- (กล่าวนำ)
- เป้าหมายของเศรษฐศาสตร์
- หากยังมีความขัดแย้งก็ยากที่จะถึงเป้าหมาย
- อะไรคือความอยู่เย็นเป็นสุขของมนุษยชาติ?
- ความสุข ๒ แบบในพระพุทธศาสนา
- โลกแห่งการบริโภค คนมีสุขยาก ทุกข์ง่าย
- มนุษย์มีความแตกต่างกันหลายระดับ
- ศีล ๕ : หลักการพื้นฐานของสังคม – ศีล ๘ : ศีลเพื่อการพัฒนาสู่อิสรภาพ
- บุคคล ๓ กลุ่ม
- ประเทศผู้ผลิตกับประเทศผู้บริโภค
- การศึกษาควรสอนให้มนุษย์ พัฒนาความสามารถในการมีความสุข
- ดุลยภาพของอิสรภาพทั้ง ๔
- ต้องพัฒนา Intellectual Freedom ให้เกิดมีขึ้นในผู้บริโภค
- ผู้บริโภคมีอำนาจต่อรองกับผู้ผลิต
- ธุรกิจอยู่ไม่ได้ ถ้าผู้บริโภคไม่ซื้อสินค้า หรือไม่ใช้บริการ
- ความสำเร็จที่แท้จริงของนักธุรกิจ
- ลัทธิบริโภคนิยมมาจากตัณหาของมนุษย์
- Meditation in Form/Meditation in Substance
- ค่านิยมกำหนดสังคม
- การแข่งขันในทางที่ถูก
- การแข่งขันกระตุ้นให้เกิดความไม่ประมาท
- กิจกรรม ๓ ประการ ที่เศรษฐศาสตร์ควรให้ความสนใจ
- Freedom Through Wisdom ความสำเร็จสูงสุดของมนุษย์
- พัฒนาฉันทะ ลดละตัณหา
- ความปรารถนาที่ดีงามคือฉันทะ
- แหล่งข้อมูลคำสอนในพระพุทธศาสนา
- ทำไมเถรวาทมีคำสอนเรื่องการครองเรือน มากกว่าสายอื่น
- เหตุ และ ปัจจัย ในพระพุทธศาสนา
- ปัจจัยหนึ่งอาจนำไปสู่ผลหลายอย่าง
- การแยกแยะปัจจัยหรือยักย้ายเงื่อนไข
- กัลยาณมิตรเป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์
- ศรัทธาและปัญญาไม่ใช่คู่แข่งขัน
- ปฏิจจสมุปบาทแบบง่าย
- กุศลและอกุศลจากผัสสะ
- กระบวนการปฏิจจสมุปบาทเกิดตลอดเวลา
- พระพุทธเจ้าทรงอธิบายปฏิจจสมุปบาท ตามสติปัญญาของผู้ฟัง
- แนะนำหนังสืออ่านประกอบ
- ภาคผนวก
- บันทึกผู้แปล
- คำนำในการพิมพ์ ครั้งที่ ๓
ทำไมเถรวาทมีคำสอนเรื่องการครองเรือนมากกว่าสายอื่น
พระพรหมคุณาภรณ์
ที่ประเทศธิเบต พระพุทธศาสนาได้ถูกเก็บรักษาไว้ในวัดโดยพระ พระจะให้ความสนใจในคำสอนบางอย่าง และคำสอนนั้นก็จะแพร่หลายออกไป แต่ในประเทศที่เป็นเถรวาทมีธรรมเนียมว่า พระต้องรักษาคัมภีร์เดิมไว้อย่างเคร่งครัด ไม่ว่าพระสงฆ์เองจะสนใจหรือไม่
คุณจะเห็นได้ว่า พระพุทธศาสนาในประเทศที่เป็นเถรวาท คำสอนต่างๆ ก็ถูกเก็บไว้ในวัดเหมือนกัน ในหลายยุคหลายสมัยในอดีต มีการเน้นคำสอนในบางส่วน อาตมาจะขอยกตัวอย่างให้เห็น เช่น คัมภีร์วิสุทธิมรรค ของพระพุทธโฆษาจารย์ คุณจะเห็นได้ว่า ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค แทบไม่มีคำสอนเกี่ยวกับเรื่องการครองเรือน เพราะว่าคัมภีร์ถูกเก็บรักษาไว้ในวัด ซึ่งการปฏิบัติจิตภาวนา ทำสมาธิ เป็นสิ่งสำคัญ และเป็นเรื่องที่ทำได้โดยยาก จึงมีการเน้นในเรื่องนี้เป็นพิเศษ แต่ถ้าเราหันกลับไปดูที่ต้นฉบับพระไตรปิฎกบาลี เราจะเห็นคำสอนเกี่ยวกับการครองเรือนอยู่มาก
นายมิวเซนเบิร์ก
กระบวนการคิดเรื่องเหตุและปัจจัย หรือเงื่อนไขที่เกิดขึ้น มีบางสิ่งที่น่าสนใจ ในแนวคิดแบบตะวันตก เรามีเรื่องเหตุและผล เหตุและเงื่อนไข ค่อนข้างเป็นกระบวนการคิดที่แตกต่าง ผมจึงคิดว่ามันมีประโยชน์ เมื่อผมพยายามนำมาใช้ ผมพบปัญหาที่เห็นได้ชัด คือ เหตุทำให้เกิดผล ผมคิดว่าความคิดเรื่องเหตุและเงื่อนไข สามารถเข้าใจได้จากต้นไม้ ถ้าเราหว่านเมล็ดพืชลงไปในดิน ให้น้ำ เมล็ดพันธุ์ก็จะแตกออกเป็นต้นไม้ เมล็ดพันธุ์ คือ เหตุ น้ำ และ ดิน คือ เงื่อนไข สำหรับการให้พืชแตกตัว
เมื่อเราพยายามวิเคราะห์ปัญหา เราพูดถึงเหตุ เราพูดถึงเงื่อนไข ที่นำไปสู่ปัญหา อะไรคือเงื่อนไขที่เราควรสร้างขึ้นมาเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา ดังนั้น ความคิดเรื่องเหตุและเงื่อนไข ผมคิดว่า เป็นแนวคิดที่เป็นประโยชน์ แต่บางครั้งผมพบว่า มันเป็นเรื่องยากที่จะแยกแยะระหว่าง อะไรคือเหตุ อะไรคือเงื่อนไข ถ้าเป็นเมล็ดพืชก็มองออกง่าย เพราะเมล็ดพันธุ์ชนิดเดียวกัน ให้ผลไม้อย่างเดียวกัน มันง่ายที่จะเข้าใจ แต่คำจำกัดความที่ผมสามารถเข้าใจได้ คือ ผลที่ได้รับ เป็นสิ่งที่ไม่สัมพันธ์กับเหตุ ซึ่งเงื่อนไขเป็นเรื่องทั่วไป ผมจึงอยากจะทราบว่า ท่านสามารถจะช่วยผมในเรื่องนี้ได้หรือไม่
No Comments
Comments are closed.