- สถานการณ์พระพุทธศาสนา: พลิกหายนะ เป็นพัฒนา
- – ๑ – วงใน – ชั้นใน สภาพวัด และพระสงฆ์
- ภาวะขาดเณร: เกณฑ์บอกชะตาต่อไป
- สัญญาณเตือนภัย: ข่าวว่าพระทำไมประพฤติเสียหาย
- สภาพสังคมไทย ภาพสะท้อน-เห็นอะไรจากข่าวสาร
- มองพระสงฆ์ให้เป็น ก็เห็นสภาพสังคมไทย
- คิดดูให้ดี พุทธศาสนานี้เป็นของใคร
- มัวแต่ด่าว่าเขา ไม่รู้ว่าเรานี่แหละตัวสำคัญ
- คนสร้างสังคม สังคมสร้างคน ถ้าไม่ตัดวงจร ไม่แปรปัจจัย คนสร้างสังคมไว้อย่างไร ก็ได้คนอย่างนั้นมาสร้างสังคมต่อไป
- ฉลาดเชิงกลไก แต่ไม่พัฒนาปัญญา ท่องไปทั่วหล้า แต่ปัญญาอ้างว้าง
- ต้องพัฒนาตัวกันทุกคน ไม่มีใครหนีพ้นความรับผิดชอบ
- – ๒ – วงใน – ชั้นนอก สภาพพุทธศาสนิก
- ถ้ายึดหลักไว้ได้ ก็ยังไม่ร่วงหลุดไป
- จะสอนอย่างไร ก็ต้องให้เข้าสู่จุดเริ่ม ที่เขาจะก้าวต่อไปได้
- สอนเอาหลักเพื่อประโยชน์แก่เขา ไม่ใช่สอนเอาแต่ใจของตัว
- ไม่ใช่สอนเอาใจเขา แต่สอนนำเขาเข้าหาหลัก
- ถ้ายังเอาความศักดิ์สิทธิ์ ก็ต้องคิดให้ทางเลือกที่ถูกหลัก
- ไม่ใช่เอาใจเขา แต่เราทำอย่างรู้หลัก และไม่ใช่คิดจะเอาจากเขา แล้วมอมเมาให้เขวจากหลัก
- พัฒนาคนให้มีความสุขประณีตขึ้นไป สังคมก็จะได้จริยธรรมที่มั่นคง
- เมื่อเอาผลทางพลังจิตมาสนองด้านกาม พฤติกรรมก็ต้องเกิดความวิปริต
- – ๓ – วงนอก – ชั้นใน สภาพสังคมไทย
- ด้วยการเป็นผู้ตาม ก็ได้ยอมรับความด้อย ด้วยการมองความเจริญแบบนักบริโภค ก็รักษาความเป็นผู้ตามไว้ได้
- จะเอาอย่างเขา หรือไม่เอาอย่าง ก็อย่าไปสุดทางสองข้าง
- จะเอาอย่างเขาถูกต้อง จนเป็นผู้นำเขาได้ ต้องมีการศึกษาที่ดี มานำทางไป
- เอาอย่างด้วยปัญญา ถึงแม้เลียนแบบก็ต้องทำให้ดีกว่า จึงจะมีคุณค่า ให้เขายอมนับถือ
- ตามเป็น เอาอย่างเป็น นับเข้าได้ในองค์ประกอบของการพัฒนา
- ความผิดเพี้ยนในวัฒนธรรมไทย บทเรียนให้ช่วยกันแก้ไข
- ไม่อยาก ก็พลาด แต่พออยาก ก็ผิด จะพัฒนาสัมฤทธิ์ ต้องอยากให้เป็น
- จากรับ-ตาม สู่ความเป็นผู้นำ-ผู้ให้ ก้าวยิ่งใหญ่ที่ท้าทายความสำเร็จ
- – ๔ – วงนอก – ชั้นนอก สภาวการณ์ของโลก
- มองดูคนที่เดินนำหน้า อย่าให้พาเราเดินหลงทาง
- คนข้างหน้าติดตัน หันรีหันขวาง เพราะเจอเหวดักหน้า ต้องหาทางกันใหม่
- ความก้าวหน้าที่แสนจะภูมิใจ กลายเป็นการหาภัยมาทำลายตัว
- เมื่อรู้ว่าทางตัน แม้จะหันไปหาทางใหม่ แต่ก็สูญเสียความหวัง ความมั่นใจก็หมดไป
- เมื่อผู้เดินนำหน้าเกิดอาการหวั่นไหว คนมีปัญญาต้องนำหาทางออกใหม่
- ต้องหยั่งรู้สาเหตุของปัญหา จึงจะมองเห็นทางแก้ไข
- เมื่อจับจุดปัญหาได้แน่ ก็สืบสาวเพื่อแก้ ให้ตรงกับเหตุปัจจัย
- อารยธรรมถึงจุดหักเลี้ยว โลกหันหาทางเลือกใหม่
- ผู้เคยเดินนำ ไม่แน่ว่าจะคลำหาทางไหว ผู้ใดเห็นทาง ผู้นั้นควรลุกขึ้นเดินนำไป
- สรุป
- บันทึกท้ายเล่ม
พัฒนาคนให้มีความสุขประณีตขึ้นไป
สังคมก็จะได้จริยธรรมที่มั่นคง
อีกอย่างหนึ่งที่เป็นข้อสังเกตก็คือ ในการฝึกตนหรือพัฒนาตนตามหลักพระพุทธศาสนานั้น เรามีศีล มีสมาธิ มีปัญญา ซึ่งทำให้คนมีการพัฒนาในขั้นและด้านต่างๆ
คนที่อยู่ในระดับต้น พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่าอยู่ในระดับของกาม เป็นพวกกามาวจร และหวังผลในแง่ของกามสุข อันนี้เป็นธรรมดา พระพุทธเจ้าทรงยอมรับความจริงของมนุษย์ พระองค์ไม่ได้ปฏิเสธ
ธรรมดามนุษย์ก็หวังในกามสุข ยังหวังรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสกายที่เอร็ดอร่อยชื่นชอบ ยังปรนเปรอความสุขแก่ตา หู จมูกลิ้น และกายอยู่ ยังหวังดูของสวยงาม ดูทีวีเรื่องสนุกๆ ฟังเสียงดนตรีไพเราะ ยังอยากกินอะไรอร่อยๆ ยังอยากสัมผัสสิ่งที่อ่อนละมุนนุ่มนวลอะไรต่างๆ ซึ่งเรียกว่า กามสุข
พระพุทธศาสนาก็ยอมรับให้เขามีกามสุข แต่ต้องอยู่ในขอบเขตที่ไม่เบียดเบียนกัน เพื่อให้ทุกคนพอจะได้สมหวังบ้างทั่วกัน ไม่ใช่แย่งชิงจนอดชวดไปด้วยกัน ท่านจึงให้มีกรอบ ได้แก่ ศีลห้า
ต่อไป เมื่อเขาพัฒนาตนเองขึ้นไป เขาจะสามารถมีความสุขที่ประณีตเพิ่มขึ้น ในระดับของจิตใจ จะมีความสุขอย่างอิสระ ที่เรียกว่านิรามิสสุขมากขึ้น
กามสุขนั้นเป็นพวกสามิสสุข เป็นความสุขที่อิงอาศัยอามิส คือต้องอาศัยวัตถุมาเป็นเครื่องปรนเปรอ พอเราพัฒนามากขึ้น เราก็มีนิรามิสสุขมากขึ้น คือสามารถมีความสุขได้ตามลำพังตนเองโดยไม่ต้องอาศัยอามิส ไม่ต้องพึ่งพาวัตถุบำรุงบำเรอภายนอก ไม่ต้องอาศัย รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสกายที่ชื่นชอบมาสนอง ก็มีความสุขมาก
อย่างคนที่บำเพ็ญสมาธิภาวนา เมื่อเขาก้าวหน้าไปในการเจริญภาวนานั้น เขาก็ได้นิรามิสสุข จิตใจสงบ สดชื่น ผ่อนคลาย เอิบอิ่ม ผ่องใส ไม่เครียด ไม่ขุ่นมัว ไม่มีความเร่าร้อนกระวนกระวาย มีสุขได้แม้แต่เมื่ออยู่ลำพังคนเดียวโดยไม่มีวัตถุบำรุงบำเรอ เหนือกว่านั้น เมื่อพัฒนาต่อไปอีก ก็เข้าสู่ขั้นของปัญญา
สำหรับในขั้นจิตหรือในขั้นสมาธิ นิรามิสสุขยังเป็นประเภทที่เรียกว่าสามายิกะ คือเป็นของชั่วคราว
ขณะอยู่ในสมาธิ ก็มีความสุขนั้น แต่พอออกมาจากสมาธิแล้ว รับประสบการณ์ต่างๆ กระทบโน่นกระทบนี่ กิเลสก็รบกวนตามเดิม ท่านจึงเรียกว่าเป็นนิรามิสสุขประเภทสามายิกะ คือชั่วสมัย
ทีนี้ พอพัฒนาปัญญาหรือวิปัสสนาไปจนกระทั่งถึงที่สุดแล้ว จิตหลุดพ้นเป็นอิสระจากกิเลสสิ้นเชิง เพราะมีความรู้เท่าทันต่อความจริงของโลกและชีวิต เห็นความเป็นไปตามเหตุปัจจัย เป็นอยู่และทำการด้วยปัญญา
ปัญญามาแล้ว ก็ไม่ปรุงแต่งกระแสความอยากแห่งตัณหาของตนขึ้นมาฝืนทวนสวนขัดกับกระแสความเป็นไปตามเหตุปัจจัยแห่งธรรมดาของธรรมชาติ ไม่ถูกกระแสความเป็นไปที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ไร้ตัวตนของธรรมชาติมาบีบคั้น จิตใจเป็นอิสระลอยตัว
ถึงตอนนี้ก็มีแต่ความเบิกบานผ่องใสสงบสบายที่เป็นปัจจุบันทุกขณะ ก็จะมีความสุขที่เป็นนิรามิสสุข ประเภทที่เรียกว่า อสามายิกะ หรือ อสมัย แปลว่า นิรามิสสุข ประเภทที่ไม่ขึ้นต่อสมัย เป็นสุขที่ไม่จำกัดกาลเวลา
รวมความว่า มีความสุขที่จำแนกได้เป็น ๓ ขั้น การพัฒนามนุษย์จะทำให้คนมีความสุขที่ประณีตยิ่งขึ้น
จากกามสุขที่หยาบคายร้ายแรงเต็มไปด้วยการเบียดเบียนข่มเหงแย่งชิง ก็มีกามสุขที่อยู่ในกรอบของศีลธรรม มีการเอื้อเฟื้อเกื้อกูลชุ่มชื่นด้วยไมตรี
ต่อจากนั้นก็พัฒนาด้านจิตใจให้มีนิรามิสสุข ที่ไม่ขึ้นต่อวัตถุบำรุงบำเรอภายนอก
แล้วท้ายสุด จากนิรามิสสุขชั่วคราวด้วยกำลังจิต ก็พัฒนาต่อไปสู่นิรามิสสุขที่ปลอดโปร่งสว่างโล่งเป็นอิสระด้วยปัญญา
เมื่อคนรู้จักนิรามิสสุข หรือสุขด้วยลำพังตัวเองแล้ว ก็เป็นอิสระจากวัตถุ เขามีความเป็นอิสระมากขึ้น เพราะอยู่ลำพังตัวเองก็สุขได้
แล้วเพราะเหตุที่เขามีความสุขที่ประณีตนี้แหละ มันก็กลายเป็นตัวกำกับพฤติกรรมของเขาไปในตัว ไม่ให้ทำสิ่งที่ชั่วร้าย เพราะว่าเขาสามารถมีความสุขได้แล้ว โดยไม่ต้องดิ้นรนไปเที่ยวแย่งชิงวัตถุของผู้อื่น และความสุขแบบนั้นก็เกิดขึ้นได้ต่อเมื่อจิตใจสงบดีงาม ไม่มีความงุ่นง่านเร่าร้อน
ฉะนั้น ในการพัฒนาทางจิตใจ การที่มีความสุขมากขึ้น จึงกลับกลายเป็นการลดการเบียดเบียนลง ทำให้มีจริยธรรมดีขึ้นเองโดยอัตโนมัติ
No Comments
Comments are closed.