Freedom Through Wisdom ความสำเร็จสูงสุดของมนุษย์

9 มิถุนายน 2547
เป็นตอนที่ 23 จาก 40 ตอนของ

Freedom Through Wisdom
ความสำเร็จสูงสุดของมนุษย์

พระพรหมคุณาภรณ์

ใช่… ถ้าเขามีการพัฒนา ๒ ระดับแรก ก็ย่อมจะเสริมส่งให้เกิดการพัฒนาในระดับที่สูงขึ้นอีก ๒ ระดับ เพราะเมื่อเขาสามารถไปถึงอิสรภาพอีกสองระดับที่สูงขึ้น เขาจะสามารถมีความสุขได้ด้วยตนเอง เขาจะไม่ต้องอาศัยวัตถุภายนอก ก็สามารถเข้าถึงความสุขของความเป็นอิสระ กระทั่งเป็นอิสระจากตัณหาเอง นั่นคือ ความสำเร็จของมนุษย์ เราควรทำให้สิ่งนี้เป็นค่านิยมของสังคม การคิดถึงเรื่องการเข้าถึงอิสรภาพสูงสุด คือ Spiritual Freedom หรือคำที่น่าจะถูกต้องกว่า คือ Freedom through Wisdom หรือ Freedom through Insight คือ ความสำเร็จสูงสุดของมนุษย์ ถ้ามนุษย์มีค่านิยมทางสังคมอันนี้ แนวโน้มของสังคมสามารถจะเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าคุณไม่สามารถเปลี่ยนแปลงค่านิยมของสังคม มันจะยากมาก อย่างน้อยที่สุด เราควรมีบางสิ่งบางอย่างที่ทำให้เกิดความสมดุล ปัจจุบันนี้เราไม่มีความสมดุล แต่เป็นสภาวะที่เรียกว่า สุดโต่ง

นายมิวเซนเบิร์ก

ทุกๆ การตัดสินใจของนักธุรกิจ ควรมีเกณฑ์วัดว่า สิ่งที่เขาจะทำนั้น ได้ให้อะไรที่เป็นประโยชน์กับสังคมหรือไม่ มันช่วยให้สังคมพัฒนาหรือไม่

พระพรหมคุณาภรณ์

พวกนักธุรกิจเองต้องมีความเข้าใจและการยอมรับเสียก่อน ไม่เพียงแต่เป็นคำพูดเท่านั้น เช่น เมื่อเขาพูดว่าเขาสนใจเรื่องความอยู่เย็นเป็นสุขของสังคม เราควรทำโน่นทำนี่ ในใจของเขาควรรู้สึกอย่างนั้นจริงๆ และรู้สึกยินดีที่จะทำอย่างแท้จริง ถ้าเขายอมรับได้ ความต้องการของเขาก็จะเปลี่ยนไป

ตอนก่อนหน้า/ตอนต่อไป<< กิจกรรม ๓ ประการ ที่เศรษฐศาสตร์ควรให้ความสนใจพัฒนาฉันทะ ลดละตัณหา >>

No Comments

Comments are closed.