- (กล่าวนำ)
- เป้าหมายของเศรษฐศาสตร์
- หากยังมีความขัดแย้งก็ยากที่จะถึงเป้าหมาย
- อะไรคือความอยู่เย็นเป็นสุขของมนุษยชาติ?
- ความสุข ๒ แบบในพระพุทธศาสนา
- โลกแห่งการบริโภค คนมีสุขยาก ทุกข์ง่าย
- มนุษย์มีความแตกต่างกันหลายระดับ
- ศีล ๕ : หลักการพื้นฐานของสังคม – ศีล ๘ : ศีลเพื่อการพัฒนาสู่อิสรภาพ
- บุคคล ๓ กลุ่ม
- ประเทศผู้ผลิตกับประเทศผู้บริโภค
- การศึกษาควรสอนให้มนุษย์ พัฒนาความสามารถในการมีความสุข
- ดุลยภาพของอิสรภาพทั้ง ๔
- ต้องพัฒนา Intellectual Freedom ให้เกิดมีขึ้นในผู้บริโภค
- ผู้บริโภคมีอำนาจต่อรองกับผู้ผลิต
- ธุรกิจอยู่ไม่ได้ ถ้าผู้บริโภคไม่ซื้อสินค้า หรือไม่ใช้บริการ
- ความสำเร็จที่แท้จริงของนักธุรกิจ
- ลัทธิบริโภคนิยมมาจากตัณหาของมนุษย์
- Meditation in Form/Meditation in Substance
- ค่านิยมกำหนดสังคม
- การแข่งขันในทางที่ถูก
- การแข่งขันกระตุ้นให้เกิดความไม่ประมาท
- กิจกรรม ๓ ประการ ที่เศรษฐศาสตร์ควรให้ความสนใจ
- Freedom Through Wisdom ความสำเร็จสูงสุดของมนุษย์
- พัฒนาฉันทะ ลดละตัณหา
- ความปรารถนาที่ดีงามคือฉันทะ
- แหล่งข้อมูลคำสอนในพระพุทธศาสนา
- ทำไมเถรวาทมีคำสอนเรื่องการครองเรือน มากกว่าสายอื่น
- เหตุ และ ปัจจัย ในพระพุทธศาสนา
- ปัจจัยหนึ่งอาจนำไปสู่ผลหลายอย่าง
- การแยกแยะปัจจัยหรือยักย้ายเงื่อนไข
- กัลยาณมิตรเป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์
- ศรัทธาและปัญญาไม่ใช่คู่แข่งขัน
- ปฏิจจสมุปบาทแบบง่าย
- กุศลและอกุศลจากผัสสะ
- กระบวนการปฏิจจสมุปบาทเกิดตลอดเวลา
- พระพุทธเจ้าทรงอธิบายปฏิจจสมุปบาท ตามสติปัญญาของผู้ฟัง
- แนะนำหนังสืออ่านประกอบ
- ภาคผนวก
- บันทึกผู้แปล
- คำนำในการพิมพ์ ครั้งที่ ๓
ประเทศผู้ผลิตกับประเทศผู้บริโภค
พระพรหมคุณาภรณ์
อย่างที่บอกมาแล้วว่า อาตมาเองก็ไม่ได้รู้เรื่องธุรกิจมากนัก แต่ก็ได้ให้ความสนใจบ้าง คุณอาจจะเห็นได้ว่า ในโลกแห่งการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกธุรกิจวันนี้ เรามีประเทศที่มีลักษณะแตกต่างกัน จนกระทั่งมีการแบ่งเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศกำลังพัฒนา หรือประเทศด้อยพัฒนา แต่อาตมาอยากจะแบ่งด้วยวิธีการอย่างอื่น เป็นประเทศผู้ผลิต (Producer) และประเทศผู้บริโภค (Consumer) ผู้ผลิตเป็นผู้ขาย (Seller) และผู้บริโภคเป็นผู้ซื้อ (Buyer or Purchaser)
ประเทศไทยเป็นพวกที่สอง คือ Consumer และ Purchaser เราเคยมีการพูดถึงเรื่องนี้บ่อยว่า ทำไมคนไทยไม่มีนิสัยเป็นผู้ผลิต?
ในประเทศที่มีลักษณะบริโภคนิยม (Consumerism) อย่างประเทศไทยนี้ จะเกิดปัญหาหลายอย่าง เช่น ในธุรกิจที่ประกอบด้วยลัทธิบริโภคนิยม ผู้บริโภคคือทาสของธุรกิจประเภทนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากการโฆษณา และเมื่อนักธุรกิจคิดอะไรขึ้นมาได้ใหม่ ที่ผู้บริโภคสามารถหาซื้อได้ เพื่อไปสนองความต้องการของตน โดยคิดว่าถ้าได้สิ่งเหล่านั้นมาเป็นของตนแล้วจะมีความสุข นี่ก็คือปัญหาแต่เริ่มแรก ลัทธิบริโภคนิยมจึงเป็นเหตุของปัญหา พูดได้ว่าเป็นการครอบงำ ปั่นหัว และชี้นำค่านิยมของสังคม จะเห็นได้ว่าลัทธิบริโภคนิยม ได้กลายเป็นค่านิยมของสังคม และสร้างค่านิยมของสังคม ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่เสริมส่งการพัฒนาของสังคมหรือแม้แต่การพัฒนาตนของปัจเจกบุคคล ทั้งภายในและภายนอก และมันได้กลายเป็นปัญหาจริยธรรม คือคนไม่รู้ว่า อะไรคือการเป็นอยู่ที่ดีอย่างแท้จริง
No Comments
Comments are closed.