- (กล่าวนำ)
- เป้าหมายของเศรษฐศาสตร์
- หากยังมีความขัดแย้งก็ยากที่จะถึงเป้าหมาย
- อะไรคือความอยู่เย็นเป็นสุขของมนุษยชาติ?
- ความสุข ๒ แบบในพระพุทธศาสนา
- โลกแห่งการบริโภค คนมีสุขยาก ทุกข์ง่าย
- มนุษย์มีความแตกต่างกันหลายระดับ
- ศีล ๕ : หลักการพื้นฐานของสังคม – ศีล ๘ : ศีลเพื่อการพัฒนาสู่อิสรภาพ
- บุคคล ๓ กลุ่ม
- ประเทศผู้ผลิตกับประเทศผู้บริโภค
- การศึกษาควรสอนให้มนุษย์ พัฒนาความสามารถในการมีความสุข
- ดุลยภาพของอิสรภาพทั้ง ๔
- ต้องพัฒนา Intellectual Freedom ให้เกิดมีขึ้นในผู้บริโภค
- ผู้บริโภคมีอำนาจต่อรองกับผู้ผลิต
- ธุรกิจอยู่ไม่ได้ ถ้าผู้บริโภคไม่ซื้อสินค้า หรือไม่ใช้บริการ
- ความสำเร็จที่แท้จริงของนักธุรกิจ
- ลัทธิบริโภคนิยมมาจากตัณหาของมนุษย์
- Meditation in Form/Meditation in Substance
- ค่านิยมกำหนดสังคม
- การแข่งขันในทางที่ถูก
- การแข่งขันกระตุ้นให้เกิดความไม่ประมาท
- กิจกรรม ๓ ประการ ที่เศรษฐศาสตร์ควรให้ความสนใจ
- Freedom Through Wisdom ความสำเร็จสูงสุดของมนุษย์
- พัฒนาฉันทะ ลดละตัณหา
- ความปรารถนาที่ดีงามคือฉันทะ
- แหล่งข้อมูลคำสอนในพระพุทธศาสนา
- ทำไมเถรวาทมีคำสอนเรื่องการครองเรือน มากกว่าสายอื่น
- เหตุ และ ปัจจัย ในพระพุทธศาสนา
- ปัจจัยหนึ่งอาจนำไปสู่ผลหลายอย่าง
- การแยกแยะปัจจัยหรือยักย้ายเงื่อนไข
- กัลยาณมิตรเป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์
- ศรัทธาและปัญญาไม่ใช่คู่แข่งขัน
- ปฏิจจสมุปบาทแบบง่าย
- กุศลและอกุศลจากผัสสะ
- กระบวนการปฏิจจสมุปบาทเกิดตลอดเวลา
- พระพุทธเจ้าทรงอธิบายปฏิจจสมุปบาท ตามสติปัญญาของผู้ฟัง
- แนะนำหนังสืออ่านประกอบ
- ภาคผนวก
- บันทึกผู้แปล
- คำนำในการพิมพ์ ครั้งที่ ๓
ความสุข ๒ แบบในพระพุทธศาสนา
ในพระพุทธศาสนา มีหลายวิธีการที่จะทำให้คนมีความสุข ซึ่งก็จะเชื่อมต่อกับความมีอิสรภาพ ถ้าปราศจากอิสรภาพ เราก็ไม่สามารถเข้าถึงความสุขที่แท้จริงได้ เราต้องมีอิสรภาพ ดังนั้น เราจึงมีความสุขหลายลักษณะ เช่นเดียวกับมีหลายระดับ และความสุขทั้งหมดนี้ เราสามารถแบ่งได้เป็น ๒ อย่าง คือ
๑. ความสุขที่ต้องอาศัยสิ่งอื่นมาประกอบ (ความสุขที่ขึ้นต่อสิ่งอื่น หรือความสุขที่พึ่งพา หรือ สามิสสุข)
๒. ความสุขที่ไม่ต้องอาศัยสิ่งอื่นมาประกอบ (ความสุขที่ไม่ขึ้นต่อสิ่งอื่น หรือความสุขที่ไม่ต้องพึ่งพา หรือ นิรามิสสุข)
ความสุขที่ต้องอาศัยสิ่งอื่นมาประกอบ สามารถแบ่งได้เป็น ๒ อย่าง นักธุรกิจ หรือคนทั่วไปในยุคนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมบริโภค มีความสุขจากกามคุณ ๕ คือ รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัสทางกาย หรือมีความสุขจากการเสพเสวยวัตถุต่างๆ ความสุขเช่นนี้ เรียกว่า ความสุขที่ต้องพึ่งพาสิ่งอื่น บาลีเรียกว่า อามิสสุข (สามิสสุข) คนจะมีความสุขได้ต้องอาศัยปัจจัยภายนอก และถ้าอยากจะมีความสุขมากขึ้น ก็ต้องมีวัตถุมากขึ้น เป็นเจ้าของมากขึ้น เมื่อแสวงหาวัตถุมากขึ้น เราจะมีความขัดแย้งกับคนอื่น และความขัดแย้งเหล่านี้ เพิ่มพูนความทุกข์ ทั้งกับตัวเองและกับคนอื่น รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมด้วย
ความสุขในลักษณะนี้ไม่สามารถแก้ปัญหาของมนุษย์ได้
วิธีแก้ปัญหาคือ การทำให้คนสามารถจะมีความสุขได้ด้วยตนเอง เพราะเมื่อคนยิ่งมีความสุขด้วยตนเองมากเท่าใด เขาก็จะมีความสุขในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น และสิ่งแวดล้อมได้ดียิ่งขึ้น สิ่งนี้จะสำเร็จได้ด้วยความสุขที่ไม่ต้องพึ่งพาอาศัยสิ่งอื่น
ความสุขที่ต้องอาศัยวัตถุหรือสิ่งภายนอกมาสนองกามคุณ เป็นสาเหตุของปัญหา ไม่เพียงแต่แก่ผู้อื่น แก่โลก และแก่ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน แต่เป็นปัญหาภายในของบุคคลคนนั้นด้วย เพราะว่าความสุขประเภทนี้ ไม่สามารถสนองความพอใจให้เป็นจริงได้ คนจะอยากได้มากขึ้น และบุคคลนั้นก็จะมีความสุขยากขึ้น ซึ่งจะตรงกันข้ามกับวิธีสร้างความสงบและความสุข เรามีชีวิตอยู่ในโลก เราเจริญเติบโตขึ้น เมื่อเราพัฒนาตัวเอง เราก็ควรจะมีความสุขได้ง่ายขึ้น ไม่ใช่มีชีวิตอยู่ยาวนานขึ้น แต่กลายเป็นคนที่ยากยิ่งขึ้นที่จะมีความสุข
No Comments
Comments are closed.