- สถานการณ์พระพุทธศาสนา: พลิกหายนะ เป็นพัฒนา
- – ๑ – วงใน – ชั้นใน สภาพวัด และพระสงฆ์
- ภาวะขาดเณร: เกณฑ์บอกชะตาต่อไป
- สัญญาณเตือนภัย: ข่าวว่าพระทำไมประพฤติเสียหาย
- สภาพสังคมไทย ภาพสะท้อน-เห็นอะไรจากข่าวสาร
- มองพระสงฆ์ให้เป็น ก็เห็นสภาพสังคมไทย
- คิดดูให้ดี พุทธศาสนานี้เป็นของใคร
- มัวแต่ด่าว่าเขา ไม่รู้ว่าเรานี่แหละตัวสำคัญ
- คนสร้างสังคม สังคมสร้างคน ถ้าไม่ตัดวงจร ไม่แปรปัจจัย คนสร้างสังคมไว้อย่างไร ก็ได้คนอย่างนั้นมาสร้างสังคมต่อไป
- ฉลาดเชิงกลไก แต่ไม่พัฒนาปัญญา ท่องไปทั่วหล้า แต่ปัญญาอ้างว้าง
- ต้องพัฒนาตัวกันทุกคน ไม่มีใครหนีพ้นความรับผิดชอบ
- – ๒ – วงใน – ชั้นนอก สภาพพุทธศาสนิก
- ถ้ายึดหลักไว้ได้ ก็ยังไม่ร่วงหลุดไป
- จะสอนอย่างไร ก็ต้องให้เข้าสู่จุดเริ่ม ที่เขาจะก้าวต่อไปได้
- สอนเอาหลักเพื่อประโยชน์แก่เขา ไม่ใช่สอนเอาแต่ใจของตัว
- ไม่ใช่สอนเอาใจเขา แต่สอนนำเขาเข้าหาหลัก
- ถ้ายังเอาความศักดิ์สิทธิ์ ก็ต้องคิดให้ทางเลือกที่ถูกหลัก
- ไม่ใช่เอาใจเขา แต่เราทำอย่างรู้หลัก และไม่ใช่คิดจะเอาจากเขา แล้วมอมเมาให้เขวจากหลัก
- พัฒนาคนให้มีความสุขประณีตขึ้นไป สังคมก็จะได้จริยธรรมที่มั่นคง
- เมื่อเอาผลทางพลังจิตมาสนองด้านกาม พฤติกรรมก็ต้องเกิดความวิปริต
- – ๓ – วงนอก – ชั้นใน สภาพสังคมไทย
- ด้วยการเป็นผู้ตาม ก็ได้ยอมรับความด้อย ด้วยการมองความเจริญแบบนักบริโภค ก็รักษาความเป็นผู้ตามไว้ได้
- จะเอาอย่างเขา หรือไม่เอาอย่าง ก็อย่าไปสุดทางสองข้าง
- จะเอาอย่างเขาถูกต้อง จนเป็นผู้นำเขาได้ ต้องมีการศึกษาที่ดี มานำทางไป
- เอาอย่างด้วยปัญญา ถึงแม้เลียนแบบก็ต้องทำให้ดีกว่า จึงจะมีคุณค่า ให้เขายอมนับถือ
- ตามเป็น เอาอย่างเป็น นับเข้าได้ในองค์ประกอบของการพัฒนา
- ความผิดเพี้ยนในวัฒนธรรมไทย บทเรียนให้ช่วยกันแก้ไข
- ไม่อยาก ก็พลาด แต่พออยาก ก็ผิด จะพัฒนาสัมฤทธิ์ ต้องอยากให้เป็น
- จากรับ-ตาม สู่ความเป็นผู้นำ-ผู้ให้ ก้าวยิ่งใหญ่ที่ท้าทายความสำเร็จ
- – ๔ – วงนอก – ชั้นนอก สภาวการณ์ของโลก
- มองดูคนที่เดินนำหน้า อย่าให้พาเราเดินหลงทาง
- คนข้างหน้าติดตัน หันรีหันขวาง เพราะเจอเหวดักหน้า ต้องหาทางกันใหม่
- ความก้าวหน้าที่แสนจะภูมิใจ กลายเป็นการหาภัยมาทำลายตัว
- เมื่อรู้ว่าทางตัน แม้จะหันไปหาทางใหม่ แต่ก็สูญเสียความหวัง ความมั่นใจก็หมดไป
- เมื่อผู้เดินนำหน้าเกิดอาการหวั่นไหว คนมีปัญญาต้องนำหาทางออกใหม่
- ต้องหยั่งรู้สาเหตุของปัญหา จึงจะมองเห็นทางแก้ไข
- เมื่อจับจุดปัญหาได้แน่ ก็สืบสาวเพื่อแก้ ให้ตรงกับเหตุปัจจัย
- อารยธรรมถึงจุดหักเลี้ยว โลกหันหาทางเลือกใหม่
- ผู้เคยเดินนำ ไม่แน่ว่าจะคลำหาทางไหว ผู้ใดเห็นทาง ผู้นั้นควรลุกขึ้นเดินนำไป
- สรุป
- บันทึกท้ายเล่ม
ด้วยการเป็นผู้ตาม ก็ได้ยอมรับความด้อย
ด้วยการมองความเจริญแบบนักบริโภค ก็รักษาความเป็นผู้ตามไว้ได้
อีกอย่างหนึ่งที่ขอพูดกันไว้ในที่นี้ ก็คือ สภาพสังคมไทยที่คลั่งไคล้วัฒนธรรมตะวันตกนั้น เกิดมาจากการสั่งสมสภาพจิตที่เป็นความเคยชินมาตลอดเวลาราวศตวรรษหนึ่งแล้ว
คนไทยเรานี้มีสภาพจิตที่เรียกได้ว่าเป็นสภาพจิตของผู้ตามและผู้รับ ที่ได้สั่งสมมาเป็นเวลายาวนาน จนกระทั่งไม่รู้สึกตัวเลยว่าเรามีสภาพจิตอย่างไร
เพราะฉะนั้น เมื่อมองอะไร ในเวลาที่มีความสัมพันธ์กับต่างประเทศ โดยเฉพาะวัฒนธรรมตะวันตก เช่นในเวลาที่มีการสัมผัสข่าวสารข้อมูล เป็นต้น สภาพจิตนี้จะขึ้นมาทันที โดยไม่รู้ตัวเลย คือสภาพจิตของความเป็นผู้ตามและเป็นผู้รับ ซึ่งมองในแง่ที่คอยแต่จะรับจากเขา คิดแต่ว่าเขามีอะไรจะให้เรารับ เมื่อจะเป็นผู้รับ ก็ต้องเป็นผู้ตาม
เมื่อคอยรอรับเอา ก็ต้องคอยตามเขาอยู่เรื่อยว่า เขาจะมีอะไรให้ สภาพจิตนี้ฝังลึกลงไปจนกระทั่งไม่รู้สึกตัวเลย เวลามีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งที่เข้ามาใหม่ สภาพจิตนี้ก็แสดงอิทธิพลครอบงำขึ้นมานำทางพฤติกรรมทันที
ถ้ายังไม่มีอะไรเข้ามาให้รับให้เอา ก็คอยมองรอว่าเขาจะมีอะไรใหม่ๆ มาให้ สภาพจิตนี้เกิดขึ้นมาในราวหนึ่งศตวรรษ
ตอนแรกนั้น สังคมไทยก็สัมผัสกับอารยธรรมตะวันตกในทางลบแบบเดียวกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งหลาย คือถูกคุกคามจากลัทธิอาณานิคม
ขยายความว่า เมื่อศตวรรษก่อน ประเทศไทยถูกคุกคามจากประเทศตะวันตกที่เป็นนักล่าอาณานิคม เช่นเดียวกับประเทศพม่า ลังกา ลาว เขมร จีน อินเดีย แต่ประเทศไทยนี้รอดมาได้
สภาพจิตที่เกิดขึ้นในการถูกคุกคามเป็นอย่างไร ก็พูดได้ว่าคือการฮึดขึ้นมาต่อสู้ รวมทั้งความรู้สึกที่จะต้องเร่งรัดพัฒนาตนเองขึ้นมาให้เทียมทันเขา เพื่อจะยืนหยัดรักษาตัวให้ได้
สภาพจิตที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ในยุคแรก ที่อารยธรรมตะวันตกเข้ามาพร้อมกับลัทธิอาณานิคมใหม่ๆ นั้น ก็คือการที่คนไทยมีจิตสำนึกอันแรงกล้า ที่จะเร่งรัดพัฒนาตัวเองให้เจริญเทียมทันเขา อย่างที่เรียกว่าสร้างความเจริญให้เทียมทันอารยประเทศ จึงทำให้เกิดมีกำลังใจ เกิดเป็นศูนย์รวมและเป็นแกนนำจิตใจในการที่จะเร่งรัดตัวเองขึ้นไป
แต่ประเทศไทยนั้น โชคไม่ดี เรามองว่าโชคดี โชคดีก็คือ พ้นจากการตกเป็นประเทศอาณานิคม แล้วทำไมจึงว่าโชคไม่ดี แต่โชคไม่ดีก็คือถูกภัยคุกคามสั้นไป ไม่นานเลย ไม่กี่สิบปี คนไทยก็พ้นภัยคุกคาม
พอไม่มีภัยคุกคาม คนไทยก็เลิกเร่งรัดตัวเอง หันมามองว่าประเทศตะวันตกเจริญแล้ว ก็อยากเจริญอย่างเขา เห็นเขามีของใช้ของบริโภคใหม่ๆ แปลกๆ สะดวกสบาย ก็อยากจะมีอะไรอย่างเขา มองความเจริญของฝรั่งในแง่ที่จะมีของใช้ของบริโภคอย่างเขา จนกระทั่งเกิดความหมายของความเจริญแบบใหม่ขึ้นมา
ความเจริญนั้น มีความหมายสองแบบ คนไทยนึกถึงความเจริญอย่างตะวันตก หรืออย่างฝรั่งแล้ว เข้าใจความหมายอย่างไร ลองวิเคราะห์กันดู
คนมองความเจริญในความหมายที่หนึ่ง ก็จะคิดว่า “เจริญอย่างฝรั่ง คือมีกินมีใช้อย่างฝรั่ง”
คนที่มองความเจริญในความหมายที่สอง บอกว่า “เจริญอย่างฝรั่ง คือทำได้อย่างฝรั่ง”
ทีนี้ คนไทยนั้นอยากเจริญอย่างฝรั่ง ขอให้พิจารณาวิเคราะห์ความหมายว่า คนไทยนี่มองความหมายของความเจริญอย่างฝรั่งว่าอย่างไร เจริญอย่างฝรั่ง คือมีกินมีใช้อย่างฝรั่ง หรือเจริญอย่างฝรั่ง คือทำได้อย่างฝรั่ง ขอทิ้งไว้ให้วิเคราะห์กันดู
แต่เท่าที่อาตมาสัมผัสได้ คิดว่า คนไทยเรามองความหมายของความเจริญอย่างฝรั่ง ในแง่ที่ว่าเป็นการมีกินมีใช้อย่างฝรั่ง ฝรั่งมีอะไร ใช้อะไร ฉันก็มีกินมีใช้อย่างนั้น ฝรั่งมีรถเก๋งอะไรอย่างไร ฉันก็มีอย่างนั้น อย่างนี้แหละเรียกว่าฉันเจริญอย่างฝรั่ง
แต่ประเทศที่เป็นนักผลิต เขาไม่มองอย่างนั้น เขามองว่า เจริญอย่างฝรั่ง คือทำได้อย่างฝรั่ง ฝรั่งทำอะไรได้ ฉันก็ทำได้ และจะต้องทำให้ดีกว่านั้นด้วย
สองแบบนี้เรียกว่า มองความหมายของความเจริญแบบนักผลิต กับ มองความหมายของความเจริญแบบนักบริโภค
ถ้าคนไทยมองความเจริญแบบนักบริโภค คือมีกินมีใช้อย่างฝรั่ง ก็จะนำไปสู่การรักษาสถานะของความเป็นผู้ด้อยและล้าหลังต่อไป และจะมีสภาพจิตของความเป็นผู้ตามและเป็นผู้รับอยู่เรื่อยไป
เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะพัฒนาประเทศให้สำเร็จ ก็จะต้องจัดการกันให้ลึกลงไปถึงพื้นฐานของความคิดจิตใจทีเดียว ไม่ใช่มองแต่สภาพภายนอกแค่วัตถุ
การที่จะพัฒนาอะไรต่อไป ถ้าพื้นจิตไม่ไปแล้ว มันก็ไม่รอด แม้แต่การมองความหมาย มันก็พลาดไปแล้ว ผิดแล้ว
เพราะฉะนั้น จะต้องพัฒนาจิตใจ โดยเฉพาะนักเรียนของเรานี้ จะต้องมองความหมายของความเจริญใหม่ ต้องมองว่า เจริญอย่างฝรั่ง คือ ทำได้อย่างฝรั่ง ไม่ใช่แค่มีกินมีใช้อย่างฝรั่ง
No Comments
Comments are closed.