- สถานการณ์พระพุทธศาสนา: พลิกหายนะ เป็นพัฒนา
- – ๑ – วงใน – ชั้นใน สภาพวัด และพระสงฆ์
- ภาวะขาดเณร: เกณฑ์บอกชะตาต่อไป
- สัญญาณเตือนภัย: ข่าวว่าพระทำไมประพฤติเสียหาย
- สภาพสังคมไทย ภาพสะท้อน-เห็นอะไรจากข่าวสาร
- มองพระสงฆ์ให้เป็น ก็เห็นสภาพสังคมไทย
- คิดดูให้ดี พุทธศาสนานี้เป็นของใคร
- มัวแต่ด่าว่าเขา ไม่รู้ว่าเรานี่แหละตัวสำคัญ
- คนสร้างสังคม สังคมสร้างคน ถ้าไม่ตัดวงจร ไม่แปรปัจจัย คนสร้างสังคมไว้อย่างไร ก็ได้คนอย่างนั้นมาสร้างสังคมต่อไป
- ฉลาดเชิงกลไก แต่ไม่พัฒนาปัญญา ท่องไปทั่วหล้า แต่ปัญญาอ้างว้าง
- ต้องพัฒนาตัวกันทุกคน ไม่มีใครหนีพ้นความรับผิดชอบ
- – ๒ – วงใน – ชั้นนอก สภาพพุทธศาสนิก
- ถ้ายึดหลักไว้ได้ ก็ยังไม่ร่วงหลุดไป
- จะสอนอย่างไร ก็ต้องให้เข้าสู่จุดเริ่ม ที่เขาจะก้าวต่อไปได้
- สอนเอาหลักเพื่อประโยชน์แก่เขา ไม่ใช่สอนเอาแต่ใจของตัว
- ไม่ใช่สอนเอาใจเขา แต่สอนนำเขาเข้าหาหลัก
- ถ้ายังเอาความศักดิ์สิทธิ์ ก็ต้องคิดให้ทางเลือกที่ถูกหลัก
- ไม่ใช่เอาใจเขา แต่เราทำอย่างรู้หลัก และไม่ใช่คิดจะเอาจากเขา แล้วมอมเมาให้เขวจากหลัก
- พัฒนาคนให้มีความสุขประณีตขึ้นไป สังคมก็จะได้จริยธรรมที่มั่นคง
- เมื่อเอาผลทางพลังจิตมาสนองด้านกาม พฤติกรรมก็ต้องเกิดความวิปริต
- – ๓ – วงนอก – ชั้นใน สภาพสังคมไทย
- ด้วยการเป็นผู้ตาม ก็ได้ยอมรับความด้อย ด้วยการมองความเจริญแบบนักบริโภค ก็รักษาความเป็นผู้ตามไว้ได้
- จะเอาอย่างเขา หรือไม่เอาอย่าง ก็อย่าไปสุดทางสองข้าง
- จะเอาอย่างเขาถูกต้อง จนเป็นผู้นำเขาได้ ต้องมีการศึกษาที่ดี มานำทางไป
- เอาอย่างด้วยปัญญา ถึงแม้เลียนแบบก็ต้องทำให้ดีกว่า จึงจะมีคุณค่า ให้เขายอมนับถือ
- ตามเป็น เอาอย่างเป็น นับเข้าได้ในองค์ประกอบของการพัฒนา
- ความผิดเพี้ยนในวัฒนธรรมไทย บทเรียนให้ช่วยกันแก้ไข
- ไม่อยาก ก็พลาด แต่พออยาก ก็ผิด จะพัฒนาสัมฤทธิ์ ต้องอยากให้เป็น
- จากรับ-ตาม สู่ความเป็นผู้นำ-ผู้ให้ ก้าวยิ่งใหญ่ที่ท้าทายความสำเร็จ
- – ๔ – วงนอก – ชั้นนอก สภาวการณ์ของโลก
- มองดูคนที่เดินนำหน้า อย่าให้พาเราเดินหลงทาง
- คนข้างหน้าติดตัน หันรีหันขวาง เพราะเจอเหวดักหน้า ต้องหาทางกันใหม่
- ความก้าวหน้าที่แสนจะภูมิใจ กลายเป็นการหาภัยมาทำลายตัว
- เมื่อรู้ว่าทางตัน แม้จะหันไปหาทางใหม่ แต่ก็สูญเสียความหวัง ความมั่นใจก็หมดไป
- เมื่อผู้เดินนำหน้าเกิดอาการหวั่นไหว คนมีปัญญาต้องนำหาทางออกใหม่
- ต้องหยั่งรู้สาเหตุของปัญหา จึงจะมองเห็นทางแก้ไข
- เมื่อจับจุดปัญหาได้แน่ ก็สืบสาวเพื่อแก้ ให้ตรงกับเหตุปัจจัย
- อารยธรรมถึงจุดหักเลี้ยว โลกหันหาทางเลือกใหม่
- ผู้เคยเดินนำ ไม่แน่ว่าจะคลำหาทางไหว ผู้ใดเห็นทาง ผู้นั้นควรลุกขึ้นเดินนำไป
- สรุป
- บันทึกท้ายเล่ม
จะเอาอย่างเขา หรือไม่เอาอย่าง
ก็อย่าไปสุดทางสองข้าง
ประเทศที่รักษาแบบแผนวัฒนธรรมของตนไว้ได้ ก็เพราะถูกฝรั่งคุกคามหนัก เพราะถูกลัทธิอาณานิคมคุกคามนานพอ ทำให้ความรู้สึกที่จะต้องพยายามดิ้นรนต่อสู้นั้น ฝังแน่นลงในจิตใจ
แต่น่าเสียดายที่น้อยชาตินักจะพยายามเร่งรัดตัวเองให้เจริญแบบทำได้อย่างฝรั่ง หรือเหนือฝรั่ง ส่วนมากดูเหมือนจะได้แค่ปฏิกิริยาในทางลบ ที่เป็นสุดโต่งไปอีกข้างหนึ่ง
ที่เป็นอย่างนั้น คงเป็นเพราะแพ้ฝรั่ง กลายเป็นเมืองขึ้นหรืออาณานิคมของฝรั่งไป เลยเกิดความรู้สึกต่อต้านแบบผู้อยู่ใต้อำนาจของเขา ถูกเขากดขี่ข่มเหงแล้ว เกิดความรู้สึกแข็งขืนพยายามจะเป็นผู้ไม่ตาม และไม่รับ กลายเป็นปฏิกิริยาสุดโต่งไป
อย่างที่บางประเทศมีพฤติกรรมที่เป็นปฏิกิริยาว่า ฝรั่งทำอย่างไร ฉันต้องไม่ทำอย่างนั้น ฝรั่งแต่งตัวของเขาอย่างนี้ ฉันก็ต้องแต่งตัวของฉันอย่างนั้น ก็น้อมไปสู่การรักษาประเพณีและวัฒนธรรมได้มาก แต่ไม่ค่อยได้พัฒนาอะไร พวกที่ถูกคุกคามและครอบงำบีบคั้นระยะยาวหลายชาติเกิดปฏิกิริยาแบบนี้
อย่างไรก็ตาม ที่พูดนี้เป็นการมองแบบง่ายๆ ที่จริงมีปัจจัยอย่างอื่นซ้อนอยู่อีก แต่เรามองเพียงในแง่ที่จะเอาคติมาใช้ประโยชน์
รวมความแล้ว ปฏิกิริยาทั้งสองแบบนี้ ไม่พึงปรารถนา ถ้าเพียงแต่รักษาวัฒนธรรมของตัวไว้ได้อย่างเดียว มุ่งแต่จะต่อต้านเขา ไม่ยอมรับของเขาเลย ไม่เอาของดีของเขามาพัฒนา และไม่ยอมพัฒนาเปลี่ยนแปลงของตัวเลย ก็เป็นเพียงปฏิกิริยาสุดโต่งในทางตรงข้าม ก็ไม่เจริญ
แต่ของไทยเรา ที่ไม่มีปฏิกิริยาเพราะถูกคุกคามระยะสั้น แล้วพอสบาย ก็เลยมองฝรั่งด้วยความรู้สึกชื่นชม อยากจะมีอยากจะบริโภคอย่างฝรั่ง ก็นำไปสู่การเป็นนักตามและนักรับ จนกระทั่งมีสภาพจิตแบบเป็นผู้ตามและผู้รับฝังมานานจนกระทั่งปัจจุบัน
อย่างที่บอกเมื่อกี้แล้วว่า เมื่อมีการติดต่อสัมพันธ์กับสิ่งที่เข้ามาจากประเทศตะวันตก สภาพจิตแบบผู้ตามและผู้รับนี้จะขึ้นมาแสดงอาการทันที
ปัจจุบันนี้ ถึงเวลาที่เราจะต้องสร้างความรู้ตัว และความเท่าทันขึ้นมา แล้วแก้ไขปรับปรุงกันใหม่
No Comments
Comments are closed.