Meditation in Form/Meditation in Substance

9 มิถุนายน 2547
เป็นตอนที่ 18 จาก 40 ตอนของ

Meditation in Form/Meditation in Substance

พระพรหมคุณาภรณ์

เมื่อเราพูดถึงเรื่องสมาธิภาวนา เราต้องแยกแยะระหว่าง Formal Meditation หรือ Meditation in Form กับ Meditation in Substance

Meditation in Substance อยู่ในใจ มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับรูปแบบภายนอก คนจำนวนมากมักพูดถึงการปฏิบัติสมาธิภาวนาในรูปแบบ เช่น การไปวัดเพื่อไปนั่งสมาธิ ซึ่งก็เป็นประโยชน์มาก เราอาจเรียกการทำเช่นนี้ว่าเป็น Intensive Course for Meditation แต่สามารถปฏิบัติสมาธิภาวนาได้ทุกวันในชีวิตประจำวัน ทุกชั่วโมง ทุกนาที ทุกขณะจิต เมื่อเราทำงานเราก็สามารถปฏิบัติธรรมได้ เช่น เมื่อเราทำงานอย่างถูกต้อง นั่นก็คือการปฏิบัติธรรมในตัวเอง

ทำไมคนถึงไปวัดเพื่อปฏิบัติ ก็เพราะเขาต้องการสถานที่สงบสงัดสำหรับการนั่งสมาธิ เนื่องจากเขาไม่สามารถทำได้ หรือทำได้ยาก ในท่ามกลางผู้คน และความสับสนวุ่นวาย ดังนั้น เขาจึงต้องอาศัยสถานที่สงบช่วยเกื้อหนุนการปฏิบัติให้ก้าวหน้า เขาจึงเลือกที่จะไปวัดเพื่อปฏิบัติ และเมื่อเขาทำได้สำเร็จ ก็หมายความว่า เขาจะสามารถปฏิบัติได้ในที่ทำงาน ถ้าเขาไม่สามารถปฏิบัติได้ในที่ทำงาน ก็จะไม่สามารถพูดได้เลยว่า การปฏิบัติของเขาได้ผล แม้ว่าเขาจะได้ไปนั่งสมาธิในวัดมาแล้วหลายๆ ครั้งก็ตาม มันสัมพันธ์กัน

เราใช้การปฏิบัติแบบเข้มข้น หรือสถานที่ปฏิบัติที่เงียบสงบเป็นจุดเริ่มต้น เป็นวิธีการฝึกตนเอง อย่างน้อยที่สุดในขั้นแรก แต่สำหรับผู้หมดกิเลสแล้ว อย่างพระพุทธเจ้า หรือพระอรหันต์ สามารถปฏิบัติสมาธิภาวนาได้ในทุกที่ เพราะฉะนั้น ผู้ปฏิบัติสมาธิที่ประสบความสำเร็จ คือ ผู้ที่สามารถปฏิบัติสมาธิได้ในทุกที่

มีพุทธพจน์ว่า

คาเม วา ยทิวา รฺเ
นินฺเน วา ยทิวา ถเล
ยตฺถ อรหนฺโต วิหรนฺติ
ตํ ภูมิรามเณยฺยกํ

ไม่ว่าจะเป็นที่แห่งใด บนยอดเขา หรือในทะเล ไม่ว่าจะเป็นในป่า หรือในท่ามกลางผู้คน ที่นั้นไซร้ เป็นสถานที่อันรื่นรมย์สำหรับพระอรหันต์ หรือผู้ที่ไกลจากกิเลส

อาตมาคิดว่า มันไม่ได้เป็นกฎเกณฑ์อันเคร่งครัด หรือเรื่องบังคับว่าเป็นสิ่งที่ต้องทำ มันขึ้นอยู่กับโอกาสอันเหมาะสม ถ้าเรามีโอกาสไปเข้าปฏิบัติสมาธิภาวนาอย่างเข้มข้น ย่อมเป็นเรื่องที่ดี ดีมาก แต่ถ้าเราไม่มีโอกาส หรือเมื่อเราไม่ได้ไปเข้ารับการอบรมดังกล่าว เราควรจะปฏิบัติสมาธิได้ด้วยตนเอง ที่ใดก็ได้

นายมิวเซนเบิร์ก

ผมเข้าใจว่าคนส่วนมากมีทัศนะที่ไม่ดีฝังแน่นอยู่ในตัว เพราะฉะนั้น การเปลี่ยนแปลงจะเป็นความช็อคอย่างหนึ่ง จากงานเขียนของท่านในที่แห่งหนึ่ง เช่นเดียวกับของท่านดาไลลามะ คนต้องมีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ แล้วเราจะเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร ในเมื่อโลกก็หมุนไปข้างหน้า

ตอนก่อนหน้า/ตอนต่อไป<< ลัทธิบริโภคนิยมมาจากตัณหาของมนุษย์ค่านิยมกำหนดสังคม >>

No Comments

Comments are closed.