนวก
- บันทึกผู้แปล
- คำนำในการพิมพ์ ครั้งที่ ๓
การศึกษาควรสอนให้มนุษย์
พัฒนาความสามารถในการมีความสุข
เราอาจพูดได้ว่า เราสามารถแก้ปัญหาสังคมด้วยการศึกษา การศึกษาคือการพัฒนาคน แต่การศึกษาชนิดใดที่เป็นที่ต้องการในที่นี้ เพราะการศึกษาในปัจจุบันนี้ อาจหมายถึงการพัฒนาความสามารถในการแสวงหาสิ่งภายนอก เพื่อมาสนองตัณหา เพื่อให้ตนมีความสุข อาตมาคิดว่าการศึกษาปัจจุบันนี้ จะมีลักษณะอย่างนี้แอบแฝงอยู่โดยไม่รู้ตัว
การศึกษาสมัยใหม่บางทีก็ไม่ได้คิดว่า การศึกษาที่แท้จริงของมนุษย์ รวมไปถึงการพัฒนาความสามารถในการมีความสุขด้วย ความสนใจในการมีความสุขของมนุษย์ ควรเป็นปัจจัยที่แท้จริง หรือปัจจัยที่เป็นศูนย์กลางการพัฒนามนุษย์ เราต้องเปลี่ยนแปลงบางอย่าง แม้ในการศึกษา
นายมิวเซนเบิร์ก
ผมชอบแนวความคิดนี้มาก ที่ว่าคนควรถูกสอนว่าจะมีความสุขได้อย่างไร และการศึกษาปัจจุบันก็มีประเด็นน่าสงสัยในเรื่องนี้ ผมเห็นด้วย แต่ผมอยากย้อนกลับไปที่คำถามถึงคำว่า อิสรภาพ และกลับไปถึง ลัทธิบริโภคนิยม
ท่านบอกว่า อิสรภาพมี ๔ ระดับ1 คือ Physical Freedom, Social Freedom, Emotional Freedom, Intellectual Freedom ซึ่งผมชอบมาก และได้ใช้เป็นโครงสร้างของความคิดในเรื่องอิสรภาพ และบ่งชี้ว่า คนมีหลายลักษณะ ซึ่งต้องพิจารณาด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณอยู่ในรัฐบาล
คำถามหนึ่งในเรื่อง อิสรภาพ คืออะไร อะไรควรเป็นข้อจำกัดของอิสรภาพ และหนึ่งในอิสรภาพซึ่งเกี่ยวข้องกับคำถามนี้ในเรื่องลัทธิบริโภคนิยม คืออิสรภาพของประชาชนในการซื้อในสิ่งที่ตนเองปรารถนา ซื้อจากผู้ผลิตที่เขาพอใจจะซื้อสินค้าด้วย และในธุรกิจที่ขายในสิ่งที่เขาจะขายได้ ให้กับคนที่เขาต้องการจะขาย และมันชัดที่ว่า ถ้าไม่มีข้อจำกัดเรื่องอิสรภาพในความหมายนี้ มันอาจจะเป็นความหายนะ ดังนั้น เราควรกำหนดอิสรภาพในเรื่องนี้ แต่ความสุดโต่งอาจจะเป็นไปได้ว่า ไม่ให้มีอิสรภาพเลย เหมือนเช่นในประเทศคอมมิวนิสต์ได้พยายามทำมาแล้ว รัฐจะกำหนดว่าใครควรทำอะไร ทำแค่ไหน และประชาชนก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะเลือกซื้อในสิ่งที่มี ผมเห็นว่า ต้องมีข้อจำกัดให้กับอิสรภาพทั้งในธุรกิจ และกับผู้บริโภค
คำถามคือ ท่านยอมรับหรือไม่ว่า เป็นเรื่องไม่พึงประสงค์ที่จะจำกัดอิสรภาพของผู้คน ในการซื้อสิ่งของที่เขาอยากจะซื้อ จากที่ที่เขาต้องการจะซื้อ
No Comments
Comments are closed.