- สถานการณ์พระพุทธศาสนา: พลิกหายนะ เป็นพัฒนา
- – ๑ – วงใน – ชั้นใน สภาพวัด และพระสงฆ์
- ภาวะขาดเณร: เกณฑ์บอกชะตาต่อไป
- สัญญาณเตือนภัย: ข่าวว่าพระทำไมประพฤติเสียหาย
- สภาพสังคมไทย ภาพสะท้อน-เห็นอะไรจากข่าวสาร
- มองพระสงฆ์ให้เป็น ก็เห็นสภาพสังคมไทย
- คิดดูให้ดี พุทธศาสนานี้เป็นของใคร
- มัวแต่ด่าว่าเขา ไม่รู้ว่าเรานี่แหละตัวสำคัญ
- คนสร้างสังคม สังคมสร้างคน ถ้าไม่ตัดวงจร ไม่แปรปัจจัย คนสร้างสังคมไว้อย่างไร ก็ได้คนอย่างนั้นมาสร้างสังคมต่อไป
- ฉลาดเชิงกลไก แต่ไม่พัฒนาปัญญา ท่องไปทั่วหล้า แต่ปัญญาอ้างว้าง
- ต้องพัฒนาตัวกันทุกคน ไม่มีใครหนีพ้นความรับผิดชอบ
- – ๒ – วงใน – ชั้นนอก สภาพพุทธศาสนิก
- ถ้ายึดหลักไว้ได้ ก็ยังไม่ร่วงหลุดไป
- จะสอนอย่างไร ก็ต้องให้เข้าสู่จุดเริ่ม ที่เขาจะก้าวต่อไปได้
- สอนเอาหลักเพื่อประโยชน์แก่เขา ไม่ใช่สอนเอาแต่ใจของตัว
- ไม่ใช่สอนเอาใจเขา แต่สอนนำเขาเข้าหาหลัก
- ถ้ายังเอาความศักดิ์สิทธิ์ ก็ต้องคิดให้ทางเลือกที่ถูกหลัก
- ไม่ใช่เอาใจเขา แต่เราทำอย่างรู้หลัก และไม่ใช่คิดจะเอาจากเขา แล้วมอมเมาให้เขวจากหลัก
- พัฒนาคนให้มีความสุขประณีตขึ้นไป สังคมก็จะได้จริยธรรมที่มั่นคง
- เมื่อเอาผลทางพลังจิตมาสนองด้านกาม พฤติกรรมก็ต้องเกิดความวิปริต
- – ๓ – วงนอก – ชั้นใน สภาพสังคมไทย
- ด้วยการเป็นผู้ตาม ก็ได้ยอมรับความด้อย ด้วยการมองความเจริญแบบนักบริโภค ก็รักษาความเป็นผู้ตามไว้ได้
- จะเอาอย่างเขา หรือไม่เอาอย่าง ก็อย่าไปสุดทางสองข้าง
- จะเอาอย่างเขาถูกต้อง จนเป็นผู้นำเขาได้ ต้องมีการศึกษาที่ดี มานำทางไป
- เอาอย่างด้วยปัญญา ถึงแม้เลียนแบบก็ต้องทำให้ดีกว่า จึงจะมีคุณค่า ให้เขายอมนับถือ
- ตามเป็น เอาอย่างเป็น นับเข้าได้ในองค์ประกอบของการพัฒนา
- ความผิดเพี้ยนในวัฒนธรรมไทย บทเรียนให้ช่วยกันแก้ไข
- ไม่อยาก ก็พลาด แต่พออยาก ก็ผิด จะพัฒนาสัมฤทธิ์ ต้องอยากให้เป็น
- จากรับ-ตาม สู่ความเป็นผู้นำ-ผู้ให้ ก้าวยิ่งใหญ่ที่ท้าทายความสำเร็จ
- – ๔ – วงนอก – ชั้นนอก สภาวการณ์ของโลก
- มองดูคนที่เดินนำหน้า อย่าให้พาเราเดินหลงทาง
- คนข้างหน้าติดตัน หันรีหันขวาง เพราะเจอเหวดักหน้า ต้องหาทางกันใหม่
- ความก้าวหน้าที่แสนจะภูมิใจ กลายเป็นการหาภัยมาทำลายตัว
- เมื่อรู้ว่าทางตัน แม้จะหันไปหาทางใหม่ แต่ก็สูญเสียความหวัง ความมั่นใจก็หมดไป
- เมื่อผู้เดินนำหน้าเกิดอาการหวั่นไหว คนมีปัญญาต้องนำหาทางออกใหม่
- ต้องหยั่งรู้สาเหตุของปัญหา จึงจะมองเห็นทางแก้ไข
- เมื่อจับจุดปัญหาได้แน่ ก็สืบสาวเพื่อแก้ ให้ตรงกับเหตุปัจจัย
- อารยธรรมถึงจุดหักเลี้ยว โลกหันหาทางเลือกใหม่
- ผู้เคยเดินนำ ไม่แน่ว่าจะคลำหาทางไหว ผู้ใดเห็นทาง ผู้นั้นควรลุกขึ้นเดินนำไป
- สรุป
- บันทึกท้ายเล่ม
ถ้ายังเอาความศักดิ์สิทธิ์
ก็ต้องคิดให้ทางเลือกที่ถูกหลัก
ข้อสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ความหมายของความศักดิ์สิทธิ์ก็ต่างกัน การจะเข้าสู่หลักกรรมและหลักไตรสิกขาพัฒนาตน ต้องเปลี่ยนจากความศักดิ์สิทธิ์แบบฤทธิ์กิเลส มาเป็นฤทธิ์ของธรรม
ท่านที่รู้หลักบอกว่า เอาละ เธอนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือ ไม่เป็นไร พระพุทธเจ้าศักดิ์สิทธิ์กว่า
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายนอก เช่นพวกเทพเจ้าต่างๆ นั้น เขาศักดิ์สิทธิ์โดยฤทธิ์เดชปาฏิหาริย์ ที่เป็นไปด้วยความโลภ ความโกรธ และความหลง
เทวดาโกรธกัน โลภแย่งกามกัน หึงหวงคู่ครองกัน จะทำลายกัน ก็แสดงฤทธิ์กัน ต้องมีสิบมือ พันมือ มีคทา มีอาวุธ มีจักร อะไรต่างๆ มากมาย แสดงฤทธิ์เดชกัน เต็มไปด้วยความโกรธ เต็มไปด้วยโลภะ โทสะ โมหะ แย่งอำนาจกัน อวดความยิ่งใหญ่ แสดงหน้าตาท่าทางให้ดุร้าย คุกคาม ผาดโผนโจนทะยาน น่าตื่นเต้นหวาดกลัว
แต่พอเข้ามาในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้า ตลอดทั้งพระรัตนตรัยทั้งหมด เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุด ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งกว่าเทพเจ้าเหล่านั้น แต่ไม่มีกิเลส พระพุทธรูปของเรานี้ นั่งสงบ แย้มยิ้มอย่างสดชื่นร่มเย็น มีแต่เมตตา มีแต่ความบริสุทธิ์ นี่คือความศักดิ์สิทธิ์ที่แท้จริง
นี่คือการพัฒนามนุษย์ จากความเชื่อถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เต็มไปด้วยกิเลสมาสู่ความบริสุทธิ์ เพราะในที่สุดแล้ว ความศักดิ์สิทธิ์นั้น อยู่ที่ความบริสุทธิ์ อยู่ที่ปัญญา อยู่ที่ความไร้ทุกข์ ไร้กิเลส
พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้บริสุทธิ์ มีพระปัญญาคุณ พระวิสุทธิคุณ และพระมหากรุณาคุณ จึงมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งกว่าเทพเจ้าที่มีฤทธิ์เดชแห่งกิเลสเหล่านั้น ความศักดิ์สิทธิ์นี้พัฒนาขึ้นมาสู่ความบริสุทธิ์ พัฒนาจากกิเลสมาสู่แนวทางที่เป็นจริยธรรมมากขึ้น
ชาวพุทธกราบไหว้พระพุทธรูปด้วยความรู้สึกรำลึกคุณความดี และมีความร่มเย็นชื่นบาน ไม่ใช่กราบไหว้เพราะกลัวฤทธิ์เดช การสาปแช่งดลบันดาล หรือหวังผลลาภลอย
พร้อมกับความศักดิ์สิทธิ์ที่เต็มไปด้วยความบริสุทธิ์นั้น ก็คือความเชื่อมั่นในการทำความดี โดยหวังผลจากการกระทำด้วยความเพียรพยายาม โดยมีความมั่นใจและมีกำลังใจในการกระทำมากขึ้น ไม่ใช่หวังผลจากการดลบันดาล ได้แต่คอยอ้อนวอนขอผลประโยชน์จากเทพเจ้า
ถ้ามองเห็นแนวทางในการพัฒนามนุษย์อย่างนี้ ก็จะจับหลักได้ แม้แต่จะเชื่อเครื่องรางของขลัง ก็ขอให้มีหลักและเห็นทางที่จะเดินหน้า แล้วเราจะเห็นความแตกต่าง ระหว่างความศักดิ์สิทธิ์ในพระพุทธศาสนา กับความศักดิ์สิทธิ์ภายนอก
แต่รวมความแล้ว มันก็คือขั้นตอนในการชักจูงมนุษย์ขึ้นไปในวิถีของการพัฒนาให้ดีขึ้น เราจะชักคนพรวดเดียวขึ้นมาให้ถึงสาระและจุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาโดยสมบูรณ์นั้น ไม่ไหว เราทำไม่ได้
No Comments
Comments are closed.