เป้าหมายของเศรษฐศาสตร์

9 มิถุนายน 2547
เป็นตอนที่ 2 จาก 40 ตอนของ

เป้าหมายของเศรษฐศาสตร์

พระพรหมคุณาภรณ์

ดูเหมือนว่า เศรษฐศาสตร์ในปัจจุบันจะแยกตัวเองจากกิจกรรมอื่นๆ ของมนุษย์ ด้วยเหตุนี้เอง จึงมีคำว่า Reductionism และในศตวรรษนี้ มีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดศัพท์ Holistic View หรือ Holism ซึ่งก็ไม่สำคัญอะไร ที่สำคัญคือ กิจกรรมใดๆ ของมนุษย์ ควรมีส่วนร่วมในความอยู่เย็นเป็นสุขของมวลมนุษยชาติ

เศรษฐศาสตร์เกิดขึ้นมาเพื่อทำให้มนุษย์มีความเป็นอยู่ที่ดี แต่เมื่อได้มีพัฒนาการสืบต่อมา ดูเหมือนว่าจะกลายเป็นเรื่องแปลกแยก หรือแยกตัวเองออกจากสาระดั้งเดิม ซึ่งอาจเป็นไปโดยไม่รู้ตัว และเศรษฐศาสตร์พูดบ่อยๆ ถึงการกระทำการให้เกิดความพอใจ หรือไปสู่ความพอใจของมนุษย์ ซึ่งก็มีปัญหามากกับความพอใจ (ให้ประสาน) กับความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ ทั้งในฐานะปัจเจกบุคคล และในความเป็นมนุษย์ทั้งหมด

ดังนั้น อย่างน้อยที่สุด เศรษฐศาสตร์ควรตระหนักถึงความเป็นจริงในแง่นี้ว่า สิ่งนี้คือการเน้นย้ำไปถึงความพึงพอใจสมความปรารถนา ซึ่งความพึงพอใจสมความปรารถนานั้น ต้องนำไปสู่ หนึ่ง ความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ สอง สันติสุขของมนุษย์ ถ้าไม่บรรลุ ๒ สิ่งนี้ ก็ไม่ควรเป็นหลักการของเศรษฐศาสตร์

นายมิวเซนเบิร์ก

ผมรู้จักนักเศรษฐศาสตร์หลายคน และได้ทำเรื่องธุรกิจมามากมาย ส่วนหนึ่งของการทำวิจัยอันนี้ ทำให้ผมต้องศึกษาในสิ่งที่นักคิดกลุ่มหนึ่งได้คิด และในสิ่งที่ท่านพูดว่า ไม่มีการพัฒนาในทางธุรกิจที่เน้นความรับผิดชอบต่อสังคม

มีแนวคิดหนึ่งได้เกิดขึ้น คือ ธุรกิจมีอิทธิพลต่อคนจำนวนมากและสิ่งแวดล้อม ต่อปัจจัยทั้ง ๓ คือ พนักงาน ลูกค้า ผู้ประกอบการ ดังนั้น ธุรกิจจึงควรพิจารณาผลกระทบที่พวกเขากำลังทำต่อปัจจัยทั้งสามเหล่านั้น และพยายามทำอะไรก็ตามเพื่อเป็นประโยชน์ต่อตัวธุรกิจเอง และส่วนประกอบในธุรกิจดังกล่าว ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป สรุปเรียกว่า Triple Bottom Line

หนึ่ง Bottom Line คือ กำไรที่บริษัทได้รับ

สอง Social Bottom Line คือ การคืนกำไรให้กับสังคม

สาม Environmental Impact คือ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ปัจจุบันมีการพิจารณาเรื่องการใช้แนวคิด ๓ มิติดังกล่าว ผมไม่มีรายละเอียดว่ามีกี่บริษัทที่ใช้แนวคิดในลักษณะอย่างนี้ สำคัญมากสำหรับหนังสือ เพราะว่าท่านดาไลลามะเชื่อว่า ถ้าประชาชนมุ่งไปสู่ทิศทางที่ถูกต้อง แม้ว่าจะห่างไกลจากคำว่าสมบูรณ์แบบ สิ่งนี้ก็ควรสนับสนุน นี่คือบางสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ทราบว่าท่านเคยได้ยินเรื่องนี้มาก่อนบ้างไหมครับ?

ตอนก่อนหน้า/ตอนต่อไป<< (กล่าวนำ)หากยังมีความขัดแย้งก็ยากที่จะถึงเป้าหมาย >>

No Comments

Comments are closed.