ผู้บริโภคมีอำนาจต่อรองกับผู้ผลิต

9 มิถุนายน 2547
เป็นตอนที่ 14 จาก 40 ตอนของ

ผู้บริโภคมีอำนาจต่อรองกับผู้ผลิต

พระพรหมคุณาภรณ์

นี่เองที่ผู้บริโภคสามารถใช้อำนาจของตนได้ และก็คือ วิธีการขยายการแข่งขัน ทำไมเราจึงจำกัดคำว่าการแข่งขันเพียงแค่ พวกทำธุรกิจด้วยกันเอง นักธุรกิจควรแข่งขันกับผู้บริโภค และผู้บริโภคต้องตระหนักว่า เขาต้องแข่งขันกับนักธุรกิจ

นี่คือหนึ่งในหน้าที่ที่ธุรกิจสามารถทำอะไรได้มาก เพื่อที่ประชาชนจะมีโอกาสเลือก เพราะมีปัญหาหนึ่งก็คือ ผู้บริโภคถูกผู้ผลิตครอบงำจากการโฆษณา และธุรกิจสามารถทำอะไรได้หลายอย่าง เพื่อสื่อสารให้ประชาชนเห็นถึงผลที่ตามมาของสิ่งที่เขาเลือก

นักธุรกิจต้องให้ข้อมูลแก่ประชาชน เพื่อทำความกระจ่าง ทำให้เขาเข้าใจ ถ้าประชาชนมี Spiritual Freedom แล้วเขาจะมีความสามารถมากขึ้นในการเลือกว่า “จะใช้” หรือ “จะซื้อ” สินค้าอย่างไร และตัวผู้ผลิตเองควรผลิตสินค้าชนิดใดออกมา

นายมิวเซนเบิร์ก

นี่เป็นคำถามที่ยาก คือ ปกติการทำธุรกิจพยายามจะขายให้ได้มากเสมอ นักธุรกิจควรมีความรับผิดชอบในสิ่งที่ตนเองขาย และพวกเขาสามารถทำอะไรได้บ้าง ที่แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบนั้นๆ ผมไม่ทราบว่าท่านเคยได้ยินมาบ้างหรือไม่ กรณีของแฮมเบอร์เกอร์ชื่อดังรายหนึ่ง เขาขายอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพของประชาชน คือ ประกอบด้วยแป้ง เนื้อสัตว์ที่มีไขมันมาก ทำให้ผู้บริโภคอ้วน เพราะความกดดันจากผู้บริโภคนี้เอง เดี๋ยวนี้ บริษัทนี้จึงได้ออกอาหารตัวใหม่ ที่เรียกว่า “อาหารสุขภาพ” ขึ้นมา เพื่อจะทำในสิ่งที่ประชาชนต้องการอย่างแท้จริง

ตอนก่อนหน้า/ตอนต่อไป<< ต้องพัฒนา Intellectual Freedom ให้เกิดมีขึ้นในผู้บริโภคธุรกิจอยู่ไม่ได้ ถ้าผู้บริโภคไม่ซื้อสินค้า หรือไม่ใช้บริการ >>

No Comments

Comments are closed.