- สถานการณ์พระพุทธศาสนา: พลิกหายนะ เป็นพัฒนา
- – ๑ – วงใน – ชั้นใน สภาพวัด และพระสงฆ์
- ภาวะขาดเณร: เกณฑ์บอกชะตาต่อไป
- สัญญาณเตือนภัย: ข่าวว่าพระทำไมประพฤติเสียหาย
- สภาพสังคมไทย ภาพสะท้อน-เห็นอะไรจากข่าวสาร
- มองพระสงฆ์ให้เป็น ก็เห็นสภาพสังคมไทย
- คิดดูให้ดี พุทธศาสนานี้เป็นของใคร
- มัวแต่ด่าว่าเขา ไม่รู้ว่าเรานี่แหละตัวสำคัญ
- คนสร้างสังคม สังคมสร้างคน ถ้าไม่ตัดวงจร ไม่แปรปัจจัย คนสร้างสังคมไว้อย่างไร ก็ได้คนอย่างนั้นมาสร้างสังคมต่อไป
- ฉลาดเชิงกลไก แต่ไม่พัฒนาปัญญา ท่องไปทั่วหล้า แต่ปัญญาอ้างว้าง
- ต้องพัฒนาตัวกันทุกคน ไม่มีใครหนีพ้นความรับผิดชอบ
- – ๒ – วงใน – ชั้นนอก สภาพพุทธศาสนิก
- ถ้ายึดหลักไว้ได้ ก็ยังไม่ร่วงหลุดไป
- จะสอนอย่างไร ก็ต้องให้เข้าสู่จุดเริ่ม ที่เขาจะก้าวต่อไปได้
- สอนเอาหลักเพื่อประโยชน์แก่เขา ไม่ใช่สอนเอาแต่ใจของตัว
- ไม่ใช่สอนเอาใจเขา แต่สอนนำเขาเข้าหาหลัก
- ถ้ายังเอาความศักดิ์สิทธิ์ ก็ต้องคิดให้ทางเลือกที่ถูกหลัก
- ไม่ใช่เอาใจเขา แต่เราทำอย่างรู้หลัก และไม่ใช่คิดจะเอาจากเขา แล้วมอมเมาให้เขวจากหลัก
- พัฒนาคนให้มีความสุขประณีตขึ้นไป สังคมก็จะได้จริยธรรมที่มั่นคง
- เมื่อเอาผลทางพลังจิตมาสนองด้านกาม พฤติกรรมก็ต้องเกิดความวิปริต
- – ๓ – วงนอก – ชั้นใน สภาพสังคมไทย
- ด้วยการเป็นผู้ตาม ก็ได้ยอมรับความด้อย ด้วยการมองความเจริญแบบนักบริโภค ก็รักษาความเป็นผู้ตามไว้ได้
- จะเอาอย่างเขา หรือไม่เอาอย่าง ก็อย่าไปสุดทางสองข้าง
- จะเอาอย่างเขาถูกต้อง จนเป็นผู้นำเขาได้ ต้องมีการศึกษาที่ดี มานำทางไป
- เอาอย่างด้วยปัญญา ถึงแม้เลียนแบบก็ต้องทำให้ดีกว่า จึงจะมีคุณค่า ให้เขายอมนับถือ
- ตามเป็น เอาอย่างเป็น นับเข้าได้ในองค์ประกอบของการพัฒนา
- ความผิดเพี้ยนในวัฒนธรรมไทย บทเรียนให้ช่วยกันแก้ไข
- ไม่อยาก ก็พลาด แต่พออยาก ก็ผิด จะพัฒนาสัมฤทธิ์ ต้องอยากให้เป็น
- จากรับ-ตาม สู่ความเป็นผู้นำ-ผู้ให้ ก้าวยิ่งใหญ่ที่ท้าทายความสำเร็จ
- – ๔ – วงนอก – ชั้นนอก สภาวการณ์ของโลก
- มองดูคนที่เดินนำหน้า อย่าให้พาเราเดินหลงทาง
- คนข้างหน้าติดตัน หันรีหันขวาง เพราะเจอเหวดักหน้า ต้องหาทางกันใหม่
- ความก้าวหน้าที่แสนจะภูมิใจ กลายเป็นการหาภัยมาทำลายตัว
- เมื่อรู้ว่าทางตัน แม้จะหันไปหาทางใหม่ แต่ก็สูญเสียความหวัง ความมั่นใจก็หมดไป
- เมื่อผู้เดินนำหน้าเกิดอาการหวั่นไหว คนมีปัญญาต้องนำหาทางออกใหม่
- ต้องหยั่งรู้สาเหตุของปัญหา จึงจะมองเห็นทางแก้ไข
- เมื่อจับจุดปัญหาได้แน่ ก็สืบสาวเพื่อแก้ ให้ตรงกับเหตุปัจจัย
- อารยธรรมถึงจุดหักเลี้ยว โลกหันหาทางเลือกใหม่
- ผู้เคยเดินนำ ไม่แน่ว่าจะคลำหาทางไหว ผู้ใดเห็นทาง ผู้นั้นควรลุกขึ้นเดินนำไป
- สรุป
- บันทึกท้ายเล่ม
สถานการณ์พระพุทธศาสนา
พลิกหายนะ เป็นพัฒนา1
เรื่องสถานการณ์และสภาวการณ์พระพุทธศาสนานี้ เรามีวิธีพูดได้หลายอย่าง อาจจะแบ่งเป็นส่วนๆ ตามกลุ่มของพุทธบริษัท เพราะสถานการณ์พระพุทธศาสนาในปัจจุบันนี้ ถ้ามองในวงของความรับผิดชอบ เจ้าตัวผู้รับผิดชอบ ก็คือพุทธบริษัท เพราะฉะนั้น จึงจะต้องพูดโดยจับเอาพุทธบริษัทเป็นหลัก หรือเป็นแกนกลาง
พุทธบริษัทมี ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายบรรพชิต กับฝ่ายคฤหัสถ์ หรือฝ่ายพระสงฆ์ กับฝ่ายญาติโยม เมื่อแบ่งอย่างนี้แล้ว ก็พูดไปตามลำดับ เริ่มตั้งแต่พุทธบริษัทฝ่ายบรรพชิต คือฝ่ายพระสงฆ์ก่อน เพราะถือว่าเป็นจุดศูนย์กลาง หรือเป็นวงในของพระพุทธศาสนา ได้รับการคาดหวังว่าจะเป็นผู้ที่สืบต่ออายุพระพุทธศาสนา
ส่วนพุทธบริษัทฝ่ายคฤหัสถ์นั้น ถึงจะมีหน้าที่รับผิดชอบอย่างเดียวกัน เพราะพระพุทธเจ้าได้ฝากพระพุทธศาสนาไว้กับพุทธบริษัททั้ง ๔ ถือว่าพุทธบริษัททั้ง ๔ มีความรับผิดชอบต่อพระพุทธศาสนาด้วยกัน แต่เวลาเรามองกันโดยทั่วไป ก็มักจะมองว่าพระสงฆ์เป็นผู้รับผิดชอบที่แท้จริง แม้ว่าการมองอย่างนี้บางทีจะทำให้เกิดอันตราย คือทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการปฏิบัติหน้าที่ของพุทธศาสนิกชน แต่อย่างไรก็ตาม ก็จะมองตามความเข้าใจของคนทั่วไปก่อน
เอาเป็นว่า เราแบ่งพุทธบริษัทเป็น ๒ ฝ่าย และเริ่มจากฝ่ายบรรพชิต หรือฝ่ายพระสงฆ์ก่อน
No Comments
Comments are closed.